ไมโครซอฟท์ฟันธงปี63 ธุรกิจไทยกว่า 85%ใช้'ปัญญาประดิษฐ์'ทำงาน


เพิ่มเพื่อน    

ไมโครซอฟท์ เผยแทบทุกอุตสาหกรรมในเมืองไทย พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองผ่านการใช้งาน AI มากขึ้น ชี้เทคโนโนลีไม่ได้แทนมนุษย์ แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้คาดการณ์กันว่ามากว่า 40% ของกระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ภายในปี 2562 บทบาทของ  AI จะเข้ามาสนับสนุนด้วย โดยในปี 2563 มองว่าจะมีองค์กรถึง 85% ที่นำ AI มาประยุกต์ใช้งานอีกด้วย ในส่วนของบริษัทยังเห็นว่าแอปพลิเคชันกว่า 50% ในตลาด จะนำ AI มาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อใช้งานในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งภายในสิ้นปี 2561 นี้ ส่วนการใช้บอทและ AI ติดต่อสื่อสารกับลูกค้านั้น มีแนวโน้มที่จะแพร่หลายขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจคิดเป็นอัตราส่วนถึง 95% ของการสนทนากับลูกค้าในปี 2568

สำหรับความต้องการของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว ไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลก จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการหลายราย เริ่มให้ความสำคัญกับ AI มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจแล้วเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคของการเงินการธนาคาร ประกัน โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ และระบบขนส่ง หรือแทบจะทุกภาคอุตสาหกรรมที่  AI เข้ามาขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรตัวเอง

ส่วนปัจจัยที่ทำให้ AI แพร่หลายมากขึ้น ประกอบด้วย 1.ทรัพยากรข้อมูล กลไก และแนวทางในการค้นหา คัดเลือก และจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากมาย 2.บุคลากร ความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์หรือประยุกต์ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่เกิดประโยชน์กับองค์กร ผู้ใช้งาน หรือสังคม และ 3. ความเข้าใจ นอกจากทักษะและความเข้าใจเชิงเทคนิคของผู้พัฒนา AI เองแล้ว ความไว้เนื้อเชื่อใจในเทคโนโลยี AI และความมั่นใจในประสิทธิภาพหรือความแม่นยำของระบบก็มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมนี้เช่นกัน

นายธนวัฒน์  กล่าวว่า การใช้งาน AI อย่างแพร่หลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการวางมาตรฐานที่ชัดเจนในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใสในการทำงาน และความรับผิดชอบของผู้พัฒนา เป็นต้น โดยการพัฒนา AI จะต้องมีวัตถุประสงค์หลักคือการส่งเสริมให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น มากขึ้น หรือทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด จากแนวโน้มของตลาดเมืองไทยสะท้อนให้เห็นการก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี บริษัทวางโพซิชั่นนิ่งไว้ด้วยกัน 3 อย่าง คือ 1. AI Platform 2. Intelligent Products และ3. AI Business Solutions โดยบริษัทมองว่าแม้ความต้องการที่อยากพัฒนาอะไรใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในเมืองไทยจะมีอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรื่องของทักษะหรือความสามารถของคนยังเป็นความท้าทายอยู่ไม่ใช่น้อย จึงต้องมีความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริม รองรับความต้องการของตลาด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"