ปรับสมดุลร่างกายหลังเทศกาลเจ เลือกสิ่งดีมีประโยชน์ดูแลสุขภาพ

หมดช่วงเทศกาลกินเจ พลังใจจากการทำบุญด้วยการละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์คงช่วยเติมพลังร่างกายไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม มองข้ามไม่ได้ว่าอาหารเจมักจะมีส่วนประกอบของน้ำมันพืชและแป้งเป็นหลัก เพราะเมนูส่วนใหญ่จะเน้นทอดหรือผัด ซึ่งนั่นทำให้น้ำหนักตัวของหลายคนพุ่งขึ้นมาเล็กน้อย แม้ว่าบางคนจะหันมาปรุงอาหารเจรับประทานกันเองที่บ้าน เพราะเป็นกังวลเรื่องการออกไปร่วมเทศกาลอาหารเจที่โรงเจใกล้บ้าน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19  ดังนั้นการหันมาดูแลร่างกายหลังช่วงเทศกาลถือศีลกินผักจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ 

“มณทิพา กานต์วรัญญู” พยาบาลวิชาชีพชำนาญการจากศูนย์แพทย์โพธาราม จ.ราชบุรี ให้ข้อมูลว่า สิ่งที่ควรทำหลังจากเทศกาลกินเจผ่านพ้นไปคือ การปรับสมดุลให้ร่างกายกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติเหมือนกับชีวิตประจำวันทั่วไป โดยช่วง 1-2 วัน หลังเทศกาลกินเจผ่านไป ให้ค่อยๆ ปรับโดยหันมากินเนื้อสัตว์ที่ความนุ่มอ่อน สามารถช่วยย่อยได้ดี และมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

“หากเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีน ได้แก่ เนื้อไก่ ตับหมู เนื้อปลา เต้าหู้ไข่ เนื่องจากในช่วงกินเจนั้นเราจะได้รับประโยชน์จากอาหารเจที่เน้นโปรตีนจากพืชเป็นหลัก แต่โปรตีนในเนื้อสัตว์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญดี ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย อีกทั้งเป็นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ได้ให้พลังงานมากเกินไป และหากต้องรับประทานแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตนั้น ก็แนะนำให้กินข้าวกล้องเป็นหลักก็จะดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ก็ให้รับประทานผักตามฤดูกาล ก็จะช่วยลดการนำสารพิษเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน ที่สำคัญให้เน้นปรุงอาหารด้วยการต้ม นึ่ง ตุ๋น เพื่อลดปริมาณไขมันในร่างกายลง 

 ทั้งนี้ การออกกำลังกายก็เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงหลังกินเจ แต่เน้นว่าควรเป็นการออกกำลังกายอยู่ที่บ้าน เพราะการไปออกกำลังกายนอกบ้านในขณะที่เราต้องสวมหน้ากากอนามัยก็จะทำให้หายใจไม่สะดวก ดังนั้นการออกกำลังกายในบ้านจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด

ส่วนการดูแลสุขภาพในช่วงหลังกินเจ ที่ช่วงนี้มีกระแสข่าวเรื่องพายุที่กำลังจะเข้าบ้านเรา ซึ่งอาจส่งผลให้หลายพื้นที่มีฝนตกนั้น ก็แนะนำว่าให้ทุกคนหมั่นอัปเดตข่าวสาร และก่อนออกจากบ้านในช่วงนี้ให้เตรียมร่มหรือเสื้อกันฝนพกติดกระเป๋าสม่ำเสมอ รวมถึงยาแก้ปวด ยาลดไข้ และยาแก้หวัด รวมถึงหน้ากากอนามัยสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างสมดุลให้ร่างกายและป้องกันโรคภัยที่อาจตามมาหลังจากนี้ ที่สำคัญก็ต้องใช้ชีวิตด้วยวิถีนิวนอร์มอลควบคู่กันไปเช่นเดียวกัน”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ! ความดันสูงกับ 'ความดันกลางคืน' สำคัญอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความดันสูงและความดันตอนกลางคืนสำคัญอย่างไร

อย่าตกใจ! ‘หมอยง’ ชี้พบโรคทางเดินหายใจมาก เป็นโรคประจำฤดูกาล จะเริ่มลดหลังเดือนก.ย.

รคทางเดินหายใจ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน จะพบมากในฤดูฝน ตั้งแต่นักเรียนเปิดเทอม ทั้งโควิด 19 ไข้หวัดใหญ่ และมาเดือนนี้เป็นฤดูกาลของ RSV

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้