สสส.จับมือมูลนิธิเด็กฯเป็นลมใต้ปีกพยุงผีเสื้อโบยบินใหม่

สสส.มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว เปิดตัวหนังสือ“ผีเสื้อขยับปีก” เป็นอุทาหรณ์ร่วมกันต่อสู้เพื่อผดุงความยุติธรรม Stronger Together สะท้อนคดีล่วงละเมิดทางเพศ เหยื่ออับอายสังคม  ไม่กล้าร้องขอความยุติธรรม พบเกิดคดีเฉลี่ย14ราย/วัน ชงออกกฎหมายคุ้มครองเฉพาะ เสริมพลังใจสร้างความเข้มแข็งให้ผู้เสียหาย  สสส.หนุนผลักดันหลายองค์กรช่วยกันถอดบทเรียนคดีล่วงละเมิด  ต้องยืนหยัดต่อสู้ไม่ยอมจำนนต่อปัญหา พัฒนาองค์ความรู้  เพื่อผู้ถูกกระทำมีสุขภาวะยั่งยืน

มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เปิดตัว  “หนังสือผีเสื้อขยับปีก”เมื่อวันที่4พฤศจิกายน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อบอกเล่าความรุนแรงในเด็กและครอบครัว หลายคดีเด็กเลือกที่จะเงียบและกลบเรื่องราว ติดคุกแห่งความรู้สึกทุกข์ เปิดช่องผู้ทำผิดย่ามใจ ทำซ้ำๆกับเหยื่ออีกเป็นเดือนเป็นปี  พร้อมแนะวิธีป้องกันปัญหาทวงคืนความยุติธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อสู้ด้วยข้อกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสสส.กล่าวว่า สสส.ร่วมขับเคลื่อนโครงการปกป้องเด็กและเยาวชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาเสพติด การพนัน และอุบัติเหตุต่างๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยสสส.ได้ผลักดันทุกฝ่ายทำงานให้เกิดการถอดบทเรียนองค์ความรู้ การทำงานข้ามศาสตร์ ข้ามองค์กร เพื่อค้นพบสิ่งต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีล่วงละเมิดในเด็กและเยาวชน จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องกระบวนการยุติธรรมระหว่างการต่อสู้เพื่อสิทธิโดยสสส. และภาคีเครือข่ายได้พัฒนาจัดทำ “หนังสือผีเสื้อขยับปีกที่สะท้อนเรื่องราวของครอบครัวเด็กผู้หญิงผู้ถูกกระทำที่กล้ายืนหยัด ลุกขึ้นมาต่อสู้ ไม่ยอมจำนนกับปัญหาที่เข้ามาในชีวิต เป็นความท้าทาย ก้าวอย่างมั่นคง คนทำผิดต้องได้รับโทษ ช่วยกันปรบมือและให้กำลังใจเธอและครอบครัวเป็นแกนนำในการต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงป้ามล ทิชา ณ นคร ยืนหยัดเคียงข้างเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม”

โดยเนื้อหาในหนังสือได้บอกเล่าเรื่องราวของผู้ที่ถูกกระทำที่กล้าลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตัวเอง โดยมีคดีเด็กหญิงอายุ 14 ปี ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและกระทำความรุนแรงจากคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงทางภาคใต้มานานนับปี กว่าที่หน่วยงานต้องเข้าไปช่วยเหลือเรียกร้องความยุติธรรมให้ผู้เสียหายนานกว่า 3 ปี ที่ศาลฎีกาได้พิพากษา จำคุกจำเลยทั้ง 11 คน ตั้งแต่ 15 ปี ถึงตลอดชีวิต

“ด้วยบทบาทสสส.สนับสนุนงานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่จะถูกกระทำต่อเด็ก เยาวชน เหล้า บุหรี่ การพนันที่ถูกกระทำ คนตัวใหญ่กว่ามีความได้เปรียบ เด็กจมอยู่ในความทุกข์ เรามีหน้าที่ดูแลไม่ให้เด็กถูกละเมิดด้วยการใช้ความรุนแรง ปรับเปลี่ยนคนเป็นเหยื่อ ทวงคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ในสังคมและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะน้องฟ้ามีความเข้มแข็งมากเป็นต้นเรื่อง ดร.ผุสดี ตามไทเป็นแรงหนุนให้น้องฟ้าเข้มแข็งทำงานด้วยใจ ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ขอส่งแรงใจถึงผู้ที่ถูกกระทำจากปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้พลังใจจากสสส.ส่งไปถึงทุกคนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความถูกต้องเป็นธรรม สู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองในประเทศนี้ ให้สามารถยืนหยัดและหนักแน่นในการต่อสู้ โดยขอให้เชื่อว่ามีหน่วยงานภาคีเครือข่ายส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่พร้อมให้ความช่วยเหลือและยืนหยัดเคียงข้างอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีใครโดดเดี่ยวหรือต่อสู้ลำพัง” ดร.สุปรีดากล่าว

นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ผู้แทนรัฐมนตรีว่ากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า จากคดีเด็กหญิงอายุ14ปี ทางภาคใต้ที่ถูกคนในชุมชนและใกล้เคียงล่วงละเมิดทางเพศ ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าคดีจะสิ้นสุดถือเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ใจของผู้ถูกกระทำและครอบครัว แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือประคับประคองครอบครัวจนก้าวผ่านมาได้ ทั้งนี้ความช่วยเหลือจากกระทรวงพม. หน่วยงาน มูลนิธิที่เกี่ยวข้องเปรียบเสมือนลมใต้ปีกช่วยพยุงผีเสื้อบาดเจ็บให้โบยบิน กลับมามีชีวิตใหม่อย่างมีคุณค่า แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงกระบวนการช่วยเหลือ ทั้งนี้จากข้อมูลปี2561 มีเด็กและเยาวชนถูกกระทำความรุนแรงและถูกล่วงละเมิดทางเพศ14,237ราย ปี2562จำนวน15,797ราย ในจำนวนนี้เป็นความรุนแรงทางเพศ5,191ราย คิดเป็น32.9%เฉลี่ยวันละ14ราย ส่วนใหญ่ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิดที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด หากใครพบเห็นสามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน1300 หรือขอคำปรึกษาช่วยเหลือได้ที่บ้านพักเด็กและครอบครัวทั่วประเทศ

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาในแง่ที่เป็นการคุ้มครองเหยื่อหรือผู้เสียหายในปัจจุบันถือว่าดี เพราะสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ด้วยตัวเอง มีมาตรการคุ้มครองเหยื่อ แต่คดีทางเพศเป็นคดีที่มีความอ่อนไหวจึงต้องอาศัยผู้ที่มีองค์ความรู้เฉพาะทางวางแนวทางแก้ปัญหา เพราะคดีลักษณะนี้เกิดกับคนเปราะบาง กระทบจิตใจและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บั่นทอนกำลังใจผู้ถูกกระทำระหว่างต่อสู้คดี นอกจากนี้จะเห็นว่าหลักฐานต่างๆจะอยู่ในที่ลับบนเนื้อตัวของผู้เสียหาย การจะได้มาซึ่งหลักฐานพยานจึงยุ่งยาก ซับซ้อน อาจถูกทำลายได้ง่าย

ผศ.ดร.ปารีณากล่าวต่อว่า กฎหมายที่มีอยู่ในแง่ของการคุ้มครองผู้เสียหาย ถ้าเป็นผู้หญิงการคุ้มครองมีเพียงให้สอบสวนโดยพนักงานหญิง หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า18ปี ก็จะมีสหวิชาชีพซึ่งไม่เพียงพอ อีกทั้งยังทำคดีแยกส่วนถือเป็นช่องว่างของการทำคดีทางเพศที่ไม่ได้เอาตัวผู้เสียหายมาร่วมดำเนินคดีเต็มตัว ทั้งนี้จากการอ่านหนังสือผีเสื้อขยับปีกคิดว่ามีอีกหลายคดีที่ไม่ได้ต่อสู้ เพราะผู้ถูกกระทำหรือครอบครัวไม่รู้ข้อกฎหมาย ขณะที่บางส่วนอาจไม่มั่นใจกระบวนการยุติธรรม เพราะไม่รู้ว่าสังคมจะมองอย่างไร ถูกมองมีมลทินหรือไม่โดยเฉพาะถูกกระทำจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด คนที่มีอำนาจเหนือกว่า

“หนังสือผีเสื้อขยับปีกนี้ เรามีกลไกหลายอย่างที่สามารถสร้างพลังของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดให้คดีสำเร็จ และออกกฎหมายคดีทางเพศใหม่ที่สามารถคุ้มครองผู้ถูกกระทำทุกคน เพื่อให้ผู้เสียหายกล้าเรียกร้องความยุติธรรม ช่วยให้เขามีชีวิตปกติ หรือใกล้เคียงปกติที่สุด และยังมีกฎหมายอีกหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกันนั้นต้องมีการปรับแก้ให้สอดคล้องกันด้วย” ผศ.ดร.ปารีณา กล่าว

ขณะที่ นางทิชา ณ นคร ที่ปรึกษามูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว กล่าวว่า การที่ผีเสื้อขยับปีกมองเห็นความสวยงาม ความบอบบางของปีกก็เหมือนกับเด็กๆถูกทำให้ปีกหักไม่สามารถโบยบิน ต้องใช้เวลาซ่อมปีก การใช้เอ็มพาวเวอร์เพื่อให้เด็กที่ถูกละเมิด ต้องถูกเนรเทศรู้สึกว่าตัวเองมีมลทินทำความผิด ถ้าเราไม่เยียวยาเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง เพื่อเขาจะได้เป็นพยานที่สำคัญเมื่อมีการสืบพยานเห็นความชัดเจนของการถูกกระทำ เพื่อให้รู้ว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นศักดิ์สิทธิ์ คนที่ทำความผิดละเมิดต่อเด็ก ไม่รอดพ้นความผิดทางด้านกม. “นาทีที่คำพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดมันเป็นนาทีแห่งการเยียวยาผู้ถูกกระทำที่จิตแพทย์ก็ทำให้ไม่ได้ การสร้างหมุดหมายเพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้กับเด็ก”  ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดเจ้าหน้าที่ของรัฐเกือบทั้งหมด รัฐไม่มีสิ่งที่เรามี แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่มีในสิ่งทีรัฐมี เรามีกระบวนการเอ็มพาวเวอร์ช่วยกันทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นความโชคดีที่เรามีสสส.เป็นพลังขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จได้

ภาพรวมการข่มขืนสังคมไทยสะท้อนปัญหาสังคม2ภาพพร้อมกันคือ ตัวผู้กระทำที่ขาดสำนึกผิดชอบชั่วดีอย่างรุนแรง ภาพที่ซ้อนใต้ภาพนี้คือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำหรือจะเรียกว่าโครงสร้างในเชิงมิติชายเป็นใหญ่ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีเกาะแรด พังงาคือความเป็นชุมชน สังคม เครือญาติที่รู้จักคุ้นเคยใกล้ชิด เมื่อ3ภาพนี้หมุนอยู่ในพิกัดเดียวกัน ผู้กระทำกลุ่มที่เป็นข่าว จึงกระทำต่อเด็กหญิงอย่างยาวนาน ข้ามเดือน ข้ามปีด้วยความลืมตัว ฮึกเหิม คนที่มีอำนาจน้อยตกเป็นเหยื่อ เราต้องช่วยปรับสมดุล ทำให้ผู้มีอำนาจน้อยมีอำนาจเพิ่มรับมือหรือต่อสู่กับคนที่มีอำนาจเหนือกว่าได้ ให้เหยื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต บอกเล่าเรื่องราวความเจ็บปวดแต่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินคดีได้ในที่สุด

ในฐานะผู้ติดตามข่าวเราเห็น3ภาพนี้ชัดเจน โดยเฉพาะความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่ากันระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ซึ่งเป็นจุดบอดที่ต้องถูกช่วย ถูกเสริมพลัง เมื่อตัดสินใจว่าต้องทำอะไรมากกว่าแค่การติดตามข่าวเราก็ขยับและเคลื่อนไหวโดยนำประสบการณ์จากคดีค้ามนุษย์น้ำเพียงดิน แม่ฮ่องสอนมาทบทวนต่อยอดเดินหน้า หากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบคดี ซึ่งมีทั้งบ้านพักเด็ก กระทรวงพม. และทีมคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ งานข้ามศาสตร์ ข้ามองค์กรในคดีเกาะแรด พังงา ชัดเจนว่า ลงตัว ราบรื่นกว่าคดีค้ามนุษย์น้ำเพียงดิน แม่ฮ่องสอนโดยเฉพาะรัฐมีในสิ่งที่ภาคประชาสังคมไม่มี เช่น การบังคับใช้กฎหมายบ้านพัก เซฟเฮาส์ แต่ภาคประชาสังคมก็มีในสิ่งที่รัฐไม่มี เช่น การเสริมพลังใจเหยื่อ และเปลี่ยนเหยื่อเป็นพยาน จนนำไปสู่การสืบพยานที่ได้ความจริงเชิงลึก และชัดเจน สามารถลงโทษผู้กระทำได้ ดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่ทุกคนได้ทราบแล้ว โทษของผู้กระทำคือการเยียวยาผู้ถูกกระทำได้ในระดับหนึ่ง

“สิ่งที่จะเยียวยาผู้ถูกกระทำในคดีที่สร้างบาดแผลใจอย่างลึกซึ้ง คือสิทธิที่จะถูกลืม หรือการได้ชื่อ นามสกุล เลข13หลักใหม่โดยอัตโนมัติ รวมถึงการเริ่มต้นในถิ่นฐานใหม่อย่างมั่นคง ซึ่งหมุดหมายแรกของสิทธิที่จะถูกลืมต้องมาจากฝ่ายกฎหมายจะเขียนอย่างไร จะผลักดันผ่านช่องทางใด และประกาศใช้เมื่อไหร่ เพราะนั่นคือมาตรการการเยียวยาที่ดีที่สุด” นางทิชากล่าวในฐานะเป็นบรรณาธิการ สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือ“ผีเสื้อขยับปีก”ที่ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน กรณีคดีละเมิดทางเพศเด็กหญิงบ้านเกาะแรด จังหวัดพังงา จำหน่ายในราคา250บาทโดยรายได้จากการจำหน่ายหนังสือมอบให้เป็นทุนในการดำเนินชีวิตของครอบครัวผู้เสียหายคดีเกาะแรด สามารถสอบถามสั่งซื้อได้ที่เพจ มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว โทร.02-0481950.

 

 

 

“งานเขียนชิ้นนี้เปรียบเสมือนทำงานอยู่ในวงดนตรีออเคสตร้าจับตามจังหวะ”                

กรรณจริยา สุขรุ่ง ผู้เขียน/เรียบเรียง หนังสือผีเสื้อขยับปีก

งานเขียนชิ้นนี้เปรียบเสมือนทำงานอยู่ในวงดนตรีออเคสตร้าจับตามจังหวะมีคนทำงานอยู่ตรงกลางด้วยความร่วมมือของป้ามล-ทิชา ณ นคร แห่งมูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัวทำหน้าที่ได้อย่างดี  เป็นการทำงานแบบบูรณาการทุกฝ่ายจนประสบความสำเร็จ ภาครัฐเปิดประตูให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ด้วยข้อจำกัดของกฎระเบียบ คน งบประมาณด้วยการยึดหลักเราต้องช่วยกันทำงาน ไม่ให้เป็นภาระ ทำให้หัวใจเดียวกันเดินหน้าไปได้ดี ขณะเดียวกันคุณแม่เอเปิดใจกว้างอย่างไม่มีเงื่อนไข เสมือนหนึ่งเป็นเรื่องดีใจที่ได้เหยียบทะเล

เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ของครอบครัวหนึ่งประสบเหตุอย่างไม่คาดคิด ปกติแล้วเด็กหญิงเป็นเด็กดีตั้งใจเรียนหนังสือ แต่ความเลวร้ายที่ไม่ปกติบังเกิดขึ้นในครอบครัวได้เสมอ เราต้องมีวิธีการป้องกัน เรื่องนี้เป็นบทเรียนสำหรับครอบครัว เพื่อช่วยประคับประคองลูกในสภาวะที่เขาเกิดความย่ำแย่ในชีวิตมีการล่วงละเมิดทางเพศ  ด้วยเส้นทางการทำหนังสือเล่มนี้ใช้เวลา4เดือนไม่ได้เป็นการลงพื้นที่ พูดคุยกับคนในครอบครัวโดยตรง แต่เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารในระหว่างการดำเนินคดีระหว่างการพิจารณาคดีในศาล ตลอดจนข้อมูลจากหัวหน้าบ้านพักเด็ก เจ้าหน้าที่สำนักงานคุ้มครองพยาน แม่เอได้รับเชิญในวงสนทนาพูดคุย มีคลิปเสียง นำข้อมูลมาเขียนโดยไม่สัมภาษณ์เพิ่มเติม

“การที่เด็กวัย14ปีชนะคดีได้นั้น อยู่ที่คำให้การของเด็ก กว่าจะเริ่มต้นสืบสาวราวเรื่องทั้งๆที่เวลาผ่านไปแล้ว9เดือน พยานหลักฐานหายไปหมดแล้ว คำพูดของเด็กเป็นพยานสำคัญเพราะพูดกี่ครั้งๆก็เหมือนเดิม ทางจิตใจบอกได้ด้วยการซักถามพยานก็คือตัวเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่มีข้อสงสัยว่าโกหกแต่อย่างใด ไม่ว่าจะถามย้อนถามแย้งก็ได้คำตอบเดิม เด็กไม่ได้คิดจินตนาการขึ้นเองแต่อย่างใด ยังมีพยานเด็กวัย8-9ขวบอีกคนหนึ่งก็ให้การอย่างเดียวกันแสดงว่าเป็นเหตุการณ์จริง ตามกระบวนการยุติธรรมจะต้องให้เด็กเล่าจนจบเพื่อสืบคดี เด็กพูดโดยเห็นหน้าจำเลยการสืบพยานทำต่อเนื่อง4วันรวด แต่จำเลยพูดไม่เห็นหน้าเด็ก ขณะนี้เด็กเรียนหนังสือระดับปวส.และทำงานควบคู่ไปด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง