อ่านหนังสือช่วยคลายเครียดช่วงโควิดระบาด

วิธีผ่อนคลายในช่วงโควิด-19 มีให้เลือกหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการอ่านหนังสือ เพราะไม่ใช่การอ่านจะช่วยเติมความรู้ แต่ทว่าช่วยให้เราสามารถปรับพฤติกรรม การดำเนินชีวิตไปในทางบวกได้ และยังช่วยทำให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆอีกด้วย โดยเฉพาะความคิดและมุมมองด้านใหม่ๆ และนั่นจึงทำให้เกิดความเพลิดเพลิน จากการหยิบหนังสือเล่มโปรดขึ้นมา เพราะการใช้เวลาอยู่กับสื่อออนไลน์มากเกินไป อาจทำให้หลายคนรู้สึกเบื่อ แต่หลายคนมักเกิดคำถามว่า นิสัยรักการอ่านนั้นจะต้องเริ่มจากจุดไหน เพราะจากผลสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 2 เล่ม และเสียเงินไปกับการซื้อหนังปีละ 260 บาท ขณะที่เพื่อนบ้านอย่าง คนเวียดนามและสิงคโปร์นั้น อ่านหนังสือคนละไม่ต่ำกว่า 40-60 เล่มต่อปี เพื่อช่วยให้แต่คนแต่ละช่วงวัยเลือกอ่านหนังสือได้ถูกต้อง และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเมื่อยามว่าง ท่ามกลางชีวิตภายใต้วิธีนิวนอร์มอล ได้อย่างมีความสุขและสุขภาพจิตที่ดี

 

งานนี้ “สุจิตร สุวภาพ” เลขานุการ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ให้ข้อมูลว่า “ หลักการเลือกอ่านหนังสือที่ดี ต้องเริ่มจากการจำแนกกลุ่มของผู้อ่าน เช่น หากเป็นวัยรุ่นวัยเรียนหนังสือที่อ่านก็จะเป็นคนละแนวกับ วัยทำงาน และวัยเกษียณ ดังนั้นขอเริ่มจากกลุ่มคนทำงานที่บ้าน หรือ “คนเวิร์คฟอร์มโฮม” ซึ่งเรารู้กันว่าคนกลุ่มต้องทำงานที่บ้าน ไม่สามารถออกไปออกกำลังกายนอกบ้านได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีคลายเครียด เพราะจะทำให้ทำงานทั้งวันก็คงไม่ดี แต่การที่จะอยู่กับมือถือมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น สายตา  หรือแม้แต่การที่คนทำงานหยิบมือถือ มาเปิดดูภาพยนต์ที่ดาวโหลดมาแอพพิเคชั่นออนไลน์ หากดูมากเกินไปก็ทำให้รู้สึกเบื่อ ดังนั้นการอ่านหนังสือจึงเป็นวิธีผ่อนคลายที่ดี เช่น การที่คนวัยทำงานหยิบหนังสือในตู้ ที่เคยอ่านแล้วกลับมาอ่านอีก ก็ทำให้เราย้อนกลับไปคิด ในสิ่งที่เราเคยอ่านเมื่อครั้งวัยหนุ่มสาวได้ ประกอบโควิด-19 นั้น ทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนไป คือทำให้เราถอยหลัง กลับไปใช้ชีวิตที่สโลว์ไลฟ์มากขึ้น และกลับไปอยู่กับธรรมชาตินั่นเอง

สิ่งที่พี่เห็นอีกอย่างหนึ่งคือการ นักเขียนหลายคนใช้เวลาว่างช่วงโควิดระบาด หยิบหนังสือเล่มเก่าในตู้ที่เคยอ่านแล้วมาอ่านอีก ซึ่งตรงนี้มันทำให้เกิดความประทับใจได้เช่นกัน เพราะตอนที่เราอ่านหนังสือนี้ เรายังเป็นวัยรุ่น ความประทับใจมันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นไปด้วยความประทับใจแบบหวือหวา ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี หรือ 10 ปี ความดื่มด่ำในอรรถรสของการอ่านหนังสือ มันจะเปลี่ยนไปทำให้รู้สึกซึ้ง ในการอ่านหนังสือเล่มเดิมมากขึ้น เพราะเรามีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตมากขึ้น พูดได้ว่าวิกฤตโควิด-19 นั้นถือเป็นสิ่งที่ดี ในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ที่ทำให้เราได้อ่านหนังสืออีกครั้ง และเมื่ออ่านแล้วก็ทำให้เกิดความประทับใจ”

.สุจิตร” บอกอีกว่า สำหรับหลักในการเลือกอ่านหนังสือที่ดีนั้น อันดับแรกอยู่ที่ความสนใจ และตั้งใจที่จะอ่านหนังสือเล่มนั้นจริงๆ เพราะความสนใจของคนแต่ละช่วงวัยนั้นต่างกัน “ เช่นหากเป็น “คนวัยเกษียณ” ความสนใจอาจอยู่ที่อาหารและงานบ้าน หรือการออกกำลังกายเบา อย่างการเล่นโยคะ หรือหนังสือที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หนังสืองานเย็บปักถักร้อย หนังสือสุขภาพ เพราะคนวัยนี้ไม่ต้องการอะไรมาก เพียงแค่มีกิจกรรมทำไม่ให้อยู่ว่างๆ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ก็มักจะเลือกอ่านหนังสือในสิ่งที่ตัวเองสนใจ แต่สิ่งสำคัญคือการที่เราจะทำอย่างไร ให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงหนังสือที่ตัวเองสนใจได้ ดังนั้นการที่นักเขียนใช้ช่องทางโซเชียล เป็นตัวแนะนำหนังสือให้กับคนกลุ่มนี้ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจ และทำให้คนวัยเกษียณเลือกหนังสือได้ตรงจริตมากขึ้น หรือแม้แต่การพิมพ์ตัวอักษรในหนังสือให้ตัวใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับสายตาคนกลุ่มนี้ หรือแม้แต่การดีไซน์หนังสือ ให้คนวัยเกษียณได้อ่านผ่านรูปภาพ ที่เป็นตัวเล่าเรื่อง ก็เป็นตัวเลือกหนึ่ง

ไล่มาถึงการเลือกหนังสือของ “กลุ่มเด็กและเยาวชน” นั้น เนื่องเด็กวัยนี้จำเป็นต้องมีคนไกด์ไลน์ในการตัดสินใจเลือกหนังสือที่ชอบสักเล่ม ไม่ว่าจะเป็นครูพ่อแม่ เพราะเด็กวัยนี้มักจะไม่มีคนคอยชี้แนะ ประกอบเด็กมักมองว่าตัวเองนั้นมีตัวตน ดังนั้นถ้าจะให้ดีต้องมีคนที่คอยชี้แนะเรื่องการอ่าน แต่สุดท้ายเด็กก็จะเป็นผู้เลือกเองว่า เขายากจะอ่านหนังสือแนวไหน เช่น ชมรมรักการอ่าน และทางสสส.ได้ทำการวิจัยและมีคณะกรรมการ ในการเลือกหนังสือน่าอ่าน 100 เล่ม ไว้ให้กับเยาวชนที่สนใจ ซึ่งสามารถเลือกอ่านตรงตามช่วงวัยของเด็กๆ ตรงนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการฝึกนิสัยการอ่านให้กับเด็กๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้