โควิดคร่า11ชีวิต! สลด!หญิงตั้งครรภ์25สัปดาห์ดับ/สธ.ชงล็อกดาวน์เฉพาะจุด


เพิ่มเพื่อน    

  ติดเชื้อรายใหม่ยังพุ่ง 2,438 ราย เสียชีวิตเพิ่มสูงสุด 11 ราย ส่วนใหญ่อายุกว่า 30 ปี สลด! หญิงตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ดับ 1 ราย ศบค.ปัดข่าวอินเดียเช่าเหมาลำเข้าประเทศ นายกฯ เผยศูนย์สนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อเริ่มแล้ว สธ.เตรียมเปิด "ศูนย์แรกรับและส่งต่อ" นำผู้ติดเชื้อโควิดระหว่างรอเตียงแห่งแรกที่สนามกีฬาอินดอร์ฯ หัวหมาก รองรับได้ 6 พันเตียง ชง ศบค.ยกระดับพื้นที่แพร่ระบาดเพิ่มเป็นแดงเข้ม แดง และส้ม พร้อมจับตาจันทร์-อังคารนี้ยอดจะเพิ่มหรือลดลงก่อนเพิ่มมาตรการ สวนดุสิตโพลเผยคนไทยตื่นตระหนกและวิตกกังวลการระบาดรอบ 3 หวั่นระบาดรอบ 4 อีก

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน      โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,438 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,433 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 2,151 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 282 ราย นอกจากนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 5 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 55,460 ราย หายป่วยสะสม 31,113 ราย อยู่ระหว่างรักษา 24,207 ราย อาการหนัก 507 ราย ใส่ท่อหายใจ 138 ราย และมีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 11 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 140 ราย อย่างไรก็ตาม   จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กทม. 1,078 ราย, เชียงใหม่ 163 ราย, นนทบุรี 115 ราย, สมุทรปราการ 77 ราย,  ชลบุรี 75 ราย สำหรับสถานที่ที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดใน กทม. 5 อันดับ ข้อมูลระหว่างวันที่ 1-24 เม.ย. ได้แก่ สถานบันเทิง 2,227 ราย, บ้านและติดจากครอบครัว 278 ราย, สถานที่ทำงาน 203 ราย, เชื่อมโยงจากต่างจังหวัด 199 ราย และสถานกักตัวทุกประเภท 89 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 147,053,586 ราย เสียชีวิตสะสม 3,112,817 ราย
นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า สำหรับผู้เสียชีวิต 11 ราย รายที่ 1 ชายไทย อายุ 27 ปี อยู่ กทม. มีโรคประจำตัวเบาหวาน โรคอ้วน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ วันที่ 12 เม.ย. ไอ หายใจลำบาก วันที่ 14 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิด และเสียชีวิตวันที่ 21 เม.ย., รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 34 ปี อยู่ปทุมธานี มีโรคประจำตัวไซนัสอักเสบ โรคอ้วน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน วันที่ 13 เม.ย. มีไข้ ไอแห้งปนเลือด วันที่ 16 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิดและเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย., รายที่ 3 ชายไทย อายุ 69 ปี อยู่ปทุมธานี มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง เกาต์ เดินทางไปสถานที่แออัด วันที่ 8 เม.ย. มีอาการไอ ปวดศีรษะ หายใจลำบาก วันที่ 13 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 22 เม.ย., รายที่ 4 หญิงไทย อายุ 62 ปี อยู่สุโขทัย มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด มีปัจจัยเสี่ยงเดินทางไปสถานที่ที่มีผู้ติดเชื้อ วันที่ 16 เม.ย. มีไข้ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 20 เม.ย. ตรวจพบเชื้อ และเสียชีวิตวันที่ 22 เม.ย., รายที่ 5 ชายไทย อายุ 70 ปี อยู่ประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีโรคประจำตัวเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ วันที่ 17 เม.ย. มีไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย วันที่ 19 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย., รายที่ 6 ชายไทย อายุ 45 ปี อยู่นครพนม มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน วันที่ 13 เม.ย. ไอ ถ่ายเหลว แน่นท้อง วันที่ 17 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย.
รายที่ 7 ชายไทย อายุ 35 ปี อยู่นครราชสีมา มีโรคอ้วน มีประวัติเดินทางไปสถานที่แออัด วันที่ 13 เม.ย. มีไข้ หนาวสั่น วันที่ 15 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 22 เม.ย., รายที่ 8 ชายไทย อายุ 34 ปี อยู่ กทม. มีโรคเบาหวาน โรคอ้วน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน วันที่ 13 เม.ย. มีอาการปวดเมื่อย วันที่ 21 เม.ย. พบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย., รายที่ 9 ชายไทย อายุ 36 ปี อยู่ กทม. ปฏิเสธโรคประจำตัว มีประวัติเดินทางไปสถานที่แออัด วันที่ 12 เม.ย. มีไข้ วันที่ 18 เม.ย. ตรวจพบเชื้อ และเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย., รายที่ 10 ชายไทย อายุ 35 ปี อยู่ กทม. มีโรคอ้วน มีประวัติเดินทางไปสถานที่แออัด วันที่ 11 เม.ย. มีไข้ ไอ เจ็บคอ วันที่ 15 เม.ย. ตรวจพบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย. และรายที่ 11 หญิงไทย อายุ 32 ปี อยู่ กทม. โดยตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ ปัจจัยเสี่ยงคือเดินทางไปสถานที่แออัด วันที่ 8 เม.ย. มีไข้ ไอ เจ็บคอ วันที่ 15 เม.ย. พบเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตวันที่ 23 เม.ย.     
เปิดศูนย์ระหว่างรอเตียง
เมื่อถามว่า มีข้อกังวลเกี่ยวกับคนที่เดินทางมาจากอินเดีย และมีข่าวว่ามีคนอินเดียเช่าเหมาลำเข้ามาในไทย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และ ศบค.จะมีมาตรการเพิ่มเติมอย่างไร นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กได้สอบถามกระทรวงการต่างประเทศและได้รับคำยืนยันว่าเป็นข่าวไม่จริง ไม่มีการเช่าเหมาลำมาจากอินเดีย มีแต่รายงานว่าจะมีการขออนุญาตนำคนไทยขึ้นเครื่องบินกลับมายังไทยในเดือน พ.ค. จำนวน 4 เที่ยวบิน ตอนนี้เราต้องการให้คนไทยได้กลับบ้านเท่านั้น เพราะมีการแพร่ระบาดอย่างหนักในอินเดีย ส่วนคนต่างชาตินั้นจะมีการชะลอออกใบอนุญาตการเข้าประเทศไทย  
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ระบุว่า จากที่ตนได้สั่งการในฐานะผู้อำนวยการ ศบค.และ รมว.กลาโหม ทำให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์สนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อโควิด 19” ณ กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อช่วยสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งศูนย์เอราวัณของ กทม. และ ศปก.ศบค. ในการบริหารจัดการขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อจากที่พักอาศัยเข้ารับการดูแลรักษาตามระบบโดยเร่งด่วน โดยทุกเหล่าทัพได้ร่วมกันจัดเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ รถพยาบาล และยานพาหนะ รวม 31 คัน เข้าร่วมสนับสนุนภารกิจรับผู้ป่วยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเข้ารับการรักษา โดยจะเร่งจัดยานพาหนะเพิ่มเติมอีก 20 คัน รวมเป็น 51 คัน พร้อมเจ้าหน้าที่ เพื่อเสริมการทำงานให้เพียงพอ และให้พร้อมปฏิบัติงานได้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.เป็นต้นไป
ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข, นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศปค.สธ. เรื่องมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในระยะถัดไป จากนั้นนายอนุทินเปิดเผยว่าได้ประสานกับ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ขอใช้สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ใช้เป็น “ศูนย์แรกรับและส่งต่อ” ของ สธ. ช่วยสนับสนุนและแบ่งเบาภาระของ กทม.ในการรับ-ส่งและเตียงผู้ป่วย โดยจะรับผู้ติดเชื้อโควิดระหว่างรอเตียงมาดูแลโดยทีมแพทย์ พยาบาล พร้อมยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ในลักษณะหอผู้ป่วยโควิดรวม ให้ผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลเหมาะสมตามอาการ นอกจากนี้ ศูนย์แห่งนี้จะทำหน้าที่ส่งผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาลในสังกัดในเขตปริมณฑล กรณีเตียงใน กทม.เต็ม โดยบ่ายวันนี้ทีมจากกรมการแพทย์และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะรีบเข้าไปดำเนินการให้เร็วที่สุด และในอนาคตอาจถูกปรับเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 อีกด้วย
“การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วหลังเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การจัดการเตียงใน กทม.ค่อนข้างยากและล่าช้า ทำให้มีผู้ติดเชื้อบางส่วนต้องรอเตียง ซึ่งศูนย์แรกรับนี้จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่ต้องรอเตียงที่บ้าน หากมีอาการป่วย จะได้รับการดูแลทันทีด้วยทีมแพทย์ พยาบาลที่จัดเตรียมไว้ และหาก กทม.ยังหาเตียงไม่ได้ ก็จะถูกส่งไปโรงพยาบาลในสังกัดรอบๆ กทม.ได้ทันที ผู้ป่วยถึงมือหมอเร็ว ได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ไม่ปล่อยให้เกิดความ สูญเสียขึ้น” นายอนุทินกล่าว
ด้าน นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า ทาง สธ.ลงมติพิจารณาปรับพื้นที่ควบคุมเป็น 3 สี แบ่งเป็นสีแดงเข้ม สีแดง และสีส้ม โดยจะพิจารณาจากข้อมูลการระบาดและการพบผู้ติดเชื้อตามสถานการณ์ เพื่อให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดออกประกาศควบคุมในพื้นที่ของตนเองได้เข้มข้นขึ้น โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะจุด ห้ามจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม ซึ่งอาจเกิดความแออัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ ให้ทั้งประเทศดำเนินการต่อเนื่องหลังวันที่ 30 เม.ย.ไปอีก 2 สัปดาห์  ซึ่งตอนนี้พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือกรุงเทพฯ ที่ยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ทาง สธ.เคยเสนอกับ ศบค.ชุดใหญ่ไปแล้วก่อนหน้านี้ คาดว่าจะนำเข้า ศบค.ชุดใหญ่พิจารณากลางสัปดาห์หน้า
ชะลอเดินทางเข้าจากอินเดีย
“สำหรับปัญหาใหญ่ที่พูดคุยในที่ประชุมคือ ขณะนี้ห้องไอซียู ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยให้สามารถรองรับกลุ่มผู้ป่วยวิกฤติได้ โดยจะลดเวลาการรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองในโรงพยาบาลลง หรือกลุ่มอาการดี เหลือ 10 วัน จากนั้นจะนำกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวย้ายไปยังสถานที่ที่จัดเตรียมสำหรับดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง เช่น ที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี” นายเกียรติภูมิกล่าว
ปลัด สธ.กล่าวว่า รมว.สธ.ได้สั่งการพิจารณาเตรียมจัดตั้งศูนย์แรกรับ คล้ายกับโรงพยาบาลสนาม ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อที่มีผลบวกแล้วอยู่ระหว่างรอเตียงที่บ้านมายังที่นี่ และมีการคัดกรอง แบ่ง ตามอาการ ระดับสีเขียว เหลือง แดง เพื่อให้การบริหารจัดการเตียงมีประสิทธิภาพสูงสุด ล่าสุดได้รับการประสานจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ใช้สถานที่เป็นที่กว้างและเหมาะสม สามารถรองรับได้ประมาณ 6,000 เตียง
ขณะที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ, นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมกันแถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดย นพ.โอภาสกล่าวว่า สธ.ได้ส่งข้อมูลไปยัง ศบค.ชุดเล็ก ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ ว่าช่วงนี้ให้ชะลอการเดินทางเข้ามาในประเทศของคนที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และมีมติในการขยายเวลาในการกักตัวของคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศจากเดิมยืนพื้นประมาณ 10 วัน บางราย 14 วัน หรือบางรายขั้นต่ำ 7 วัน ในช่วงนี้จะขยายเวลากลับตัวเป็นเวลา 14 วันทุกประเภท ส่วนสถานการณ์ในภาพรวม คงต้องมีการจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะวันจันทร์วันอังคารนี้ ว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง และอาจมีการเพิ่มมาตรการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประชุมและเสนอมาตรการเพิ่มยกระดับให้กับ ศบค.ชุดเล็กต่อไป
ศ.นพ.ยงกล่าวถึงการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคว่า ก่อนหน้านี้เป็นวิวัฒนาการของไวรัส ถ้าไวรัสมีการแพร่ระบาดมาก เมื่อมีการแตกลูกหลานมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดการผ่าเหล่าแหวกแนวออกไป  สายพันธุ์ไหนที่แข็งแรง ก็แพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคืออย่าให้มีการระบาด ยิ่งระบาดมากเท่าไหร่ยิ่งกลายพันธุ์มากเท่านั้น
วันเดียวกัน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สำรวจพื้นที่สำหรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาจเพิ่มมากขึ้นอีกแห่ง ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ เขตทุ่งครุ มีอาคารโรงยิมฯ จำนวน 4  อาคาร สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 400 เตียง
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ปัจจุบันสายด่วนเพื่อให้ประชาชนสอบถามข้อมูลสำหรับผู้ติดเชื้อที่ต้องการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีอยู่ 3 สาย คือ 1668 ของกรมการแพทย์, 1669 ของศูนย์แพทย์ฉุกเฉิน กทม.-ศูนย์เอราวัณ และ 1330 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ-สปสช.นั้น ได้มีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกการประสานงานให้มากที่สุดทั้ง 3 สายด่วน  รวมทั้งได้มีการหารือร่วมกับผู้บริหารของ สธ. และตั้งเป้าว่าจะต้องประสานหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อให้ได้เร็วที่สุด
นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้รับการประสานจาก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ว่าให้กระทรวงแรงงานดำเนินการตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกแก่ผู้ประกันตนกับกระทรวงสาธารณสุขที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดงต่อ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3" กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,082 คน สำรวจวันที่ 16-22 เมษายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าการระบาดระลอก 3 นี้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 74.29 ทำให้ตื่นตระหนกและวิตกกังวลมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 68.40 มองว่าระลอก 3 นี้มีความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 70.51 จะป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 83.90 มองว่ารัฐบาลน่าจะรับมือได้ ร้อยละ 39.19 โดยคาดว่าจะใช้เวลามากกว่า 3 เดือน จึงจะดีขึ้น ร้อยละ 50.58 และอาจจะมีการระบาดระลอก 4 ร้อยละ 58.89.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"