‘น้ำพุโมเดล’ การจัดการ ‘พืชกระท่อม’ โดยใช้ธรรมนูญตำบล จากยาเสพติดสู่ ‘พืชเศรษฐกิจใหม่’ ทดแทนมอร์ฟีน-ยารักษาโรค


เพิ่มเพื่อน    

ต้นกระท่อมที่ตำบลน้ำพุ  อ.บ้านนาสาร  จ.สุราษฎร์ธานี

 

เป็นเวลาเกือบ  80  ปีที่ กระท่อม ถูกจัดให้เป็นพืชยาเสพติด   ผู้คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าผู้ที่เสพกระท่อมเป็นผู้ใช้แรงงาน  เป็นชาวไร่  ชาวนา  นำใบกระท่อมมาเคี้ยวเพื่อให้มีเรี่ยวแรงในการทำงาน  หรือวัยรุ่นที่คึกคะนองเอามาดัดแปลงเป็น น้ำกระท่อม   โดยผสมยาแก้ไอบางชนิดและน้ำอัดลม  เป็นยาเสพติดที่เรียกว่า 4X100 เมื่อเสพแล้วจะทำให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย  สนุกสนาน                    

 

กระท่อมถูกจัดให้เป็นพืชยาเสพติดตั้งแต่ปี พ..2486  โดยมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติพืชกระท่อม  พุทธศักราช 2486’  มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดเสพ  ปลูก  มี  ซื้อ  ขาย  ให้   หรือแลกเปลี่ยนพืชกระท่อม  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน  เพื่อประโยชน์ในการประกอบโรคศิลป์  หรือวิทยาศาสตร์   ปัจจุบันยังมี พ...ยาเสพติดให้โทษ พ..2522 และ พ...ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) ..2562  ควบคุมพืชกระท่อม

ปลดกระท่อมจากพืชยาเสพติดเป็น สมุนไพร

 

กระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Mitragyna speciosa Korth’  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง   สูง 10 -15 เมตร  ใบคล้ายใบกระดังงา  มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว   ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว  ขนาดกว้างประมาณ 5 -10 ซม.  ยาวประมาณ 8-14 ซม.   แหล่งที่พบ  บางจังหวัดของภาคกลาง  เช่น  ปทุมธานี  แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้  เช่น  สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  ตรัง  ฯลฯ   ตอนบนของประเทศมาเลเซีย  และอินโดนีเซีย

 

นสมัยที่ยังไม่มียาฝรั่งหรือการแพทย์แผนปัจจุบัน   หมอพื้นบ้านจะนำใบกระท่อมมาใช้เพื่อแก้ท้องเสีย  ปวดเบ่ง ท้องเฟ้อ  ท้องร่วง  ปวดเมื่อยตามร่างกาย   ฯลฯ  จากสรรพคุณทางยาหลายชนิดของกระท่อม  สถาบันการศึกษาในประเทศไทยหลายแห่งได้ให้ความสนใจศึกษาและวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์    และฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  เช่น  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดำเนินงานศึกษาวิจัยพืชกระท่อมตั้งแต่ปี 2545  จนถึงปัจจุบัน 

 

ผศ.ดร.นิวัติ  แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤษศาสตร์  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวถึงสรรพคุณของกระท่อมว่า  พืชกระท่อมมีสารแอลคะลอยด์  ‘Mitragynine’ อยู่ในใบ  มีฤทธิ์ระงับอาการปวด  เช่นเดียวกับมอร์ฟีน  โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ  10  เท่า  แต่มีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลายประการ   เช่น   กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ   ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน    ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้  ฯลฯ 

 

ขณะที่หน่วยงานของรัฐ  โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (...)  กระทรวงยุติธรรม  และกระทรวงสาธารณสุข  มีความพยายามที่จะ ปลดล็อกกระท่อม  ออกจากพืชยาเสพติดมาตั้งแต่ปี 2546  เพื่อนำมาเป็นพืชสมุนไพร  ใช้ทางการแพทย์  การพาณิชย์  อุตสาหกรรม  และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ  เช่นเดียวกับกัญชาที่มีการปลดล็อกไปก่อนหน้านี้แล้ว

 

โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม  2563  เห็นชอบในหลักการให้ปลดกระท่อมออกจากพืชยาเสพติด  โดยมีการจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ...) ...... (การยกเลิกพืชกระท่อมจากยาเสพติดให้โทษ) เพื่อให้ผ่านเป็นกฎหมายออกมาใช้  ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาตรวจสอบร่าง ...จากสำนักงานคณะกรรมการกฤกษฎีกา

 

น้ำพุโมเดล’   ต้นแบบการจัดการกระท่อม

ตำบลน้ำพุ  อ.บ้านนาสาร  จ.สุราษฎร์ธานี  มี 6 หมู่บ้าน  จำนวน 1,920  หลังคาเรือน  ประชากร  5,643  คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำสวนยาง  ปาล์มน้ำมัน  ปลูกเงาะ  ทุเรียน  ลองกอง  เลี้ยงสัตว์  ค้าขาย  ฯลฯ  เป็นพื้นที่หนึ่งที่ชาวบ้านนิยมปลูกพืชกระท่อมเพื่อบริโภคในครัวเรือนมายาวนาน  เช่น  ใช้ใบสดเคี้ยวกลืนครั้งละ 1-3 ใบ  โดยรูดก้านใบออก   ทำให้รู้สึกกระปี้กระเปร่า  มีเรี่ยวแรงทำงานในไร่สวน 

 

นอกจากนี้ยังใช้  แก้ปวดท้อง  บิด  แก้ไอ  เจ็บคอ  โดยใส่น้ำตาลทรายเล็กน้อยแล้วห่อใบเคี้ยว  ใช้เพื่อรักษา โรคเบาหวาน  โดยใช้ใบกระท่อม 9 ใบ  ลูกหมากอ่อน 9 ลูก  (ปลิดขั้วออกใส่น้ำ 3 แก้ว  แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้เหลือน้ำ  1 แก้ว  นำมาดื่มหลังอาหาร 3 มื้อ  ภายใน 1 เดือนจะเห็นผล  รวมทั้งยังใช้ใบกระท่อมในพิธีกรรม  เช่น  ไหว้ครูก่อนตีเหล็กทำมีด  ทำเครื่องใช้  หรือไหว้บรรพบุรุษ

 

สงคราม  บัวทอง  กำนันตำบลน้ำพุ  เล่าว่า  เมื่อทางรัฐบาลมีนโยบายที่จะปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากยาเสพติด  ตนได้เข้าร่วมประชุมเรื่องนี้กับ สถาบันสำรวจและติดตามการปลูกพืชเสพติด (สพส.) สำนักงาน ป...  กระทรวงยุติธรรม  ในช่วงปี 2559  โดย สพส.ต้องการหาพื้นที่ศึกษาและวิจัยเรื่องกระท่อมก่อนที่จะมีการปลดล็อก  ตนจึงได้เสนอให้ใช้พื้นที่ตำบลบ้านน้ำพุเป็นพื้นที่ศึกษา  อีกทั้งชาวบ้านก็มีความพร้อมอยากจะให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังว่ากระท่อมเป็นยาเสพติด  หรือเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์กันแน่ ?

 

ผมเห็นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลน้ำพุปลูกกระท่อม  ใช้กระท่อมในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  และใช้กันมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นจากการใช้กระท่อม  ทั้งเรื่องอาชญากรรม  การลักขโมย  การทะเลาะวิวาท  หรือวัยรุ่นมั่วสุมเสพน้ำกระท่อมก็ไม่มี  จึงอยากให้ตำบลน้ำพุเป็นต้นแบบในการจัดการเรื่องกระท่อม  อีกทั้งที่ผ่านมาตำบลน้ำพุก็มีการผ่อนปรนเรื่องกระท่อมอยู่แล้ว  เพราะหากผมไปโค่นต้นกระท่อมของชาวบ้านทิ้งก็จะเกิดปัญหาทางการปกครองขึ้นมา  กำนันสงครามเล่าความเป็นมาของการศึกษาวิจัยกระท่อมที่บ้านน้ำพุ

 

เมื่อทาง สพส. เห็นชอบ   จึงได้จัดทำ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพืชกระท่อมพื้นที่นำร่องตำบลน้ำพุ  อำเภอบ้านนาสาร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ขึ้นมา  ตั้งแต่ช่วงปลายปี  2559  (จนถึงปัจจุบัน โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมศึกษาวิจัยด้านผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย   และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาผลกระทบด้านสังคมและชุมชน

 

โดยมีวัตถุประสงค์  คือ  1.เพื่อศึกษาวิธีการสำรวจ   โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลการปลูกพืชกระท่อมในตำบลน้ำพุ   2. เพื่อศึกษาขั้นตอนและกระบวนการควบคุมพืชกระท่อมในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของแต่ละพื้นที่ศึกษานำร่อง  3. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในกรณีหากจะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับควบคุมพืชกระท่อมอย่างโปร่งใส   เป็นรูปธรรม  และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

ขึ้นทะเบียนกระท่อม 655 ครัวเรือน-ติด QR-code 1,578  ต้น

 

กำนันสงคราม  เล่าต่อไปว่า  ในการศึกษาวิจัยเรื่องกระท่อมที่ตำบลน้ำพุนี้   มีโจย์ร่วมกันว่า  หากมีการผ่อนปรนให้เคี้ยวกระท่อมในวิถีดั้งเดิมได้   จำนวนใบที่เคี้ยวต่อคน  ต่อวัน  กี่ใบจึงจะเหมาะสม และจำนวนต้นกระท่อมกี่ต้นจึงจะเหมาะสมต่อครัวเรือน  รวมทั้งการควบคุมโดยชุมชนมีส่วนร่วมจะมีแนวทางหรือกระบวนการใดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาครัฐ  หากมีการปลดล็อกกระท่อม

 

ในปี 2560  จึงเริ่มจัดเวทีประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน    โดยมีข้อตกลงร่วมกันของชาวบ้านว่า  ให้ชาวบ้านปลูกหรือมีกระท่อมไม่เกินครัวเรือนละ 3 ต้น  หากเกินให้ตัดทิ้ง  แต่ถ้ามีไม่ถึง 3 ต้น   ไม่ให้ปลูกเพิ่ม  หลังจากนั้นคณะกรรมการทุกหมู่บ้านจึงสำรวจข้อมูลร่วมกับหน่วยงาน  

 

โดยมีวิธีการ  คือ 1.ใช้อากาศยานไร้คนขับจับพิกัด GPS ครัวเรือนที่สำรวจ/ปลูกกระท่อม  2.ใช้แบบสอบถามครัวเรือน  3.สำรวจต้นกระท่อม  โดยวัดเส้นรอบวง  วัดความสูงของต้นกระท่อม  และใช้อากาศยานฯ จับพิกัด GPS  ต้นกระท่อม  4.ติดตั้ง Mobile  App / QR- code  ที่ต้นกระท่อมเพื่อเก็บข้อมูล  และขึ้นทะเบียนผู้ปลูกกระท่อม  ฯลฯ

 

กระท่อมติด QR-code

             

จากการสำรวจข้อมูลทั้งตำบลพบว่า  ในตำบลน้ำพุมี 6 หมู่บ้าน  จำนวน  1,920  ครัวเรือน   มีครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนปลูกกระท่อม  655 ครัวเรือน (ร้อยละ 34.11)  ต้นกระท่อมที่สำรวจพบ  1,912  ต้น   ต้นกระท่อมติด QR-code จำนวน 1,578  ต้น  (ร้อยละ 82.53)  ต้นกระท่อม (เกินครัวเรือนละ 3 ต้น) ที่ตัดทำลาย  334 ต้น  (ร้อยละ 17.47)

 

ใช้ ธรรมนูญตำบลควบคุมกระท่อม-สร้างชุมชนเข้มแข็ง

หลังจากสำรวจข้อมูลในปี 2560  เสร็จแล้ว  ในช่วงปลายปีนั้นจึงเริ่มมีการจัดคืนข้อมูลสู่ชุมชน   มีการจัดเวทีประชาคมและสร้างกติกาสังคมขึ้นมา  โดยมีการจัดเวทีครั้งแรกเมื่อวันที่ 22   พฤศจิกายน 2560  และครั้งที่สองเมื่อวันที่  30 มกราคม  2561  และครั้งที่ 3  เมื่อวันที่  15  กรกฎาคม 2561  ที่ห้องประชุมโรงเรียนท่าชีวิทยาคม  ตำบลน้ำพุ  อ.บ้านนาสาร  จ.สุราษฎร์ธานี   โดยมีชาวบ้านและตัวแทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ประมาณ 800 คน  มีเป้าหมายเพื่อการทดลองควบคุมพืชกระท่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านธรรมนูญตำบล   

 

กำนันสงคราม  อธิบายว่า  ธรรมนูญตำบล  คือข้อตกลงร่วมกันของชาวบ้านในตำบลน้ำพุ   เพื่อสร้างกฎ  กติกาขึ้นมาควบคุมการใช้กระท่อม  โดยมีการสอบถามความคิดเห็นหรือทำประชาคมจากชาวบ้านในตำบล  แล้วนำมาร่างเป็นธรรมนูญตำบล  เรียกว่า ธรรมนูญตำบล  เพื่อการควบคุมพืชกระท่อมและสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติดพืชกระท่อม  พื้นที่ตำบลน้ำพุ  อำเภอบ้านนาสาร  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ผ่านการรับรองจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561  

 

 โดยมีสาระสำคัญ  เช่น  มีคณะกรรมการระดับหมู่บ้านและตำบลควบคุมการใช้ธรรมนูญตำบล  มีข้อห้าม  เช่น  1.ห้ามครัวเรือนที่ไม่ปลูกกระท่อมปลูกใหม่โดยเด็ดขาด  2.ห้ามบุคคลในครัวเรือนซื้อขายพืชกระท่อม  3.ห้ามนำพืชกระท่อมออกจากตำบล  4.ห้ามเด็กเยาวชนนั่งมั่วสุมและมีพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเสพพืชกระท่อม  5.ห้ามมีการผลิต  ปรุงน้ำกระท่อม  โดยส่วนผสมของยาแก้ไอ  และยาชนิดอื่น  6.ห้ามปลูกกระท่อมเพิ่มเติมหลังการสำรวจของคณะวิจัยฯ

7.ห้ามครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนพืชกระท่อมขาดการประชุมทั้งในระดับหมู่บ้านและตำบลที่มีวาระการประชุมเกี่ยวกับพืชกระท่อมเกิน 2 ครั้ง  8.ห้ามผู้ที่เสพพืชกระท่อมขาดการตรวจสุขภาพติดต่อกัน 3 ครั้งต่อปี  และ 9.ห้ามผู้ที่ได้รับอนุญาตพกพาใบกระท่อมออกจากพื้นที่ 3 ตำบลในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรท่าชีเกิน 30 ใบ

 

บทลงโทษ  1.มีหนังสือว่ากล่าวตักเตือน   2.ติดประกาศหนังสือเตือนไว้ที่ศาลาหมู่บ้าน  3.ตัดสิทธิประโยชน์หนังสือรับรองการพกพาพืชกระท่อม  4.ตัดทำลายพืชกระท่อม  5.ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ใช้พื้นที่สภาองค์กรชุมชนตำบล 135 ตำบลนำร่องปลดล็อกกระท่อม

นอกจากการใช้พื้นที่ตำบลน้ำพุเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยการปลูกกระท่อมแล้ว  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  (...) ยังมีแผนงานความร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศเพื่อขับเคลื่อนเรื่องกระท่อม  โดยมีการลงนามบันทึกความตกลงร่วมมือระหว่าง ผู้แทน ป..ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล  และผู้บริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กรุงเทพฯ

 

 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล  ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และผู้บริหาร ป...เข้าร่วมประชุมเพื่อความร่วมมือในการจัดระเบียบพืชกระท่อมก่อนจะมีการปลดล็อกเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา

 

การลงนามครั้งนี้ สภาองค์กรชุมชนตำบล มีหน้าที่  คือ  1.สร้างความร่วมมือกับภาคีในพื้นที่  ทำระบบฐานข้อมูล ค้นหาสายพันธุ์พืชกระท่อมที่เหมาะสมกับท้องถิ่น  2.ใช้สมัชชาตำบลสร้างข้อตกลงร่วมกันในการนำไปสู่ธรรมนูญตำบลปลอดยาเสพติด  3.ร่วมเฝ้าระวัง  ขึ้นทะเบียน  ตามแนวทางการจัดระเบียบพืชกระท่อม  เพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชุมชน
             

สำนักงาน ป... มีหน้าที่  1.เป็นศูนย์กลางการประสานหน่วยงานของรัฐ  รวมทั้งกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน  ในลักษณะบูรณาการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ทั้งระดับนโยบาย และระดับพื้นที่ตำบล 2.สนับสนุนการพัฒนาแกนนำสภาองค์กรชุมชนตำบล  เพื่อสร้างความเข้าใจ วางแผนการขับเคลื่อน  การเชื่อมโยง ประสาน งานความร่วมมือทุกภาคส่วน  ฯลฯ

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ มีหน้าที่  1.สนับสนุนสภาองค์กรชุมชนตำบล  เพื่อสร้างความร่วมมือ  ความเข้มแข็งของชุมชน  2.สนับสนุนข้อตกลงร่วมกันในการสร้างธรรมนูญตำบลปลอดยาเสพติด ฯลฯ
 

ตามแผนงานหลังจากมีการลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว  รวมทั้งเมื่อมีการประกาศใช้ ...เพื่อยกเลิกพืชกระท่อมออกจากยาเสพติดแล้ว  ... และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะขยายพื้นที่นำร่องการขึ้นทะเบียนตามแนวทางการจัดระเบียบพืชกระท่อม  ในพื้นที่ 135 หมู่บ้าน  19 ตำบล  10 จังหวัด  เช่น  ปทุมธานี  ชุมพร  ระนอง  สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช ฯลฯ  

 

โดยมีสาระสำคัญคือ  ให้พื้นที่ดังกล่าวใช้พืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิด  รวมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงกระท่อม  และป้องกันไม่ให้มีการนำกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิดต่อไป !!

 

เผยผลวิจัยพืชกระท่อม-ทดแทนมอร์ฟีน-ยารักษาโรค     

ศุภวัฒน์  กล่อมวิเศษ  ชาวบ้านตำบลน้ำพุในฐานะนักวิจัยร่วม  บอกว่า การศึกษาวิจัยเรื่องพืชกระท่อมในตำบลน้ำพุมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเข้าร่วม  เช่น  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ศึกษาวิจัยด้านผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย   และการนำสารสกัด  Mitragynine ในใบกระท่อมมาใช้ประโยชน์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาผลกระทบด้านสังคมและชุมชน  ฯลฯ 

 

  ศุภวัฒน์  กล่อมวิเศษ  ชาวบ้านตำบลน้ำพุร่วมวิจัยเรื่องพืชกระท่อม

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา  มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อคืนข้อมูลจากการวิจัยให้แก่ชุมชนที่ห้องประชุมโรงเรียนท่าชีวิทยาคม  ตำบลน้ำพุ  โดยมีชาวบ้านและตัวแทนหน่วยงานต่างๆ  และคณะนักวิจัยเข้าร่วมเวทีครั้งนี้ประมาณ 500 คน  มีการนำผลการศึกษาวิจัยมาเผยแพร่  เช่น  ผลกระทบด้านสมอง  โดยการศึกษาวิจัยของ ผศ. ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และคณะ

 

ผศ.ดร.สมชาย และคณะ ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ mitragynine ในเลือดกับผลกระทบต่อสมรรถภาพสมองของผู้ใช้กระท่อมเป็นประจำในพื้นที่ตำบลน้ำพุ  โดยศึกษาในคนที่ไม่เคยใช้พืชกระท่อมจำนวน 99 ราย และผู้ใช้พืชกระท่อมแบบวิถีชุมชนดั้งเดิมประจำเป็นเวลานานกว่า 1 ปีจำนวน 192 ราย พบว่า การใช้พืชกระท่อมแบบวิถีชุมชนดั้งเดิม คือ การเคี้ยวใบสดหรือต้มหรือชงใบกระท่อมแห้งเป็นประจำไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพด้านความคิดและการรับรู้ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติและการทำงานของสมอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายในการปลดพืชกระท่อมออกจาก พ...ยาเสพติดให้โทษต่อไป

 

นอกจากนี้ ผศ.ดร.สมชายกำลังศึกษาวิจัยเพื่อนำพืชกระท่อมไปใช้ประโยชน์ทดแทนสารเสพติด  เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ไอซ์ และยาบ้า เพื่อลดอาการถอนที่เกิดจากการหยุดเสพสารเสพติดดังกล่าว โดยวิจัยเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน  มีเป้า หมายเพื่อนำพืชกระท่อมมาพัฒนาเป็นเภสัชตำรับนำไปใช้บำบัดผู้เสพยาเสพติดและทดสอบประสิทธิภาพ รวมถึงความปลอดภัยของเภสัชตำรับที่พัฒนาแล้ว

 

ทั้งนี้จากการศึกษาเบื้องต้น  พบว่า ใบกระท่อมมีสาร ไมทราไจนีน (Mitragynine) และ 7-ไฮดรอกซีไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) มีฤทธิ์ระงับปวด รักษาอาการท้องเสีย ลดน้ำหนัก ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร  ต้านอาการซึมเศร้า  คลายกล้ามเนื้อลาย  ยับยั้งกลุ่มอาการถอนยาจากเอทานอล  ฯลฯ

 

ช่วยเพิ่มไขมันดี ลดไขมันเลว

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาเรื่อง การเพิ่มขึ้นของ HDL และการลดลงของ Triglyceride ในผู้ใช้กระท่อม : ผลการศึกษาในกลุ่มผู้ใช้กระท่อมในประเทศไทย  โดย ดร.อรุณ  หล้าอูบ  สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (.นครศรีธรรมราช) และคณะ  โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างชาวบ้านในตำบลน้ำพุที่ใช้กระท่อมกับคนที่ไม่ใช้

 

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พืชกระท่อมตามวิถีดั้งเดิมกับระดับไขมันในซีรัม  เปรียบเทียบกับคนที่ไม่ใช้ คือ การเพิ่มขึ้นของ HDL หรือ ไขมันดี ในผู้ที่ใช้กระท่อม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด  และ

 

การลดลงของ Triglyceride  จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองได้

การศึกษาในอนาคตควรศึกษากลไกการทำงานของพืชกระท่อมในการเผาผลาญไขมันซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาใหม่จากพืชกระท่อมเพื่อลดไขมัน  ซึ่งจะมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด  และหลอดเลือดสมอง คณะวิจัยสรุปผลการศึกษาดังกล่าว

 

เตรียมสร้างโรงเรือนปลูกกระท่อมค้นหาสายพันธุ์ที่ดี

ศุภวัฒน์  นักวิจัยชาวบ้านตำบลน้ำพุ  บอกด้วยว่า  นอกจากการศึกษาวิจัยต่างๆ ดังกล่าวแล้ว  มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ (มอ.) และ ป... ได้สนับสนุนให้ชาวบ้านตำบลน้ำพุทำแปลงต้นแบบเพื่อศึกษาเรื่องการปลูกกระท่อมให้ได้คุณภาพดี  โดย ป...จะสนับสนุนงบประมาณ  ส่วนตนอยู่ในระหว่างการร่างแบบโรงเรือนเพื่อปลูกและศึกษากระท่อม  เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณไม่เกิน 3 ล้านบาท  ใช้เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่  โดยโรงเรือนจะสร้างเสร็จและปลูกกระท่อมได้ในช่วงปลายปีนี้  ใช้ระยะเวลาปลูกกระท่อม 6 เดือน  หรือประมาณกลางปี 2565 จึงจะนำใบกระท่อมที่ปลูกมาศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพและวิธีการปลูกที่ให้ผลผลิตที่ดีได้

 

ร่างแบบโรงเรือนที่จะใช้ปลูกกระท่อมเพื่อค้นหาสายพันธุ์และวิธีการปลูกที่ให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ

 

โรงเรือนที่จะสร้างเพื่อศึกษาการปลูกกระท่อมจะมี 4 แบบ  คือ  1.ปลูกแบบปิด  2.กึ่งปิด-เปิด  3. ปลูกกลางแจ้ง  โดยจะมีการควบคุมการปลูก  ตั้งแต่ดินที่ใช้ปลูก  การให้น้ำ  ให้ปุ๋ย และแสงแดด  และ 4.ปลูกแบบชาวบ้านดั้งเดิม  คือปลูกตามหัวไร่ปลายนา  ไม่ใส่ปุ๋ย  มีข้อดีคือไม่ต้องดูแลมาก  แต่ต้นจะสูง  ทำให้เก็บใบได้ยากศุภวัฒน์อธิบาย

 

เขาบอกด้วยว่า  ในโรงเรือนนี้จะทดลองปลูกกระท่อมหลายสายพันธุ์  เช่น  พันธุ์ก้านแดง  ก้านขาว  และหางกั้ง  เพื่อนำใบกระท่อมที่ได้มาเปรียบเทียบว่าการปลูกแบบไหน  สายพันธุ์ใดจะให้สารไมทราไจนีน (Mitragynine) ได้สูงที่สุด  เพราะยิ่งมีสารไมทราไจนีนสูงก็จะมีประโยชน์มาก

 

เสียงจากชาวบ้านตำบลน้ำพุ

ในช่วงที่มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อคืนข้อมูลงานวิจัยเรื่องพืชกระท่อมให้แก่ชาวตำบลน้ำพุ เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมานั้น   ชาวบ้านหลายคนได้สะท้อนความเห็นออกมาหลากหลาย  เช่น  ตามธรรมนูญตำบลน้ำพุที่กำหนดให้ปลูกกระท่อมได้ไม่เกินครัวเรือนละ 3 ต้นนั้นไม่เพียงพอ  หากจะปลูกในเชิงเศรษฐกิจทดแทนยางพาราและผลไม้  ราคารับซื้อใบกระท่อมควรจะเหมาะสม   กังวลว่าบริษัทและธุรกิจเอกชนจะเอาไปใช้เชิงพาณิชย์อย่างเดียว  ฯลฯ

 

ศุภวัฒน์  บอกว่า  ในเดือนสิงหาคมนี้ คณะวิจัยจาก มอ.จะเริ่มรับซื้อใบกระท่อมจากชาวบ้านตำบลน้ำพุล็อตแรก จำนวน 100 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 300 บาท  เพื่อนำใบกระท่อมมาสกัดเอาสาร Mitragynine และเอาไปศึกษาวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อไป

 

ถ้าการศึกษาวิจัยพบว่า  กระท่อมสามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆ  เช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง   จะทำให้กระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของชาวบ้าน   ทดแทนยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ราคาตกลงทุกวัน    และยังช่วยประหยัดการนำเข้ามอร์ฟีน  เพราะจากข้อมูลพบว่า  ประเทศไทยนำเข้ามอร์ฟีนเพื่อใช้ทางการแพทย์ประมาณปีละ 9,000 ล้านบาท  เขาบอก  และว่า  หากจะให้ชาวบ้านมีรายได้ทดแทนพืชชนิดอื่น  จะต้องให้ปลูกกระท่อม 100 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่ต่อ 1 ครอบครัว และปลูกแบบควบคุม  ไม่ใช้สารเคมี  เพื่อส่งให้องค์การเภสัชกรรมหรือมหาวิทยาลัยนำไปผลิตเป็นยารักษาโรค 

 

นี่คือก้าวย่างการปลดล็อกพืชกระท่อมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม  สร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและประเทศ  และที่สำคัญก็คือ  เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ  ไม่ใช่เน้นประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชน  เหมือนกับธุรกิจกัญชาที่ปลดล็อกไปแล้ว  และทุกฝ่ายกำลังช่วงชิงผลประโยชน์  จนกลายเป็นระบบมือใครยาว  สาวได้สาวเอา”  เพราะขณะนี้มีกระแสข่าวว่าบริษัทเครื่องดื่มชูกำลังรายใหญ่สนใจที่จะผลิตเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของใบกระท่อมออกมาจำหน่าย !!

 

หมายเหตุ : เรื่องและภาพโดยสำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"