ขับเคลื่อนคุ้มครองผู้บริโภคในโลกออนไลน์ สสส.ผนึก19ภาคีและเอกชนจับมือเซ็นMOU

 ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้บริโภคไทยในยุคดิจิทัล เมื่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ และภาคีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

เพราะต้องยอมรับว่าตลาดสินค้าออนไลน์ในบ้านเรานั้นเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซไทยพบว่าปี 2020 เติบโต 81% มูลค่า 294,000 ล้านบาทสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 220,000 ล้านบาท โดยเหตุผลการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่พุ่งแรงกว่าที่เคยคาดการณ์มาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผลักดันให้คนไทยหันมาช้อปออนไลน์จนกลายเป็นความคุ้นเคย

เมื่อคนไทยช้อปปิ้งอยู่ในโลกออนไลน์หรือใช้ธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์มากขึ้น การลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ จึงนับเป็นก้าวสำคัญของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ในการยกระดับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคไทยไปสู่มาตรฐานสากล

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)กล่าวว่า การทำธุรกิจออนไลน์เป็นการทำตลาดตรงกับผู้บริโภค ดังนั้นรูปแบบการสื่อสาร การโฆษณาชวนเชื่อ จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้บริโภค และผู้บริโภคไม่สามารถเห็นหรือสัมผัสสินค้าได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ที่สำคัญผู้ซื้อไม่สามารถรู้ตัวตนที่แท้จริงของผู้ขาย ถือเป็นความเสี่ยงของผู้บริโภคที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย การลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ถือเป็นก้าวสำคัญ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสสส. ซึ่งร่วมลงนามในฐานะพยาน1ใน8องค์กร เปิดเผยว่า ปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายและการใช้ที่ไม่เหมาะสมจากการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากการโฆษณาเกินจริง ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านตลาดออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคปี2562 โดยศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภคด้านสุขภาพ พบผู้บริโภค มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพทางออนไลน์ถึงร้อยละ21.6โดยซื้อเครื่องสำอางมากที่สุด ร้อยละ78.0 รองลงมาคือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ47.2 ที่สำคัญพบมีการสั่งซื้อยาที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาแผนปัจจุบัน ยาลดความอ้วน ยานอนหลับ มากถึงร้อยละ15.9 ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 เนื่องจากเป็นการซื้อขายยานอกสถานปฏิบัติการ ถือเป็นปัญหาที่นำไปสู่การผลกระทบต่อสุขภาพและสูญเสียค่าใช้จ่ายของประชาชน

ดร.สุปรีดาตอกย้ำว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ครั้งนี้ ถือเป็นพันธสัญญาความร่วมมือในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายในตลาดออนไลน์ โดย สสส. มุ่งเป้าพัฒนาระบบที่ทำให้ประชาชนซื้อขายสินค้าที่ปลอดภัย มีแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ อาทิ ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ต้องไม่ยินยอมให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่ไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ที่เคยถูกยกเลิก หรือเพิกถอนทะเบียน หรือสั่งห้ามจำหน่าย พร้อมประกาศเตือนภัยผู้บริโภค เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีประวัติกระทำผิดซ้ำ รวมถึงจัดให้มีช่องทางการรับแจ้งกรณีพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปลอดภัยในตลาดออนไลน์ และดำเนินการปิดกั้นไม่ให้เกิดการซื้อขายสินค้าไม่ปลอดภัยอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดกลไกประชาชนดูแลประชาชน มุ่งให้ประชาชนสามารถปกป้องตัวเองและสังคมได้

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า การร่วมกันทำข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ฉบับนี้มี21ข้อ อาทิ ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ปฏิบัติต่อผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม โดยจัดทำระบบตรวจสอบร้านค้า สินค้า หรือบริการ ก่อนยินยอมให้มีการขายสินค้าหรือบริการนั้น ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ให้ความสำคัญกับการร้องเรียนของผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นกลไกหลักในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคสำหรับการซื้อ-ขายทางของออนไลน์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ รวมถึงความปลอดภัยทางเศรษฐกิจดิจิตอลในอนาคตและช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว

นางสาวอภิญญา ตันทวีวงศ์ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ องค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและองค์กรภาคเอกชน ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์และหน่วยงานของรัฐด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จะมาร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการETDA กล่าวว่า ภารกิจสำคัญที่ ETDA คือส่งเสริมให้การทำธุรกรรมทางออนไลน์ของประเทศมีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่น ผลักดันให้เกิดร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCCพร้อมจัดทำแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกันเองระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ประกอบการที่ใช้ตลาดออนไลน์ เพื่อป้องกันปัญหาและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคได้อย่างทันสถานการณ์มากที่สุด ซึ่งได้จากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน จนนำมาสู่การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการแจ้งร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ โฆษณาเกินจริง สอบถามได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 084-652-4607,089-788-9152หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เว็บไซต์ www.consumerthai.org หรือแจ้งปัญหาการซื้อขายออนไลน์ สายด่วนโทร.1212 และเว็บไซต์ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ www.1212occ.com

 

 

        บันทึกข้อตกลง 21 ข้อเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคทางออนไลน

  1. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะปฏิบัติต่อผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม
  2. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะยึดมั่นความรับผิดชอบที่มีต่อผู้บริโภค
  3. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  4. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะปฏิบัติตามมาตรฐานของประเทศที่จำหน่ายสินค้าและบริการ
  5. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะยึดมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ
  6. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะสื่อสารด้วยความซื่อสัตย์และตรงตามความเป็นจริง
  7. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะแสดงราคาอย่างโปร่งใส
  8. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะบันทึกประวัติการซื้อขายอย่างเหมาะสม
  9. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะมีทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ
  10. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะให้ความสำคัญกับการร้องเรียนของผู้บริโภค
  11. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
  12. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะดูแลให้การชำระเงินออนไลน์มีความปลอดภัย
  13. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะหลีกเลี่ยงการส่งสแปมออนไลน์
  14. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะไม่สร้างรีวิวปลอม
  15. ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จะให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์
  16. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตกลงที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์จัดทำแนวปฏิบัติที่ดีหรือมีกลไกในการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดีและเป็นที่ยอมรับร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ ผู้บริโภค และหรือหน่วยงานของรัฐ
  17. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค ตกลงที่จะให้ความร่วมมือกับผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานรัฐด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้ให้บริการตลาดออนไลน์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค
  18. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค จะติดตามผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ และหน่วยงาน เพื่อให้ดำเนินการตามที่กำหนดในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ต่อผู้บริโภคและต่อสังคม
  19. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตกลงที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ให้บริการตลาดออนไลน์
  20. สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ให้ความร่วมมือในการประสานงานแก่สมาชิกและหน่วยงาน ช่วยประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับบริการออนไลน์ที่ประโยชน์ต่อผู้บริโภค รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการติดตามและประเมินผลทุก ๖ เดือน ในบันทึกข้อตกลงความร่วมนี้
  21. หน่วยงานของรัฐด้านการคุ้มครองผู้บริโภค “พยาน” ตกลงที่จะให้คำปรึกษา ให้การสนับสนุน และบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวข้างต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธนกร' จี้กวาดล้างแก๊งลวงผู้สูงวัย-ปชช. หลอกกดลิงก์รับเงินหมื่น หลังรัฐเตรียมแจกเฟส 2

'ธนกร' เรียกร้อง รัฐบาล-ตร. เร่งกวาดล้างปราบแก๊งลวงผู้สูงวัย-ปชช. ระบาดหนัก หลอกกดลิงก์รับเงินหมื่น หลัง รัฐเตรียมแจกเฟส 2 ฝาก ดีอีล้อมคอก เตือนภัยให้คนรู้เท่าทัน หยุดกระบวนการไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพอีก

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ