สสส.ผลักดันตั้งศูนย์วิชาการ ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ

เผยคนไทย 38 ล้านคนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจากฝุ่นพิษเกินมาตรฐาน ต้นเหตุป่วยพุ่ง! 7 ล้านคน/ปี โรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง-ปอดอุดกั้นเรื้อรัง-มะเร็งปอด WHO ชี้เป้ามลพิษทางอากาศภัยคุกคามสุขภาพที่แก้ไขได้ เสนอเกณฑ์คุณภาพอากาศใหม่ ปกป้องชีวิตคนไทย 1.7 แสนราย/ปี สสส.หนุนงานวิชาการ มุ่งปรับแก้มาตรฐานคุณภาพอากาศตรงจุดเพื่อรับมือปัญหาฝุ่นควันพิษทั่วโลก

ระยะเวลา 6-7 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญปัญหาฝุ่น PM 2.5 อันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือของเมืองไทย การเพิ่มจำนวนของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท ตลอดจนไอเสียจากยานพาหนะ อีกทั้งการเผาขยะในที่สาธารณะ ซึ่งถือว่าปริมาณสูงเกินมาตรฐานและส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฟอร์มัลดีไฮด์คาร์บอนมอนอกไซด์ ไดออกซิน (สารก่อมะเร็ง) สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC)

ดร.อุมา ราชรัฐนาม ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวในงานประชุมออนไลน์หัวข้อ “ประเทศไทยไปทางไหน ต่อเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่ของ WHO” ว่า มลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ที่สะสมมาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี ถือเป็นภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก

ในเดือนตุลาคม ปี 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดทำเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศฉบับใหม่ในรอบ 15 ปี ให้ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อปี 2548 โดยระบุระดับคุณภาพอากาศสำหรับฝุ่น PM 2.5 ให้มีค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากเดิมที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากเดิม 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กำหนดเป็นค่ามาตรฐานเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับกำหนดเป้าหมายทางนโยบาย รวมถึงเป็นเครื่องมือในการออกแบบมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ และปกป้องสุขภาพของประชาชน

WHO เปิดเผยตัวเลขมลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนบนโลกใบนี้ 7 ล้านคนในแต่ละปี เป็นที่น่าสังเกตว่าประชากรเกือบทั่วโลกจำนวน 99% หายใจอากาศที่มีมลพิษที่มีค่าเกินกว่ามาตรฐานที่ WHO กำหนดไว้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ คนที่ได้รับมลพิษทางอากาศย่อมมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บเสียชีวิต 4.2 ล้านคน/ปี เป็นโรคอัมพฤกษ์ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากพฤติกรรมเสี่ยงมีการสูบบุหรี่เป็นจำนวนมาก

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศต้นเหตุสำคัญในการกระตุ้นให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งคิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตจากทั้งหมดของประเทศ สอดคล้องกับในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 73 ปี 2561 ประกาศที่ให้มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยความเสี่ยง 1 ใน 5 ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีกิจกรรมทางกาย สสส.ตระหนักถึงผลกระทบจากฝุ่นPM 2.5 ที่เกิดขึ้น จึงมุ่งขับเคลื่อนการทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบาย เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

ดร.สุปรีดากล่าวว่า สสส.เน้นขยายผลจากระดับปัจเจก หรือระดับพื้นที่ นำไปสู่การผลักดันนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ผ่านมา สสส.ร่วมกับสภาลมหายใจ 8 จังหวัดภาคเหนือ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับภูมิภาค เช่น ลดการเผาภาคเกษตร จัดทำแนวกันไฟชุมชน พร้อมจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อพัฒนางานวิชาการที่ตอบโจทย์บริบทของสังคม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานแต่ละพื้นที่ มุ่งผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในสังคม ลดปัญหามลพิษอากาศที่ส่งผลกระทบสุขภาพคนในประเทศ

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คนไทย 38 ล้านคน อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งในจำนวนนี้ 15 ล้านคน เป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบรุนแรง ทั้งเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคทางเดินหายใจ ในปี 2560-2563 พบคนไทยป่วยจากโรคที่เกิดจากการกระตุ้นของมลพิษอากาศ 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมะเร็งปอด เมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีมูลค่าสูงเกือบ 200,000 บาทต่อรายต่อเดือน ซึ่งหากคุณภาพอากาศดีขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มของค่าใช้จ่ายทางสุขภาพลดลงตามไปด้วย

รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า ผลประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากการควบคุมมลพิษทางอากาศในประเทศไทย เมื่อทำการเปรียบเทียบค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศตามเกณฑ์แนะนำของ WHO ระหว่างค่ามาตรฐานเดิมในปี 2548 กับค่ามาตรฐานใหม่ปี 2564 พบว่า หากประเทศไทยใช้เกณฑ์แนะนำเดิมที่ค่าเฉลี่ยรายปี 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 110,000 รายต่อปี คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ด้านสุขภาพ 3.75 ล้านล้านบาทต่อปี และหากใช้เกณฑ์แนะนำปี 2564 ที่ค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ถึง 170,000 รายต่อปี คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ด้านสุขภาพถึง 5.82 ล้านล้านบาทต่อปี.

 

 

ต้นไม้ฟอกอากาศดูดสารพิษ

องค์การ NASA(National Aeronautics and Space  Adinistration) ได้ศึกษาค้นคว้าพบว่า พืชบางชนิดกรองมลพิษได้ ทั้งนี้ "ต้นไม้ฟอกอากาศ" มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ช่วยสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ขึ้นด้วยกระบวนการตรึงสารพิษ เป็นวัฏจักรของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าต้นไม้ทุกต้นสามารถดูดซับสารเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด

ต้นไม้ฟอกอากาศบางต้นชอบแสงแดด ดูดซึมผ่านใบ ระบบรากหลัก รากอากาศ ต้นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศได้เป็นอย่างดี อาทิ ลิ้นมังกร จะคายออกซิเจนในตอนกลางคืน ช่วยให้อากาศสดชื่น ทำให้เรานอนหลับสบาย,  ดอกเบญจมาศ ช่วยดูดซับสารพิษรวมถึงกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์, ต้นเดหลี ช่วยกรองสารพิษโดยเฉพาะน้ำมันเบนซินซึ่งทำลายระบบประสาทของคนเรา มีดอกสีขาวสวยงามคล้ายดอกหน้าวัว, ต้นยางอินเดีย เป็นต้นไม้ที่ให้ออกซิเจนสูง มีสารจากต้นที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน สารพิษที่ต้นยางอินเดียดูดซับไปใช้กับการเติบโตคือฟอร์มัลดีไฮด์ 

ต้นเขียวหมื่นปี สารพิษที่ต้นเขียวหมื่นปีดูดซับได้เบนซิน ฟอร์มัลดีไฮด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไตรคลอโรเอทีลีน, ต้นเศรษฐีเรือนใน เป็นต้นไม้ฟอกอากาศซึ่งเป็นที่นิยมทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นไม้มงคล,  ต้นพลูด่าง เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่ายในบ้าน ในพื้นที่ร่ม โตได้จากแสงธรรมชาติและแสงจากหลอดไฟฟ้า, ต้นไทรย้อยใบแหลม ปาล์มใบไผ่ ใช้ตกแต่งในห้องน้ำ, ต้นปาล์มหมาก เป็นต้นไม้ที่ดูดสารพิษและยังปล่อยความชื้นได้ตามธรรมชาติ 

ต้นเฟิร์นบอสตัน ต้นเฟิร์นดาบออสเตรเลีย เติบโตได้ดีในแสงแดดรำไร กล้วยไม้หวาย เหมาะสมสำหรับการปลูกรอบๆ รั้วบ้านเพื่อสร้างอากาศที่ดีรอบบ้าน ต้นฟิโลใบหัวใจ ต้นคล้ายๆ กับพลูด่าง ฟิโลหูช้าง ต้นว่านหางจระเข้ ต้นเข็มริมแดง ควรอยู่ในที่แสงแดดจัดๆ ต้นตีนตุ๊กแกฝรั่ง ต้นจั๋งญี่ปุ่น ต้นวาสนาราชินี ต้นหน้าวัว  ต้นกุหลาบหิน ไม้อวบน้ำปลูกได้ง่ายในทุกสภาพอากาศ  ต้นโกสน ชอบแสงแดดจัด ต้นคริสต์มาส ต้นเงินไหลมา ต้นปาล์มสิบสองปันนา ต้นหนุมานประสานกาย ต้นสาวน้อยประแป้ง ต้นมอนสเตอร่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต