รู้กินสมุนไพรไทยให้ถูกวิธี สร้างเสริมภูมิป้องกันโควิด


เพิ่มเพื่อน    

      ช่วงเวลาการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ขยายตัวกว้างขวางมากขึ้น ปรากฏในโลกโซเชียลมีกระแส "ฟ้าทะลายโจร" กินแล้วสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าเซลล์เพื่อไปทำลายเซลล์ในร่างกายได้เพิ่มเป็นเงาตามตัว กรณีดังกล่าวนี้ “ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว” หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้ข้อมูลว่า “ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ประกอบกับมีงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ออกมาบอกว่า การบริโภคฟ้าทะลายโจรในระดับที่ต่ำ จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ดีกว่าการบริโภคในปริมาณที่สูง รวมถึงงานวิจัยในต่างประเทศได้ออกมาระบุว่าการกินฟ้าทะลายโจรนั้น สามารถป้องกันโรคภูมิแพ้และโรคไข้หวัดโดยตรง เนื่องจากสมุนไพรดังกล่าวมีฤทธิ์เย็น จึงช่วยลดความร้อนในร่างกาย แก้อักเสบเจ็บคอ แต่ทั้งนี้จะต้องบริโภคในปริมาณ 60 มิลลิกรัม ซึ่งหากเกินกว่าปริมาณดังกล่าว ก็จะทำให้ร่างกายเย็นมากเกินไป และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

            ทั้งนี้ จากประสบการณ์ด้านการทำงานเรื่องสมุนไพรไทย ในแง่ของการบริโภคฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันโรคหวัดนั้น ผู้ที่กินสมุนไพรดังกล่าวในบ้านเราจะกินประมาณ 1-2 ใบเท่านั้น อีกทั้งจากผลวิจัยในต่างประเทศได้ระบุว่า ผู้ป่วยโรคหวัดนั้น กินฟ้าทะลายโจรในรูปแบบของแคปซูล วันละ 1 แคปซูล (1 แคปซูลเท่ากับ 11-12 มิลลิกรัม) ติดต่อกันประมาณ 3 เดือน ผลปรากฏว่าสามารถลดการเกิดโรคหวัดได้หากบริโภคในปริมาณที่ต่ำ นั่นจึงสะท้อนให้เห็นว่าฟ้าทะลายโจรเหมาะสำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอื่น ซึ่งไม่ใช่เชื้อไวรัสของโรคโควิด-19 ประกอบกับการใช้สมุนไพรดังกล่าวอยู่ในระดับที่ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้น การใช้สมุนไพรตัวอื่นที่อยู่ในแบบของเครื่องเทศในอาหาร ถือเป็นตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ดีกว่า และต้องทำร่วมกับมาตรการอื่นๆ เช่น การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงการออกกำลังกาย การพักผ่อน การรับแสงแดดในตอนเช้า ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ดีเช่นเดียวกัน”

            ภญ.ผกากรองบอกอีกว่า “นอกจากนี้การเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแบบองค์รวม นอกจากการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคมแล้ว การบริโภคสมุนไพรไทยที่ใช้ปรุงอาหาร อาทิ “กระชาย” ที่มีสรรพคุณเผ็ดร้อน และ “ขิงแก่” ซึ่งสมุนไพรทั้งสองมีฤทธิ์ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ได้ดีเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องบริโภคอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันความร้อนในร่างกายสูงเกินไป”

            “การบริโภคกระชายในรูปแบบของเครื่องแกงในอาหาร สามารถรับประทานได้ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แต่เมื่อกินแล้วให้หมั่นสังเกตอาการว่ามีผลข้างเคียงหรือไม่ เช่น บางคนกินแล้วเกิดอาการปากไหม้ เนื่องจากความร้อนในร่างกายสูง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ควรหยุดบริโภค ที่สำคัญไม่ควรกินน้ำกระชายปั่นทุกวัน แต่ควรกินกระชายให้หลากหลาย โดยการปรุงเป็นเมนูต่างๆ เพื่อไม่ให้ความร้อนในร่างกายสูง ส่วนขิงแก่ ก็มีงานวิจัยว่าขิงแก่ที่นำมาต้มดื่มเป็นน้ำ จะช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็ก หรือไวรัส RSV ได้

            นอกจากนี้ “มะขามป้อม” ที่มีวิตามินซีสูง ก็เป็นสมุนไพรไทยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้เช่นกัน ประกอบกับงานวิจัยจากโรงพยาบาลศิริราชระบุว่า การบริโภควิตามินซีในมะขามป้อมเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูง ดังนั้น ใน 1 วันสามารถบริโภคมะขามป้อมสดได้ประมาณ 1 กรัม หรือประมาณ 3 ผล และในผลงานวิจัยดังกล่าวยังระบุอีกว่า มะขามป้อมที่นำไปต้มดื่มเป็นน้ำในปริมาณ 100 ซีซีนั้น จะช่วยทำให้เม็ดเลือดขาวสามารถดักจับเชื้อไวรัสต่างๆ และเซลล์มะเร็งร้ายได้ดียิ่งขึ้น และแม้ว่ามะขามป้อมจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แต่วิตามินซีที่อยู่ในสมุนไพรดังกล่าวสามารถถูกทำลายได้เมื่อถูกความร้อน จากการนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม แต่ในมะขามป้อมก็ยังมีสารสำคัญอื่นๆ ที่มีประโยชน์อยู่อีกมากมาย

            รวมถึงยังมีงานวิจัยของประเทศจีนเกี่ยวกับการใช้มะขามป้อมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 จากการศึกษาในคอมพิวเตอร์ ก็ได้แนะนำให้บริโภคมะขามป้อมในระยะเวลาติดต่อกันได้ เพราะการบริโภคสมุนไพรไทยนั้น หากสมุนไพรชนิดใดก็ตามเคยกินเป็นอาหารมาก่อน จะสามารถบริโภคต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้ ผู้ที่เลือกบริโภคมะขามป้อมแบบผลสด แนะนำให้เลือกผลเล็กแกร็น เพราะสมุนไพรไทยยิ่งลูกเล็กก็จะยิ่งดี ส่วนมะขามป้อมผลใหญ่ผิวสีเขียวอ่อน เป็นมะขามป้อมพันธุ์ลูกผสม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับมะขามป้อมลูกเล็กแกร็นที่เป็นสมุนไพรไทยแท้

            ที่ลืมไม่ได้นั้น สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องเทศอย่าง “หอมแดง” ก็สามารถรับประทานเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ โดยการพลิกแพลงเป็นเครื่องแกงเผ็ด หรือเด็กเล็กที่กินเผ็ดไม่ได้ ก็สามารถปรุงเป็นเมนูซุปหัวหอม หรือผัดหมูใส่หัวหอม ส่วน “กระเทียม” สามารถใส่ในเครื่องแกงและปรุงเป็นเมนูแกงไทยต่างๆ ขณะที่ “ใบโหระพา” และ “ใบกะเพรา” นั้น ในประเทศอินเดียได้นำมาต้มดื่มเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันโรค หรือแม้แต่ “ขมิ้นชัน” ที่อยู่ในรูปแบบผง ก็สามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารและใส่นมสดลงไป เช่น เมนูผัดผงกะหรี่ โดยผงขมิ้นชันจะทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ เมื่อลำไส้และการขับถ่ายของเราดี ก็จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดีเช่นกัน”

            หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปิดท้ายว่า “หลักการบริโภคสมุนไพรไทยดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคโควิด-19 นั้น แนะว่าให้รับประทานอย่างได้อย่างน้อยวันละ 1 มื้ออาหาร และปรุงในรูปแบบของเครื่องเทศหรือเครื่องปรุง ที่สลับสับเปลี่ยนให้เป็นเมนูต่างๆ ก็จะทำให้บริโภคสมุนไพรไทยในรูปแบบของอาหารได้อย่างหลากหลาย และบริโภคสมุนไพรไทยในปริมาณที่ไม่ได้มากจนเกินไปค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"