การติดตามตรวจสอบสิ่งแวดล้อมในโลกใบนี้ ไม่ได้จำกัดเป็นเพียงหน้าที่หรือความรับผิดชอบของประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป โดยเฉพาะความใส่ใจต่อปัญหาสารปรอทในสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติถึงกับกำหนดประเด็นนี้เป็นหัวข้อสำคัญ ซึ่งกำลังจะมีการจัดประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในเดือนมีนาคม ศกหน้า
เพื่อกระตุ้นเตือนให้ตื่นรู้ถึงประเด็นผลกระทบจากสารพิษอย่างสารปรอทในสิ่งแวดล้อม สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้จัดเสวนาและเปิดรับชมภาพยนตร์ตีแผ่ผลกระทบปรอทจากการลักลอบปล่อยน้ำเสียอุตสาหกรรม เรื่อง “มินามาตะภาพถ่ายโลกตะลึง” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงภาพยนตร์ SFX เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
แม้เหตุการณ์ที่ทำให้โลกต้องหันกลับมามองปัญหาการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีที่ปนเปื้อนปรอทโดยไม่ผ่านการบำบัดที่อ่าวมินามาตะ ในจังหวัดคุมาโมโต ประเทศญี่ปุ่น จะผ่านเลยมากว่ากึ่งศตวรรษ แต่ดูเหมือนบาดแผลที่เกิดขึ้นกับชาวเมืองแห่งนี้ยังตกทอดมาสู่ลูกหลานในวันนี้
โรคมินามาตะ หรือโรคสารพิษจากปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยออกมา ส่งผลให้ชุมชนชาวประมงที่เมืองมินามาตะ เมืองชายฝั่งทะเลเมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู ถูกทำลายด้วยพิษของสารปรอทที่มาจากความประมาทเลินเล่อทางอุตสาหกรรม จุดเริ่มต้นของความหายนะที่มาจากความมักง่ายของโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้ปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารปรอทสู่แหล่งน้ำที่ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภค เกิดความผิดปกติกับประชาชนที่อยู่อาศัยเป็นแสนๆ คนในเมืองมินามาตะ
สารปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสียทำลายเนื้อเยื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง คนในชุมชนเริ่มป่วย มีอาการชาที่มือและเท้า ลามไปถึงแขน ขา ริมฝีปาก ม่านตาเริ่มหรี่เล็กลง จิตใจกระวนกระวาย พูดช้าไม่เป็นภาษา สื่อสารไม่ได้ หูเริ่มไม่ได้ยิน การใช้มือ เท้า กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ สัมพันธ์กัน ถึงขั้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ กล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรง ชักกระตุก บางคนไม่สามารถคุมสติไว้ได้ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต
นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะประธานเปิดงานจัดเสวนาและเปิดรับชมภาพยนตร์รอบพิเศษ “มินามาตะ” กล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่องมินามาตะสะท้อนภาพหดหู่ การสร้างพลังของนักต่อสู้ปลุกความรู้สึกในการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม จากการทำงานร่วมกับมูลนิธิบูรณะนิเวศ ผลกระทบมลพิษที่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย 1,300 ล้านบาท เพื่อความเป็นธรรมในหลายพื้นที่ อาทิ ฉะเชิงเทรา
ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประเทศไทยก้าวสู่ภาคีสมาชิกอนุสัญญามินามาตะ 2560 ควบคุมสารปรอท เป็นประเทศที่ 60 จากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ประกาศใช้ตั้งแต่เดือน ก.ย.2560 ตั้งคณะอนุกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญควบคุมการใช้สารปรอท 100% การผลิตปิโตรเคมีในโรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมอาหารและยา ไม่ให้มีสารปรอทปนเปื้อน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศสารปรอทเป็นสารต้องห้าม บางครั้งมีการลักลอบใช้กับเครื่องสำอางเพื่อทำให้ผิวขาว มีการดำเนินคดีกันอยู่ การใช้แบตเตอรี่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ เทอร์โมมิเตอร์ ควบคุมการผลิตไม่ให้มีการรั่วไหล รัฐบาลออกระเบียบข้อกำหนดควบคุมให้มีความปลอดภัย
นายอรรถพล เจริญชันษา กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นยุทธศาสตร์ชาติ อยู่ในลำดับต้นๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะกระบวนการผลิตน้ำมันต้องไม่มีสารปรอท 100% ลดปริมาณซัลเฟอร์ที่จะส่งผลต่อมาตรฐานพีเอ็ม 2.5 ตั้งแต่ 1 ม.ค.2567 กำหนดมาตรฐานกำมะถันในน้ำมันยูโร 5 ให้เหมือนกันทั้งประเทศ
นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. (รับผิดชอบงานมลพิษทางอากาศ สุขภาพจิต เพศ ยารักษาโรค) กล่าวว่า บทบาท สสส.ดูแลพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชน การสร้าง Active Citizen สร้างพลเมืองตื่นรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน การจัดชุดความรู้เพื่อป้องกันตนเองให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด การสร้างเครือข่ายทำงานทั้งภาควิชาการ สร้างกลุ่ม Active Club ศึกษาสภาพน้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ สารเคมีที่เป็นอันตรายลงสู่แม่น้ำ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้าไปถึงห่วงโซ่อาหารที่ทุกคนบริโภค จะส่งผลต่อสุขภาพ ขณะนี้พื้นที่โรงงานกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ประเทศไทยมีกฎหมายเป็นจำนวนมาก แต่การบังคับใช้กฎหมายยังหย่อนยาน
“ภาพยนตร์เรื่องมินามาตะจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการกระตุ้นเตือน คาดหวังจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้รู้ว่าสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องเรียนรู้วิธีการต่อสู้ที่ร่วมมือกันมาแล้ว 50 ปี จะได้เป็นบทเรียนเป็นเครื่องเตือนใจว่า ลมใต้ปีกนั้นอันตรายจริงๆ เราต้องช่วยกันจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ลูกหลานของเราอยู่กันอย่างปลอดภัยด้วย”
นายชาติวุฒิกล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่อุตสาหกรรมใน จ.สมุทรสาคร การสร้างพื้นที่ต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม พื้นที่อิสเทิร์นซีบอร์ด EEC ระยอง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อเมืองไทยจะได้ไม่เป็นมินามาตะ 2 ถ้าเรามีการบังคับใช้ กม.อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมพลังชุมชนให้เข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรม
นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ มีประสบการณ์เคยได้รับทุน NIPPON ไปทำงานภายใต้โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียในปี 2549 ครบรอบ 50 ปี ที่มีโรคมินามาตะเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี 2499 และได้เข้าร่วมงานรำลึกครบรอบ 50 ปีของโรคมินามาตะ เข้าไปอยู่ในหมู่บ้านนี้เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเก็บข้อมูลงานวิจัย บทบาทกระบวนการต่อสู้ในประเทศญี่ปุ่นเป็นประสบการณ์ล้ำค่าที่ได้เห็นปัญหามลพิษในประเทศญี่ปุ่น
ภาพต่อภาพเปรียบเทียบความแตกต่างที่บันทึกโดยดารุณี ไพศาลพานิชกุล ทั้งนี้ เพ็ญโฉมนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมงานเสวนาและชมภาพยนตร์มินามาตะรอบพิเศษนี้ นับตั้งแต่ภาพมุมสูงของเมืองมินามาตะ เมืองท่องเที่ยวที่สงบ สวยงาม มีแม่น้ำ ทะเล ภูเขา การปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารปรอท การต่อสู้ของชาวบ้านในหมู่บ้านที่ป่วยด้วยโรคมินามาตะ ภาพนายแพทย์ฮาราดะ มาซาซูมิ สำรวจอาการเจ็บป่วยของชาวบ้าน 2 แสนคนที่ได้รับสารพิษ เด็กอายุ 5 ขวบเมื่อได้รับสารพิษมีชีวิตอยู่ได้ถึง 8 ขวบ
ผู้จัดงานฉายภาพยนตร์ในไทยหรือมูลนิธิบูรณะนิเวศยังได้เผยว่า แม้มินามาตะจะเปิดต้อนรับผู้คนและนักท่องเที่ยวแล้ว แต่ปัจจุบันคนญี่ปุ่นด้วยกันเองจากพื้นที่อื่นๆ ยังไม่กล้าที่จะไปเยือนมินามาตะ หรือไม่กล้าที่จะแต่งงานกับคนมินามาตะ เพราะกลัวว่าสารปรอทนั้นยังคงหลงเหลืออยู่ในกรรมพันธุ์ของพวกเขา และยังมีคนที่เป็นโรคมินามาตะหลงเหลืออยู่ พวกเขาไม่สามารถมีคู่ได้ เนื่องจากความผิดปกติที่ทำร้ายเขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
"เราหวังว่าจะไม่เกิดมินามาตะในเมืองไทย แต่อยากให้รัฐบาลและภาครัฐได้ตระหนักด้วยว่าพื้นที่อุตสาหกรรมเข้มข้น มีชุมชนหลายแห่งอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยอง บ้านค่าย หลายพื้นที่เป็นแหล่งมลพิษขนาดใหญ่ของประเทศไทย เมื่อมีเสียงสะท้อนจากชาวบ้านก็ไม่ควรละเลยปัญหา" นางสาวเพ็ญโฉมกล่าวสรุป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น