อียูแซงก์ชัน10จนท.รัฐบาลทหารเมียนมา ญี่ปุ่นจี้ปล่อยนักข่าว


เพิ่มเพื่อน    

อียูคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารเมียนมา 10 คนและบริษัทเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับกองทัพอีก 2 แห่งเมื่อวันจันทร์ เพิ่มเติมจากเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะรัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องเมียนมาปล่อยตัวนักข่าวชาวญี่ปุ่นที่โดนจับเป็นรอบที่ 2 และถูกส่งไปขังที่คุกอินเส่งข้อหาแพร่ข่าวปลอม

แฟ้มภาพ โปสเตอร์ภาพพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ที่โดนฉีดครึ่งตกอยู่ด้านนอกสถานทูตเมียนมาประจำกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 (Photo by Richard Baker / In Pictures via Getty Images)

    มาตรการคว่ำบาตรล่าสุดของสหภาพยุโรป (อียู) มีออกมาหลังจากการคว่ำบาตรของสหรัฐ, อังกฤษ และอียู ก่อนหน้านี้ ยังไม่สามารถหยุดยั้งรัฐบาลทหารเมียนมาไม่ให้ใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงได้ ข้อมูลจากกลุ่มสังเกตการณ์เอกชนในเมียนมาระบุว่า นับแต่กองทัพก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงขณะนี้มีพลเรือนโดนฆ่าตายแล้วอย่างน้อย 738 คน ขณะที่สื่อมวลชนตกเป็นเป้าโจมตีมากขึ้น

    ไฮโก มาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 19 เมษายน ภายหลังหารือผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลกับรัฐมนตรีต่างประเทศอียูชาติอื่นๆ ว่า ระบอบทหารเมียนมายังคงใช้ความรุนแรงและนำพาเมียนมาไปสู่ทางตัน นี่คือเหตุผลที่อียูเพิ่มแรงกดดันเพื่อให้ทหารเข้าสู่โต๊ะเจรจา

    นอกจากรายชื่อบุคคล 10 คน ซึ่งนักการทูตกล่าวกันว่าเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกในสภาปกครองแห่งรัฐ มาสกล่าวว่า อียูยังได้เพิ่มบริษัทเมียนมา 2 แห่ง ได้แก่ เมียนมาอีโคโนมิกคอร์ปอเรชัน (MEC) และเมียนมาอีโคโนมิกโฮลดิงส์ (MEHL) ในรายชื่อโดนอายัดทรัพย์สินและห้ามเดินทางเข้าอียู

    สองบริษัทนี้โดนสหรัฐและอังกฤษคว่ำบาตรมาก่อนแล้ว รัฐบาลสหรัฐยังคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีของทางการเมียนมาเพิ่มอีกบริษัทด้วย นอกจากนี้เมื่อเดือนที่แล้ว อียูก็เคยคว่ำบาตรพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมา กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีก 10 คน

    คำประกาศของอียูมีออกมาภายหลังรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงเรียกร้องให้ทางการเมียนมาปล่อยตัวยูกิ คิตาซูมิ นักข่าวชาวญี่ปุ่น ที่โดนจับกุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยโฆษกสถานทูตญี่ปุ่นยืนยันว่าเขาถูกย้ายจากโรงพักไปคุมขังที่เรือนจำอินเส่งที่ใช้กักขังนักโทษการเมืองแล้วตั้งแต่คืนวันอาทิตย์

    โฆษกสถานทูตกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทูตญี่ปุ่นพยายามขออนุญาตเข้าเยี่ยมเขา แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ตำรวจแจ้งมาว่าเขาโดนจับกุมฐานต้องสงสัยว่าเผยแพร่ข่าวปลอม เจ้าหน้าที่เมียนมาแจ้งด้วยว่า คิตาซูมิไม่ได้โดนทำร้ายร่างกายระหว่างการจับกุมและเขายังสุขภาพแข็งแรง 
    
    ด้านคัตสึโนบุ คาโตะ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลงว่า ญี่ปุ่นกำลังขอร้องต่อทางการเมียนมาให้ปล่อยตัวบุคคลผู้นี้ ญี่ปุ่นจะพยายามเต็มที่เพื่อปกป้องพลเมืองของตน

    ถือเป็นครั้งที่ 2 แล้วที่นักข่าวญี่ปุ่นรายนี้โดนจับกุมนับแต่เกิดรัฐประหาร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์เขาโดยโดนทุบตีและโดนจับขังช่วงสั้นๆ ระหว่างที่เมียนมาปราบปรามผู้ประท้วง เขาได้รับการปล่อยตัวในเวลาต่อมา

    นับแต่รัฐประหาร มีนักข่าวและช่างภาพถูกจับกุมแล้วอย่างน้อย 65 คน ข้อมูลจากกลุ่มสังเกตการณ์ รีพอร์ตติงอาเซียน กล่าวว่า ยังคงมีนักข่าวและช่างภาพอย่างน้อย 34 คนถูกคุมขังอยู่ทั่วเมียนมา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"