ต้องยอมรับว่าในช่วงนี้ที่ทุกประเทศกำลังประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงนั้น ไทยเองก็ใช่ว่าจะสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ แม้จะมีการเข้าไปแก้ปัญหาในหลายจุดแล้วก็ตาม แต่ก็ยังดูเหมือนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ขณะที่แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือการพัฒนาในด้านใดก็ตามยังต้องเดินไปอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไม่สามารถหยุดทำได้ รวมถึงการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำธุรกิจหรือการแข่งขัน แม้จะเป็นนโยบายเดิมๆ แต่ก็ยังต้องเดินหน้าสานต่อไปอยู่ ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจแบบนี้ กลุ่มผู้ประกอบการของไทยโดยเฉพาะรายย่อยๆ นั้นเป็นกลุ่มที่ต้องการเสริมความมั่นคงมากที่สุด
ซึ่งหลายหน่วยงานก็มีโครงการต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือในด้านนี้โดยตรง รวมถึงกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ที่เดินหน้าสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ หรือสตาร์ทอัพ ที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2,000 ราย ให้มีทักษะทางธุรกิจเพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่าอุปสรรคของการเติบโตของสตาร์ทอัพ คือ ปัญหาด้านต้นทุนของธุรกิจ ทั้งต้นทุนในเชิงทักษะทางธุรกิจ และต้นทุนในเชิงจำนวนเงิน
จึงได้จัดกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น(สตาร์ทอัพ คอนเน็กซ์) ในประเภทอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงโดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง หรืออุตสาหกรรม ดีพเทค สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพจากบริษัทเอกชนชั้นนำที่สนใจลงทุน (CVC) ในการต่อยอดธุรกิจ
โดยการจัดครั้งนี้ได้คัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 25 ทีม จากจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 100 ทีม ดำเนินการบ่มเพาะความรู้ด้านธุรกิจอย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญ และจัดกิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการตลาด สนับสนุนให้สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพ และสามารถต่อยอดธุรกิจในตลาดใหม่ เพิ่มโอกาสในการขยายฐานตลาดไปยังต่างประเทศ
และการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้นจะต้องคัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจาก 4 สาขา ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในตลาดโลก ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, สาขาเทคโนโลยีการแพทย์, สาขาเทคโนโลยีการเงิน และสาขาไลฟ์สไตล์ ซึ่งมีนวัตกรรมที่น่าสนใจ อาทิ นวัตกรรมแพลตฟอร์มวินิจฉัยปัญหาและควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัจฉริยะที่สามารถประหยัดพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 20%
นวัตกรรมระบบเก็บข้อมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถบรรทุกแบบอัตโนมัติผ่านระบบเอไอ และกล้อง CCTV, นวัตกรรมช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า, นวัตกรรมเครื่องช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าวิธีการกายภาพบำบัดและนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษเปลี่ยนน้ำเสีย ให้เป็นกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
สำหรับกลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพใช้กลไกการเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อส่งเสริมเงินทุนและการตลาด ในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1.การขยายเครือข่ายสตาร์ทอัพ เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ มาบ่มเพาะให้มีความพร้อมในการนำเสนอโมเดลธุรกิจกับนักลงทุน 2.การขยายเครือข่ายเงินทุน โดยการสร้างเครือข่ายกับบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพ และสนใจร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่ได้รับการบ่มเพาะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการร่วมดำเนินธุรกิจ
3.การขยายเครือข่ายตลาด โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม หรือเครือข่ายนำโซลูชั่นของสตาร์ทอัพไปใช้งานจริง เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของไทย และ 4.การขยายเครือข่ายนานาชาติ เพื่อต่อยอดไปยังตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้น รองรับความต้องการจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเกิดความร่วมมือทางธุรกิจผ่านการสนับสนุนเงินทุนกว่า 500 ล้านบาท
เชื่อว่าการทำงานร่วมกันแบบนี้ รวมถึงการได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์จะทำให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตและเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศได้ ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤติดังกล่าวแบบนี้.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |