สสส.สานฝันไกล..ไปให้ถึง ฟ้าใสไร้หมอกควันทั่วไทย

"สิทธิในการหายใจอากาศบริสุทธิ์ ต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ"

องค์การอนามัยโลก(WHO)ประมาณการว่ามีคนทั่วโลกจำนวน7ล้านคน/ปีต้องเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจากมลพิษทางอากาศทั้งIndoor Air Pollution และ Outdoor Air Pollution

ปี2559 มีผู้เสียชีวิตจากOutdoor Air Pollution 4.2ล้านคน ด้วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือด58% โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง18% โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง18% โรคมะเร็งปอด6%  ในขณะที่เสียชีวิตจากIndoor Air Pollution 3.8ล้านคนด้วยโรคปอดอักเสบ27% โรคหัวใจขาดเลือด27%โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 20% โรคหลอดเลือดสมอง18%โรคมะเร็งปอด8%

ทั้งนี้WHOออกเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับคุณภาพอากาศฝุ่นPM2.5ค่าเฉลี่ยราย24ชม.15ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

เป็นสิ่งที่บ่งชี้แล้วว่า ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5ไมครอนหรือPM/2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญระดับโลก  และเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรต้องใส่ใจ ร่วมมือกันป้องกันและแก้ไข

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวในพิธีเปิด “ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ” และเสวนาเรียนรู้“วิถีสุขภาวะกับสิ่งแวดล้อม” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย2564เมื่อวันที่3ธันวาคม2564 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสสส.ว่าสสส.ตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรไทย จึงมุ่งยกระดับความสำคัญของการดำเนินงานลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมให้เป็น1ใน7เรื่องที่กำหนดไว้ในทิศทางและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระยะ10ปี(พ.ศ.2565-2574) ผ่านการขับเคลื่อนทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

“WHOประกาศให้มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยง1ใน5ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่มีกิจกรรมทางกาย ที่ส่งผลให้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคNCDsที่ไม่มีเชื้อโรค คนไทยตายด้วยโรคโควิด-19จำนวน2หมื่นคน คนไทยตายด้วยโรคมะเร็งปีละ7หมื่นคน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานด้วยการให้ความรู้กับคนไทยอย่างทั่วถึง”ดร.สุปรีดากล่าว

สสส.จึงได้จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาควิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการที่ตอบโจทย์บริบทของสังคม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานเชิงพื้นที่ โดยมีแนวทางการทำงานที่สำคัญ4ด้านดังนี้ 1.สร้างความรู้ ความเข้าใจในการปกป้องสุขภาวะ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม 2.พัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนชุมชน องค์กร และเครือข่าย เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 3.พัฒนาระบบบริการและสนับสนุนเครื่องมือป้องกันสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม4.พัฒนามาตรการนโยบายสาธารณะและกฎหมายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้ข้อมูลทางวิชากามียุทธศาสตร์การแก้ไขกม.ในระดับชาติ การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวในพิธีเปิด “ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ” และเสวนาเรียนรู้“วิถีสุขภาวะกับสิ่งแวดล้อม” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย2564เมื่อวันที่3ธันวาคม2564 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสสส.ว่าสสส.ตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรไทย จึงมุ่งยกระดับความสำคัญของการดำเนินงานลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมให้เป็น1ใน7เรื่องที่กำหนดไว้ในทิศทางและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระยะ10ปี(พ.ศ.2565-2574) ผ่านการขับเคลื่อนทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

“WHOประกาศให้มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยง1ใน5ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่มีกิจกรรมทางกาย ที่ส่งผลให้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคNCDsที่ไม่มีเชื้อโรค คนไทยตายด้วยโรคโควิด-19จำนวน2หมื่นคน คนไทยตายด้วยโรคมะเร็งปีละ7หมื่นคน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานด้วยการให้ความรู้กับคนไทยอย่างทั่วถึง”ดร.สุปรีดากล่าว

สสส.จึงได้จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาควิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการที่ตอบโจทย์บริบทของสังคม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานเชิงพื้นที่ โดยมีแนวทางการทำงานที่สำคัญ4ด้านดังนี้ 1.สร้างความรู้ ความเข้าใจในการปกป้องสุขภาวะ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม 2.พัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนชุมชน องค์กร และเครือข่าย เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 3.พัฒนาระบบบริการและสนับสนุนเครื่องมือป้องกันสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม4.พัฒนามาตรการนโยบายสาธารณะและกฎหมายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้ข้อมูลทางวิชากามียุทธศาสตร์การแก้ไขกม.ในระดับชาติ การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์

นายพันศักดิ์ ถิรมงคล  ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควคุมมลพิษ กล่าวถึงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง เพื่อลดฝุ่นละอองจากการเผาและผลกระทบต่อสุขภาวะ ในการเสวนาเรื่องฝุ่นPM2.5กับผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และบทบาทของภาคประชาสังคมและภาครัฐ การแก้ไขปัญหาฝุ่นPM/2.5ว่ามีการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี2563-2567 และเมื่อวันที่8ธ.ค.2564 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีก็ได้มอบให้กระทรวงทรัพยากรฯบริหารจัดการเชื้อเพลิงครบวงจร ในเรื่องปัญหาการเผา ที่เป็นต้นเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง การบริหารจัดการapp เพื่อควบคุมลดฝุ่นละอองจากการเผา

กรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ขั้นตอนการทำต้องใช้appเทคโนโลยีการทำงานคนเดียวไม่สำเร็จจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน กรมควบคุมมลพิษ  จิสด้าฯลฯ โดยมีหน่วยงานสสส.เป็นผู้สนับสนุนเงินทุน  กระทรวงมหาดไทยจะต้องนำไปปฏิบัตินำเครื่องมือไปบริหารจัดการในพื้นที่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ค้นคิดนำเทคโนโลยีมาapply สนับสนุน ทุกวันนี้การเผาในพื้นที่โล่งทำกันในภาคกลาง ภาคอีสาน ในพื้นที่ป่าภาคการเกษตรครึ่งต่อครึ่ง  กระทรวงเกษตรฯจะต้องนำappให้เกษตรกรนำไปใช้ กระทรวงทรัพยากรฯ ดำเนินการในพื้นที่ป่าและนอกพื้นที่ป่า การจัดการโดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อให้เมืองไทยไร้หมอกควัน

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. เน้นขยายผลจากระดับปัจเจกหรือระดับพื้นที่ นำไปสู่การผลักดันนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5ที่ผ่านมา สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในโรงเรียนภาคเหนือ3แห่ง มุ่งสร้างความตระหนักและป้องกันปัญหา PM 2.5 ในกลุ่มเด็กและเยาวชน เชื่อมโยงไปสู่ครอบครัวและคนในชุมชน รวมถึงสนับสนุนให้เกิดสภาลมหายใจ8จังหวัดภาคเหนือ ขับเคลื่อนงานแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5ในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับภูมิภาค เช่น ลดการเผาภาคเกษตร จัดทำแนวกันไฟชุมชน การจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ(ศวอ.)ถือเป็นการรวมนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมสื่อสารชี้นำสังคม และสนับสนุนมาตรการ นโยบาย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างตรงจุด

ภายในงานมีการจัดบูธแสดงเส้นทางการRecycle ของสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์ฯ ลดการใช้พลาสติกเพราะมีปัญหาการย่อยสลายใช้เวลา100ปี ควรหันมาใช้แก้วกระดาษที่ย่อยสลายได้ง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นำไปเพาะชำต้นไม้แล้วย่อยสลายในดินแทนการใช้ถุงดำ การใช้แก้วZero Waste กระติกน้ำส่วนตัว ได้นำถ้วยพลาสติกPet Pet3 Pet5มาสาธิตว่าในรั้วจุฬาฯจะนำถ้วยพลาสติกจากอเมซอนคาเฟ่  อินทนิลฯลฯ   นำไปย่อยสลายเป็นพลาสติกใช้แล้วย่อยเป็นพลาสติกชนิดอื่นที่โรงปูนซีเมนต์ตรานกอินทรีย์ สระบุรีมีบูธโครงการนวัตกรรมเตามะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วรักษ์โลก ชาวสวนมะพร้าวบ้านแพ้วนำมะพร้าวอ่อนสดแปรรูปด้วยการเผาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การก่อไฟเผาในที่โล่งแจ้งขายริมทางสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอาจะเกิดอันตรายได้ จึงใช้นวัตกรรมเตามะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วรักษ์โลกไร้ควัน ลดเชื้อเพลิงได้ความร้อนเต็มที่ ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

'จุลพันธ์' ยันไม่ให้เงิน 'กรมบัญชีกลาง 'เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 พร้อมหนุนเต็มที่

'จุลพันธ์' ยัน จะไม่ให้เงินของ กรมบัญชีกลาง เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 ย้ำ รัฐบาล' ให้ความสำคัญ คือการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ บอก ไม่ต้องกังวลเรื่องงบขาดพร้อมสนับสนุนเต็มที่

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)