จ่อฟันคลินิก-รพ.เอกชนไม่ส่งต่อผู้ป่วยโควิดหลังพบเชื้อ ไม่ส่งรายงาน-โฆษณาค่าตรวจ


เพิ่มเพื่อน    

26 เม.ย.64 - นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบศ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมสบศ.มอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้เริ่มเคาะประตูบ้านเพื่อทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 การลงทะเบียนวัคซีนผ่านแอพพลิเคชั่น “หมอพร้อม” การดูแลสุขภาพ และช่วงหลังสงกรานต์ ที่มีประชาชนที่กลับไปเยี่ยมบ้านและกลับมา ก็ให้ อสม.เข้าไปดูว่าผู้ที่อยู่ในบ้านมีอาการป่วยหรือไม่ หรือมีกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นหรือไม่ จึงขอฝากประชาชนให้ความร่วมมือให้ข้อมูล

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ในช่วงที่มีผู้ป่วยจำนวนมากมาตรการป้องกันโรค การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมถึงวัคซีนใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์การสาธารณสุข และผู้บริหาร สธ.ทุกคน

นอกจากนี้ นพ.ธเรศ กล่าวถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในแล็บนอกสถานพยาบาล ว่า การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก จึงมีการสนับสนุนให้ภาคเอกชน คลินิกแล็บ พัฒนาการตรวจขึ้นมาโดยผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีทั้งสิ้น 279 แห่ง เป็นภาครัฐ 176 แห่ง เอกชน 103 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 109 แห่ง ส่วนใหม่เป็นภาคเอกชน ที่มีคลินิกแล็บใหญ่ๆ ถึง 14 แห่ง

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ตามที่ สบส. ออกประกาศแนวทางเพื่อให้คลินิกต่างๆ ดำเนินการ กำหนดว่า 1.ก่อนตรวจผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อ จะต้องเป็นคลินิกที่ได้รับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2.คัดกรองความเสี่ยงว่า ควรจะตรวจหรือไม่ และให้คำแนะนำผู้รับบริการก่อนตรวจว่า หากมีผลบวกต้องทำอย่างไร 3.หากผลตรวจเป็นบวก จะต้องแจ้งผู้รับบริการ แจ้งหน่วยควบคุมโรคภายใน 3 ชั่วโมง เช่น ในกรุงเทพฯ แจ้งที่สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ต่อมาให้แจ้งกรมวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อส่งข้อมูลเข้าโค-แล็บ (Co-Lab) รวบรวมจำนวนผู้ติดเชื้อ

“สำคัญที่สุดตามประกาศ คือ คลินิกแล็บจะต้องมีคู่สัญญากับสถานพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วย เพื่อเป็นหลักประกันเตียงให้ผู้ป่วย หรือ หากเตียงเต็มต้องประสานหาเตียงให้ผู้ป่วย แต่ถ้ายังหาไม่ได้ต้องรายงานไปยังผู้อนุญาตแต่ละพื้นที่ทราบ ข้อมูลขณะนี้ พบว่าในคลินิกแล็บ 14 แห่ง มี 11 แห่ง ที่มีสถานพยาบาลเอกชนเป็นคู่สัญญาแล้ว และที่เหลืออยู่ในระหว่างลงนามความร่วมมือ (เอ็มโอยู) โดยประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ในเว็บไซต์ของ สบส.” นพ.ธเรศ กล่าว

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 ได้รับร้องเรียนคลินิกแล็บโรงพยาบาล (รพ.) เอกชน ซึ่งได้รับการดำเนินการแล้ว 12 แห่ง ประเด็นหลัก คือ 1.การไม่ส่งต่อผู้ป่วยหลังตรวจพบเชื้อ 2.ไม่ส่งรายงานผู้ติดเชื้อไปยังกรมควบคุมโรค หรือกรมวิทยาศาสตร์ฯ และ 3.โฆษณาราคาค่าตรวจโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีคำสั่งให้แก้ไขปรับปรุง ระงับการกระทำ ดังกล่าว แต่หากฝ่าฝืนก็จะมีการพักใช้หรือยุติการตรวจโควิด-19 และระงับโฆษณาต่อไป เป็นการดำเนินการทางกฎหมายจริงจัง ทั้งโทษปรับและจำคุกต่อไป หากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลหรือเรื่องร้องเรียน ก็สามารถแจ้งมาที่สายด่วน 1426


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"