'กรุงไทย'คาดจีดีพีปีนี้โตดีสุดที่3%


เพิ่มเพื่อน    

 

21 เมษายน 2564 นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไว้รัสโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเนื่องจากต้นปี 2564 และคาดว่าจะต้องใช้เวลาราว 2 เดือน (พ.ค.- มิ.ย. 64) หลังจากนั้นสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้น โดยใช้ประสบการณ์จากช่วงสองครั้งแรกที่ผ่านมาใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน จะทำให้ทุกอย่างปรับตัวดีขึ้นมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะกระทบกับการท่องเที่ยวส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท ในช่วงเดือน ม.ค.และ ก.พ. 2564ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนปรับตัวลดลงไปด้วย จึงมองว่าจะกระทบอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้ลดลง 1.3% จากที่คาดการณ์ไว้ 2.5%

ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น จึงคาดว่าการส่งออกจะเข้ามาช่วยหนุนตัวเลขจีดีพีเพิ่มขึ้น 0.3% ทำให้ภาพรวมจีดีพีของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ 1.5% และหากรวมกับวงเงินที่ภาครัฐบาลจะสามารถนำมากระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก 2 แสนล้านบาท โดยหากภาครัฐได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเราชนะ หรือ โครงการคนละครึ่งเฟส 3 ตลอดจนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน จะส่งผลทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 1.5% ดังนั้นกรณีที่ดีที่สุด มองว่าจีดีพีของไทยในปีนี้อาจจะเติบโตได้ราว 3%

นายพชรพจน์ กล่าวว่า ในส่วนภาพรวมผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์คาดว่าในระยะเวลา 1-3 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตเพียง 3.6% เท่านั้น ต่ำกว่าช่วงก่อนหน้าที่เคยเติบโตได้ 7.2% เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศโดนกดดันจากเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ไม่เร็วนัก และหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ 89.3% ต่อจีดีพี ส่วนกำลังซื้อของชาวต่างชาติถูกจำกัดจากมาตรการเดินทางระหว่างประเทศ ขณะที่ธุรกิจที่เคยเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาทิ อพาร์ทเม้น โรงแรม ก็มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าเช่นกัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงของโควิด-19 ซึ่งทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป

นายกิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ธุรกิจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมีศักยภาพในการเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ เนื่องจากมูลค่าตลาดมีแนวโน้มสูงถึง 1.37 แสนล้านในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยนอกจากกระแสรักษ์โลก และ สิ่งแวดล้อมแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความต้องการใช้โซลาร์รูฟท็อปมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นมาจากความคุ้มค่า ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาต้นทุนโซลาร์รูฟท็อปที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคารับซื้อไฟที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโควตารับซื้อไฟของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในอนาคตข้างหน้า

โดยตั้งแต่ปี 2556 ราคาแผงโซลาร์ในไทยลดลงกว่า 66% ประกอบกับ ราคารับซื้อไฟของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 บาท/หน่วย ทำให้ระยะเวลาคืนทุนจากการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเร็วขึ้นจาก 17-30.3 ปี ในปี 2556 เหลือ 6.1-13.9 ปี ในปี 2564 และ อาจเหลือเพียง 5.3-12 ปี ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากราคาแผงโซลาร์ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ประเมินว่ามีครัวเรือนไทยถึง 2.3 ล้านครัวเรือนที่สามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และคุ้มทุนได้ค่อนข้างเร็ว หากครัวเรือนกลุ่มนี้เพียง 20% หันมาติดแผงโซลาร์ก็จะทำให้มูลค่าตลาดสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"