20 ปี สสส...ประกาศปฏิญญาสร้างสุข ชูยุทธศาสตร์ไตรพลังขับเคลื่อนสังคม

สสส.ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ส่องแสงความสุขที่ยั่งยืนทั่วไทย ด้วยการจัดงาน 20 ปี สสส. 20 ปี BIG CHANGE ภารกิจสร้างสังคมสุขภาวะ สานพลังภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพทั่วประเทศ และประกาศปฏิญญาสร้างสุข “ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ถือเป็นการตอกย้ำความเป็นองค์กรต้นแบบในการสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 1 เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “20 ปีภาคีสร้างสุข : นวัตกรรมความสุขที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีของ สสส. ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พ.ย. เพื่อสานพลังภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อม นำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืนในทศวรรษถัดไป ในรูปแบบไฮบริดที่ผสมผสานการประชุมในสถานที่จริง และรูปแบบออนไลน์ สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยบริหารจัดการตามมาตรการของภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy Meeting)

ภายในงานมีการเสนอทิศทางและเป้าหมายในระยะ 10 ปีของ สสส. และประกาศปฏิญญาสร้างเสริมสุขภาวะ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีเครือข่าย และภาคียุทธศาสตร์ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ กระทรวง กรมต่างๆ รวมผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 2,000 คน

ดร.สาธิตกล่าวชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ สสส.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะมาตลอดระยะเวลา 20 ปี ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในการผนึกกำลังภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ผสานความร่วมมือวางแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในอนาคต เพื่อให้สังคมไทยมีความเข้าใจ เห็นความสำคัญและคุณค่าของงานขับเคลื่อนการสร้างสังคมสุขภาวะร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ในโอกาสนี้ยังได้ให้นโยบายว่า  ก้าวสู่ศตวรรษที่ 3 การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในระยะต่อไปของสสส. ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยให้ยกระดับการทำงาน ลดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ หาต้นเหตุของปัญหา คิดใหม่ ทำใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เริ่มจากต้นทุนเครือข่ายที่มี พัฒนาศักยภาพของคน ขยายผล ขยายประโยชน์ สู่สังคมวงกว้าง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสุขภาวะ ทำงานบูรณาการ สานพลังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น วิชาการ ภาคประชาชน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ร่วมกับภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในและนอกระบบสุขภาพมากกว่า 20,000 ภาคี เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทย ลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และส่งเสริมการมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนโดยใช้ยุทธศาสตร์ “ไตรพลัง ขับเคลื่อนสังคม”

ตลอดระยะ 20 ปี สสส.สร้างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ (Big Changes) ในประเด็นสุขภาพ อย่างน้อย 20 การเปลี่ยนแปลง ในทศวรรษหน้า สสส. และภาคีเครือข่าย ยังมุ่งเน้นการทำงานสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวะปัญหาหรือสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รับมือโจทย์ใหม่ๆ ที่มีความท้าทาย เน้นสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเอง และลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศ

 “การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิตสังคมสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่เป็นการแก้ไขภาพรวมของสังคม สร้างแนวร่วมเพิ่มมากขึ้น กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน ด้วย DNA รักษาพันธกิจ ทิศทางชัดเจน เมื่อโลกหมุนทุกส่วนของสังคมต้องปรับตัวในการใช้เทคโนโลยี เราได้รับรู้ข่าวสารสุขภาพ เมื่อ 10 ปีก่อนใช้สื่อสารมวลชนในรูปแบบหนึ่ง 10 ปีต่อมาใช้ Social Media ต่อไปการส่งสารผ่าน AI ควบคู่กับ How to ใช้องค์ความรู้เข้าไปเชื่อมต่อ Quick Data มีชุดความรู้เฉพาะตัว Personal Health สารสุขภาพเฉพาะตัวบุคคลด้วยรูปแบบใหม่ Health app ทำให้ชีวิตในวันข้างหน้าเป็นความท้าทายมากยิ่งขึ้นด้วย วางเป้าหมายการควบคุมสุรา สิ่งเสพติด การรับประทานอาหารมีประโยชน์ การสร้างสุขภาวะ กิจกรรมทางกาย มีสุขภาพจิตที่ดี แก้ไขปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อม เป็นโจทย์ใหม่” ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าว และเปิดเผยอีกว่า

เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น ปัญหาและโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น ก่อนที่จะเกิดโรคอุบัติใหม่โควิด-19 เราเฝ้าระวังปัญหา 7ด้าน+1 สังคมไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาพ คนตัวเล็กด้อยโอกาส เราจะต้องช่วยกันปลดห่วงโซ่พันธนาการ อะไรที่เป็นตัวกำหนดด้านสุขภาพ วิถีชีวิต พฤติกรรม สังคมสิ่งแวดล้อม อะไรคือปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ ด้วยระบบบริการ ศักยภาพชุมชน ทักษะความรู้เท่าทันที่แตกต่างในตัวปัจจัยเสี่ยงแต่ละช่วงเวลา การขับเคลื่อนปัจจัย เราสร้างตัวช่วย Digital Life E Project E Finance E Learning เพื่อสื่อสารสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ การบริโภคอาหารของคนไทย การนำ Social Media คัดสรรการสื่อสารเข้าเครือข่ายสังคมได้ด้วยตัวเอง ทุกวันนี้เราขาดพื้นที่กลางในการดูรายการเดียวกัน ทุกคนต่างมีพื้นที่ดูทีวีส่วนตัว มี Fake News มากขึ้น มีการ Bully กลายเป็น Cyber Bullying มากยิ่งขึ้น ความเหลื่อมล้ำไม่ได้มาจากการศึกษา สถานะ แต่การเข้าถึง digital ที่แตกต่างกัน  การรับสวัสดิการของรัฐที่แตกต่างกันเป็นตัวตัดสินความเหลื่อมล้ำทางสังคม

"งานของ สสส. บำบัดทุกข์ แก้ไขปัญหาฉุกเฉิน การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม ทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือเลวลง เราต้องทำงานในเชิงรุก วิเคราะห์ปัญหา รวบรวมนวัตกรรมสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม วิถีชีวิต สภาพแวดล้อมจากต้นน้ำเพื่อสื่อสารให้สังคมไทยเข้าใจบทบาทการดำเนินงาน พร้อมกับประกาศทิศทางและเป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ.2565-2574) เพื่อเป็นเข็มทิศในการทำงาน สสส.เชื่อมั่นว่าเราได้ร่วมกันสร้างโลกที่ดีกว่าให้กับลูกหลาน มีวิถีชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม มีสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนต่อไป" ดร.สุปรีดากล่าวสรุป

ภายในงานยังมีการจัด “กิจกรรม Active Learning” ผ่านนิทรรศการ 20 ปีภาคีสร้างสุข ทั้งในสถานที่จริงและในรูปแบบนิทรรศการเสมือนจริง แสดงผลงานนวัตกรรมสุขภาพ อาทิ โต๊ะประชุมยืน ช้อนปรุงลด เครื่องวัดความเค็ม Salt Meter เสาหลักนำทางจากยางพารา ฯลฯ ผลงานที่จดสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์  อาทิ อุปกรณ์รองนั่งสำหรับขับถ่าย ผลิตภัณฑ์ลูกอมสมุนไพรหญ้าหมอน้อย ที่มีสรรพคุณช่วยลดการสูบบุหรี่ ผลงานโชว์เคส 16 บูธ อาทิ ฉลากทางเลือกสุขภาพ กิจกรรมเล่นตามวัย โดยประชาชนสามารถมีส่วนร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีด้วยกัน และติดตามรับชมผ่านทางเว็บไซต์ https://20th.thaihealth.or.th และ Facebook LIVE : สสส.

 

 

ปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ

ประเทศไทยน่าอยู่..ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3

นายสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา เป็นตัวแทนภาคีสร้างเสริมสุขภาวะจากทุกภาคส่วน กล่าวปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ ประกาศเจตนารมณ์ ‘ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี โดยมิได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ 10 ข้อ ดังนี้

 1.มุ่งสู่การบรรลุทิศทางและเป้าหมายทศวรรษที่ 3 (พ.ศ.2565-2574) โดยขจัดปัจจัยเสี่ยงหลักและพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ

2.ขยายและผนึกแนวร่วมเพื่อสร้างกลไก ขยายโอกาส สร้างความเป็นธรรมในสังคม

3.พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสังคมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ

4.ขยายภาคีสร้างเสริมสุขภาวะที่มีความหลากหลายและครอบคลุมพัฒนาศักยภาพ เปิดพื้นที่ทางความคิดและทางกายภาพในการทำงานร่วมกันมากขึ้น

 5.ร่วมสานพลังสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

6.สร้างเสริมสุขภาวะสำหรับทุกช่วงวัย

7.ร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้คนในสังคมไทยใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตสุขภาวะ

8.มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและความเป็นพลเมืองของเด็กและเยาวชน

9.มุ่งสานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการรองรับสังคมสูงวัย

10.ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนพร้อมที่จะดูแล ร่วมมือ และปกป้องสสส. ให้เป็นองค์กรของสังคมที่มั่นคง บริหารงานโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาล ปราศจากการแทรกแซง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น