เผยโควิด-19 ส่งผลคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตพุ่ง 10 ชม./วัน เกือบ 50% มีพฤติกรรมค้นข้อมูลสุขภาพเพื่อดูแลตัวเอง สสส.-สปสช. ผุดระบบ “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ” จัดส่งข้อมูลแต่ละบุคคล เสมือนมียาสามัญประจำบ้าน พลังเสริมด้านบวก คลังข้อมูลสุขภาพบนแอปฯ รวมชุดความรู้กว่า 10,000 ชิ้น เน้นเอื้อประชาชนเข้าถึงสื่อสุขภาวะ ตรงความต้องการ ได้ตลอด 24 ชม.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดงาน “TALK & SHARE : เปิดตัวความร่วมมือ Persona Health คัดข้อมูลสุขภาพที่ใช่ ให้ตรงกับตัวคุณ” เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล การดูแลสุขภาพตัวเองไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ เพียงแต่รอบรู้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะ Persona Health ชุดความรู้ชุดเครื่องมือผ่านการ app มองเห็นบาร์โค้ด มีไฟเขียวสะท้อนให้เห็นอาหารหวาน มัน เค็ม
"สสส.สะสมองค์ความรู้เรื่องสุขภาพมาแล้ว 20 ปี มีข้อมูลที่พิมพ์เป็นกระดาษเป็นพันชิ้น ข้อมูลเหล่านี้จัดเก็บในโลกดิจิทัลเป็นหมวดหมู่ ขอเชิญชวนทุกคนสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจำเพาะที่จัดลำดับเชื่อมโยงข้อมูลเชื่อมโยงกับข้อมูล สป.สช. เชื่อมเข้าหากัน ด้วยการใช้ AI ในระบบคัดกรอง มีช่องเฉพาะใส่ข้อมูลตั้งต้นที่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ถึงวัยสูงอายุควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็ง โรคเบาหวาน อนาคตจะขยายไปถึงครอบครัว ทั้งนี้ ในอนาคตจะเชื่อมโยง app เป๋าตัง 40ล้านคน"
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันตัวเอง ประกอบกับช่วงเวลาที่จำกัดการเดินทางเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ทำให้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก ทั้งการทำงาน การเรียนการสอน รวมถึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
จากข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย เมื่อเดือนกันยายน 2564 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตถึง 6-10 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อทำงาน ร้อยละ 75.2, เพื่อการศึกษา ร้อยละ 71.1 ที่สำคัญยังพบคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อรับบริการข้อมูลสุขภาพถึงร้อยละ 48.6 ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมกลไกที่ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ด้วยรูปแบบและช่องทางที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการของประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นโดยเร็วที่สุด
ดร.สุปรีดากล่าวอีกว่า สสส.พัฒนาระบบสารสนเทศ “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ” ถือเป็นระบบคลังข้อมูลสุขภาพเฉพาะบุคคลที่มีการรวบรวมชุดความรู้ คู่มือ และสื่อรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของ สสส.และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ กว่า 10,000 ชิ้น โดยมีการนำมาจัดกลุ่มให้เหมาะสมกับข้อมูลด้านสุขภาพแต่ละบุคคล เช่น จัดกลุ่มเพศ อายุ ประเด็นสุขภาพ โรคประจำตัว การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพทำให้คนรักษาสุขภาพ เรามีภัยคุกคามใหม่ๆ ตลอดเวลา โควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เราต้องดูแลป้องกันตัวเอง คู่มือการฉีดวัคซีนที่สสส.ทำไว้ให้ดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 7ล้านคน สื่อเฉพาะคุณ Persona Health เป็นชุดความรู้ต่างๆ เพิ่มขั้นตอนโจทย์ใหม่ๆ ตามให้ทันมากยิ่งขึ้น ขณะนี้มีผู้ใช้บัตรทอง 50 ล้านคน มีฐานสมาชิกเข้าถึงขยายให้กว้างขวางมากที่สุด
ปัจจุบัน สสส.ได้ร่วมมือกับ สปสช. นำคลังข้อมูลจากระบบสารสนเทศ “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ” มาเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันของ สปสช. โดยมีรูปแบบเป็นปุ่มฟังก์ชันที่อยู่บนแอปพลิเคชัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งต่อข้อมูลและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลสุขภาพ และเป็นกลไกสำคัญสู่การดูแลตัวเองในยุคดิจิทัล ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน นอกเหนือจากนี้ สสส.ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขยายฐานประชาชนผู้รับประโยชน์ผ่านแอปพลิเคชัน อสด. ที่มีผู้เข้าใช้บริการกว่า 80,000 คนด้วยเช่นกัน
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า แอปพลิเคชัน “สปสช.” นำใช้ในการสื่อสารกับประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง กว่า 48 ล้านคน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลและสิทธิต่างๆ ทั้งนี้ การร่วมมือกับ สสส.ครั้งนี้ถือเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้ข้อมูลที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ ส่งต่อข้อมูลในการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน ช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความตระหนักและความรอบรู้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวได้
“Persona Health สื่อเฉพาะคุณ มีจุดเด่นคือ การจับคู่ประวัติส่วนบุคคล (Matching Personal Profile) กับข้อมูลการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ที่จะช่วยให้ประชาชนตระหนักรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองในเบื้องต้น เพียงคุณเข้าใช้งาน Persona Health สื่อเฉพาะคุณ ผ่านแอปพลิเคชัน “สปสช.” ก็เปรียบเหมือนการพกพาเครื่องมือดูแลสุขภาพติดตัวไปด้วยทุกแห่ง ซึ่งจะอยู่ในโทรศัพท์มือถือของทุกคน สามารถค้นหาข้อมูลสุขภาพได้ทุกที่ ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัวมากขึ้น” นพ.จเด็จกล่าว ทั้งนี้หน่วยงานที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ศูนย์บริการข้อมูล สสส. https://resourcecenter.thaihealth.or.th
“สปสช.และ สสส.มีความคิดตรงกันทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี จึงจับมือกันทำ Persona Health สปสช.จัดงบประมาณให้ประชาชนดูแลสุขภาพก่อนป่วย คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป สปสช.มีชุดตรวจเช็กเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมัน การปรับพฤติกรรม มีการเชื่อมโยงกับ สสส. แนะนำการปฏิบัติตัวช่วยส่งเสริมในการดูแลสุขภาพตัวเอง สสส.มีชุดความรู้ สปสช.1330 มีบริการนำสองสิ่งนี้มาใช้เทคโนโลยีเป็นพลังเสริมในการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น
เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การจัดทำ Thai Health Watch ส่งผลให้ทราบถึง Trend สุขภาพคนไทยเปลี่ยนแปลงไป คนในสังคมไทยพูดคุยกันบนโลกออนไลน์เรื่องสุขภาพอย่างไรกันบ้าง เพื่อ สสส.มีแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพ สถานการณ์โควิด-19ระบาดเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนการใช้ชีวิตเป็น New Normal คนอยู่บ้านทำงานที่บ้านส่งผลต่อพฤติกรรมเนือยนิ่ง บางคนทำงานต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง ประชุมเช้า-เย็นไม่ได้มีเวลาออกกำลังกาย เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันเวลาทำงาน การนั่งอยู่กับที่ โอกาสที่จะเกิดโรค NCDs สูงขึ้น เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เมื่อ 5-10 ปีก่อนคนไทยไม่สนใจการออกกำลังกาย
“เราเห็นข่าว Fake News ด้านสุขภาพทุกวันเป็นสิบๆ ข่าว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องนี้ sure ก่อนที่จะ share ด้วยเหตุนี้ สสส.เกิดพันธมิตรโคแฟค เรามี www. เป็นช่องทางจะเช็กข่าวที่ถูกต้อง เราต้องหาข้อมูลให้รอบด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อน การค้นหาข้อมูลมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ สสส.มีข้อมูลหลากหลายในการพัฒนา contents คิดวิเคราะห์ก่อนการตัดสินใจ ช่องทาง ID Line Socital online www. Facebook เข้าถึงได้หลายช่องทางเพื่อจะเป็นฐานข้อมูล” เบญจมาภรณ์กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน