Save Doctors’Heart…ดูแลหัวใจหมอ ใส่ใจสุขภาพแพทย์เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย

เพราะแพทย์ 1 คน มีหน้าที่ดูแลคนไข้ปีละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย ดังนั้นการตรวจสุขภาพหัวใจคุณหมอเพื่อป้องกัน “หัวใจวายเฉียบพลัน” (Heart Attack) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ไร้สัญญาณเตือนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ครั้งแรกในประเทศไทยที่แพทย์จะเข้าร่วมอาสาดูแลหัวใจแพทย์ โดยโรงพยาบาลเมดพาร์ค นำโดย “ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช” กรรมการผู้จัดการ รพ.เมดพาร์ค ร่วมกับองค์กรพันธมิตร เปิดโอกาสให้แพทย์ไทย สัญชาติไทย อายุ 35-70 ปี สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อเป็นการป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิตเฉียบพลันเนื่องมาจากโรคหัวใจ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้โครงการ “โครงการอาสาดูแลหัวใจหมอ Save Doctors’Heart”

 “ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม” แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด ให้ข้อมูลว่า “ในช่วง 2 ปีที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 นั้น แพทย์ค่อนข้างทำงานหนักมาก ทำให้เกิดความเครียด และไม่ได้ดูแลสุขภาพเนื่องจากไม่มีเวลา ทางโรงพยาบาลเมดพาร์ค และองค์กรภาคีเครือข่าย จึงได้เสนอโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพที่เกี่ยวกับข้องโรคหัวใจให้กับแพทย์ที่เสียสละเวลาดูคนไข้อย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ด้าน “นพ.ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี” ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจและทรวงอก รพ.เมดพาร์ค ให้ข้อมูลว่า “สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจวาย เกิดจากการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ ทำให้หัวใจตีบตัน ดังนั้นถ้าผู้ที่เป็นในระยะน้อยๆ ก็จะรู้สึกว่าเจ็บแน่นที่บริเวณหน้าอก เช่น ถ้าคนที่ไปตีกอล์ฟและรู้สึกมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หากไป รพ.ได้ทันเวลาก็จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้ารุนแรงก็อาจเสียชีวิตแบบฉับพลัน สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ทำให้หัวใจวายนั้น อันที่จริงเกิดจากเส้นเลือดเสื่อมไปตามวัย และมักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง"

นอกจากนี้ปัจจัยก่อโรคที่สามารถควบคุมได้ เช่น การคุมอาหารที่ไม่มีไขมัน เพราะถ้าร่างกายอ้วนก็เท่ากับมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ง่าย เนื่องจากนี้ผู้ที่บริโภคไขมันเป็นจำนวนมาก ไขมันจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบหรือไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้เกิดโรคหัวใจและหัวใจวายเฉียบพลันได้นั่นเอง ดังนั้นการหมั่นออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน หรือโรคไขมันในเลือดสูง ก็ต้องหมั่นเฝ้าระวังและควบคุมโรคดังกล่าวให้อยู่ในภาวะปกติ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและภาวะหัวใจวายเฉียบพลันด้วยเช่นกัน และสิ่งที่ลืมไม่ได้นั้น คือการควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกาย และยืดเหยียดร่างกายอยู่สม่ำเสมอ”

แพทย์ทั่วประเทศที่มีสัญชาติไทยสามารถสมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2565-12 สิงหาคม 2565 รวมระยะเวลาเข้าโครงการ 6 เดือน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของโครงการและลงทะเบียนสมัครได้ที่ https://medpark.hospital/DoctorsHeartProject.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ! ความดันสูงกับ 'ความดันกลางคืน' สำคัญอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความดันสูงและความดันตอนกลางคืนสำคัญอย่างไร

อย่าตกใจ! ‘หมอยง’ ชี้พบโรคทางเดินหายใจมาก เป็นโรคประจำฤดูกาล จะเริ่มลดหลังเดือนก.ย.

รคทางเดินหายใจ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน จะพบมากในฤดูฝน ตั้งแต่นักเรียนเปิดเทอม ทั้งโควิด 19 ไข้หวัดใหญ่ และมาเดือนนี้เป็นฤดูกาลของ RSV

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้