23 เม.ย.64 - นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ไลฟ์เฟซบุ๊กเปิดตัวรายการ “คิดไปข้างหน้ากับธนาธร” ในหัวข้อ “สร้างพันธมิตร ประคองธุรกิจพ้นวิกฤติ” ระบุว่าในเวลานี้วิกฤติโควิดกำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นยอดขายที่ลดลง, กระแสเงินสดขององค์กรที่ลดลง ซึ่งหลายกรณีได้นำไปสู่การเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก ภายใต้สภาวะเช่นนี้ หนึ่งในหนทางที่ภาคธุรกิจจะประคองตัวต่อไปได้ ตนขอเสนอความคิดเรื่องการหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่ออุดรูรั่วที่เกิดจากวิกฤตินี้ เปรียบเทียบว่าหากมีโลกอยู่ใบหนึ่งที่ไม่รู้จักแท็กซี่ มีเพียงม้ากับรถลาก ถ้าจะเริ่มต้นสร้างแท็กซี่ขึ้นมา จะมีรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสองบริษัท คือฟาร์มม้า กับบริษัททำรถลาก ได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ทั้งสองบริษัทเติบโตร่ำรวยไปด้วยกัน
สรุปเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสององค์กรธุรกิจ สามารถมีได้ตั้งแต่การซื้อ-ขาย และให้เช่าเป็นรูปแบบพื้นฐานที่สุด ทั้งเจ้าของม้าซื้อรถลากมาทำแท็กซี่ หรือเจ้าของรถลากซื้อม้ามาทำแท็กซี่ แต่การซื้อ-ขายและให้เช่า เป็นการทำธุรกรรมที่ไม่ได้มัดสององค์กรให้เหนียวแน่นเป็นพันธมิตรกัน สุดท้ายผู้ที่ทำแท็กซี่ได้สำเร็จจะนำปัจจัยกำลังซื้อจากลูกค้าใหม่ มากดราคาซื้อ-ขายกับอีกฝ่ายหนึ่งได้ และทุกคนต่างก็อยากอยู่ในชั้นบนสุดของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) กันทั้งนั้น จากปัญหาพื้นฐานนี้ องค์กรธุรกิจสององค์กรสามารถกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การทำให้การซื้อ-ขาย หรือให้เช่าเป็นในลักษณะเฉพาะ (exclusive) เช่น ต้องซื้อ-ขายจากกันและกันเท่านั้น ห้ามไปซื้อ-ขายกับคนอื่น ซึ่งสามารถนำไปสู่รายได้คงที่ (fixed revenue) และอาจจะนำไปสู่การแบ่งปันกำไร (profit-sharing) ได้
ในกรณีที่บริษัทที่ต้องการไปสร้างพันธมิตรกับบริษัทที่มีเทคโนโลยีที่เราไม่มี อีกรูปแบบหนึ่งที่ทำกันอย่างแพร่หลายเรียกว่าการทำ Technology Licensing เช่น กรณีของวัคซีนโควิด มหาวิทยาลัย Oxford มีชื่อเสียงเก่าแก่ ได้รับการเคารพจากสังคม และมีสูตรยาที่จะสามารถผลิตเป็นวัคซีนโควิดได้ ส่วน AstraZeneca เป็นบริษัทยาใหญ่ระดับโลก ไม่มีสูตรแต่มีโรงงานผลิตและเครือข่ายการจำหน่ายระดับโลก เขาจึงจับมือกัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า Technology Licensing
นายธนาธร กล่าวว่าอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความซับซ้อนมากขึ้น คือการทำบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) หรือการที่องค์กรธุรกิจต่างคนต่างลงขันกันสร้างบริษัทใหม่ขึ้นมา แบ่งกันถือหุ้น ทำให้การจัดสรรกำไรใน supply chain เป็นธรรมมากขึ้น ไม่ใช่อีกฝ่ายมากดราคาซื้อ ซึ่งอาจจะทำในลักษณะการถือหุ้นไขว้กัน (cross-shareholding) ได้ เพื่อให้เชื่อใจกันมากขึ้น แนบสนิทกันมากขึ้น ให้ผลประโยชน์ถูกแบ่งสรรกันอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ และอีกรูปแบบหนึ่งที่ไปไกลกว่านั้น ก็คือการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) คือการที่องค์กรธุรกิจทั้งสองต่างยุบเอาบริษัทของตัวเองลงมารวมกันเป็นบริษัทใหม่บริษัทเดียว ต่างฝ่ายต่างเข้าไปถือหุ้นอยู่ในบริษัทใหม่ ผลประโยชน์ทุกอย่างจะถูกแบ่งตามสัดส่วนผู้ถือหุ้น
“ถ้าเราลองดูรูปแบบทั้งหมดที่มี ผมไล่มาให้ดูตั้งแต่การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีการผูกมัดกันน้อยไปจนถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีการผูกมัดกันเยอะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือรูปแบบการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีอยู่ จะใช้กับกระบวนการไหน จะใช้กับธุรกิจแบบไหน ต้องอยู่ที่ผู้บริการตัดสินใจเอาเอง” นายธนาธร กล่าว
ประธานคณะก้าวหน้า กล่าวต่อไปว่าในธุรกิจปกติ ไม่มีใครมีทุกอย่างครบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป, ฐานลูกค้า, เงินลงทุน, เครือข่ายโลจิสติกต์, ช่องทางการขาย, ทีมผู้บริหารที่พร้อม, ชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์, ชื่อเสียงของบริษัท ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดภาวะวิกฤติอย่างโควิด ทำให้งบประมาณในการลงทุนใช้จ่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์กรทางธุรกิจแต่ละองค์กรน้อยลง การหาพันธมิตรจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้น เพื่อเอามาอุดรอยรั่วในสิ่งที่เราไม่มี
“ทั้งหมดนี้คือรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยประคับประคองธุรกิจได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องปลดคนงานทิ้ง หวังว่าทุกท่านจะได้ประโยชน์และนำความคิดตรงนี้กลับไปใช้ ในเวลาที่ยอดขายตกลงจากผลกระทบโควิด สร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มเติมด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของท่านมีความเจริญก้าวหน้าไป มีการจ้างงานมากขึ้น คนงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็หวังว่าเราจะช่วยกันประคับประคองระบบเศรษฐกิจไม่ให้ล้มเหลวไปกว่านี้ได้” นายธนาธร กล่าวทิ้งท้าย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |