22 เม.ย.64 - "ชุบ ชัยฤทธิไชย" ทนายความ โพสต์แสดงความคิดเห็นเรื่อง "ไม่ยอมรับ "กระบวนการ" แล้วจะให้ทำอย่างไร" บนเฟซบุ๊กเมื่อ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาน่าใจดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหว ในคดีที่มีการฟ้องร้องเพนกวิน ของศาล วันนี้ มีข้อที่ฟังแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกอะไรบางอย่าง
ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย จากกรณีดังกล่าว ทำให้เกิดเป็น "ข้อสังเกต" บางประการ เกี่ยวกับการต่อสู้คดีของจำเลย ในศาล
ในเบื้องต้น เป็นที่เข้าใจ และยอมรับกันได้ คือ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามตัวบทกกฎหมาย ไม่มีอำนาจ หรือ สิทธิ ในการที่จะทำอะไร "นอกกรอบ" ของกฎหมายได้
กระบวนพิจารณาในชั้นศาล ในชั้นนี้ ได้แก่การตรวจสอบพยานหลักฐาน และกำหนดการสืบพยานโจทก์จำเลย
ฝ่ายโจทก์ และ ฝ่ายจำเลย ต่างจะทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานของอีกฝ่าย ว่า ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในเอกสารนั้น จะรับกันได้ หรือไม่ได้
ถ้ารับข้อเท็จจริงบางอย่างได้ ก็ทำให้การสืบพยานที่จะทำต่อไป เร็วขึ้น ถ้ารับไม่ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ ก็แถลงไม่รับ
โดยทั่วไป ถ้าจำเลยคิดว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้ทำความผิดตามฟ้อง จำเลยหรือทนายจำเลย จะแถลงไม่รับข้อเท็จจริง ตามเอกสารที่มีการนำเสนอต่อศาล ทุกฉบับ ทุกรายการ ก็ย่อมกระทำได้
ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นการชอบด้วยกระบวนการ และชอบด้วยสิทธิ
ส่วนที่จำเลยคดีนี้ แถลงต่อศาลว่า ไม่ยอมรับกระบวนการกฎหมาย และขอถอนทนายความ ผมไม่เข้าใจเหตุผลครับ
และเห็นว่า การแถลงเช่นนั้น ไม่น่าจะเกิดประโยชน์ และ ไม่เป็นเหตุให้กระบวนพิจารณาของศาลเสียไป หรือไร้ผล
แต่กลับจะเป็นการทำให้จำเลยเสียสิทธิ หรือ เสียเปรียบในการต่อสู้คดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ส่งผลให้คำชี้ขาดตัดสินของศาลในท้ายที่สุด เสียไปด้วย
ข้ออ้างว่า ไม่ได้ประกันตัว ทำให้ไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ยอมรับกระบวนการ
ก็ต้องบอกว่า การได้ประกันตัวหรือไม่ได้ประกันตัว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดีเต็มที่หรือไม่เต็มที่แต่อย่างใด
จำเลยยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เสมอ ไม่ว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่
และน่าสังเกตว่า โดยหลักการในทางคดีอาญานั้น โจทก์มี "ภาระการพิสูจน์ความผิด"
แปลอีกที โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าเบิกความเพื่อพิสูจน์ความผิด ให้ศาลเชื่อว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ มีข้อเท็จจริงตามที่ฟ้อง ซึ่งศาลจะพิเคราะห์น้ำหนักทางคดี ตามพยานหลักฐานต่อไป
ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยทำผิด ศาลก็จะต้องพิพากษายกฟ้อง ไม่ว่าจำเลยจะสืบพยานหรือไม่
หรือแม้กรณีหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เป็น "กรณีสงสัย" ว่าจำเลยจะได้ทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลก็จะพิพากษายกประโยชน์แห่งความสงสัย ให้จำเลย โดยการพิพากษายกฟ้อง เช่นเดียวกัน
จึงสงสัยว่า การแถลงของจำเลยครั้งนี้ เจตนาที่ซ่อนเร้น นั้น คือ อะไร
๑.คือ ส่วนหนึ่งของ "ชั้นเชิง" การต่อสู้คดี
๒.รู้ตัวดีอยู่แล้วว่า ตนเองกระทำผิดตามฟ้องอยู่แล้ว ถึงจะสู้คดีอย่างไร ก็คงจะไม่มีทางชนะคดีได้
จึงต้องการทำอะไรบางอย่างให้ดูเหมือนว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมตาม "กระบวนการ"
๓.ต้องการให้โลกมองว่า การไม่ได้รับประกันตัว คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
๔.ต้องการให้โลกมองว่า การไม่ได้รับการประกันตัว เป็นการ "ขัด" หรือ "แย้ง" กับหลักการแห่ง "สิทธิมนุษยชน"
ผมเดาไม่ถูกจริง ๆ ว่า อะไร คือ "เจตนา" ที่แท้จริง
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ผมมิได้มีเจตนาจะ "ชี้นำ" ใด ๆ ทั้งสิ้น
เพียงแต่คิดว่า อยากให้คนที่กำลังต่อสู้คดี ได้นำไปพิจารณา วิเคราะห์ เปรียบเทียบถึงผลดีผลเสียของ "ชั้นเชิง" การสู้คดีเพื่อประโยชน์ของตน
การต่อสู้คดี ไม่ว่าในเรื่องใด ๆ ย่อมต้องกระทำตาม "กระบวนการ" ที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถใช้วิธีการนอกกรอบของกระบวนการทางกฎหมายได้
นี้คือ หลัก "สากล"
ผมเขียนเรื่องนี้ เพราะอยากเห็นจำเลยต่อสู้คดี ตามหลักการของกฎหมาย อย่างสุจริต ตรงไปตรงมา
คิดอยู่เสมอว่า ฟ้องโจทก์ นั้น บางที เมื่อสืบพยาน สืบไปสืบมา โจทก์ก็พิสูจน์ถึง "เจตนา" ของการกระทำความผิดของจำเลยไม่ได้
โดยที่จำเลยไม่ต้องพิสูจน์อะไรเลย ก็เคยมีเกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
ทั้งนี้ ผมเขียนขึ้นด้วยความเคารพ และ ด้วยความปรารถนาดี กับคนที่กำลังตกเป็นจำเลย ไม่ว่าในคดีใด ๆ
แม้ว่า ผู้เป็นจำเลยนั้น ไม่ใช่คนที่อยู่ใน "สายตา" ของผมเลยแม้แต่น้อย อย่างนายเพนกวิน ก็ตาม
ครับท่าน
ชุบโคราช
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |