ช็อปของแห้งออนไลน์ ให้ระวังสินค้าเก่าเก็บ เสี่ยงเชื้อราก่อมะเร็ง


เพิ่มเพื่อน    

 กรมอนามัยเตือนผู้ซื้อของแห้งผ่านออนไลน์ "ธัญพืช-ถั่ว-ผลไม้แห้ง-กุ้งแห้ง" ระวังสินค้าเก่าเก็บ เสี่ยงเกิดเชื้อรา กินสะสมก่อโรคมะเร็ง แนะให้สังเกตบรรจุภัณฑ์ สอบถามวันที่หมดอายุกับผู้ขายก่อนตัดสินใจช็อปทุกครั้ง ทิ้งทันทีเมื่อกลิ่น สีเปลี่ยน ถ้าเข้าครัวล้างให้สะอาด ปรุงให้สุก

           วันที่ 22 เม.ย. นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ประชาชนนิยมซื้อของอุปโภคบริโภคทางออนไลน์กันมากขึ้น เพราะด้วยเป็นการประหยัดด้านเวลา และลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกจากบ้านในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การสั่งซื้อของแต่ละครั้งผู้ซื้อก็ต้องมั่นใจถึงคุณภาพของสินค้า โดยเฉพาะการสั่งซื้ออาหารแห้งออนไลน์จำพวกธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง และผลไม้แห้งต่างๆ ที่อาจเป็นสินค้าเก่าเก็บเสี่ยงเกิดเชื้อราได้ เนื่องจากอาหารที่ผ่านกระบวนการอบแห้งหรือการตากแห้งเพื่อลดปริมาณน้ำในอาหารเป็นการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์และชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเสียของอาหาร อาจมีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อราได้ง่าย หากเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ชื้นเกินไปหรือไม่มีการอบให้แห้งดีพอ ก่อให้เกิดสารอะฟลาท็อกซิน หากมีการบริโภคเข้าไปสะสมในปริมาณมากก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้
           นายแพทย์สุวรรณชัยกล่าวต่อว่า ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าควรสอบถามถึงคุณภาพ และวันหมดอายุกับผู้ขายก่อนทุกครั้ง รวมถึงพิจารณาภาพประกอบการขายสินค้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นการพิจารณาการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพเบื้องต้น และเมื่อได้รับสินค้าควรสังเกตบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ซองบรรจุไม่มีรูรั่ว และอ่านฉลากให้ครบถ้วน ตั้งแต่ชนิด ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดคุณภาพ และก่อนที่จะนำมาปรุงประกอบอาหารควรล้างให้สะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในถั่วเมล็ด ธัญพืชต่างๆ และควรปรุงสุกทุกครั้งก่อนนำมาบริโภค
           “สำหรับเห็ดหอม กุ้งแห้ง หรือปลาหมึกแห้ง ก่อนนำมาปรุงประกอบอาหารต้องล้างน้ำหลายๆ ครั้งด้วยการแช่น้ำนานๆ หรือลวกน้ำร้อน เพื่อลดปริมาณสารปนเปื้อน และไม่ควรกินอาหารแห้งซ้ำๆ กัน เพื่อให้ร่างกายมีเวลาในการกำจัดสารปนเปื้อนตกค้างจากอาหารแห้งประเภทนั้นออกจากร่างกาย ทั้งนี้ เมื่อพบอาหารแห้งมีกลิ่นหรือสีที่เปลี่ยนไป ถึงแม้จะมองไม่เห็นว่ามีเชื้อราก็ตาม ควรนำไปทิ้ง ไม่ควรนำมาปรุงอาหาร เพราะความร้อนจากการประกอบอาหารไม่สามารถทำลายเชื้อราได้ และในกรณีที่บริโภคไม่หมดในคราวเดียว ควรนำส่วนที่เหลือใส่ภาชนะที่ปิดสนิท เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้น และมีอากาศถ่ายเทที่ดี” อธิบดีกรมอนามัยกล่าว.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"