เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ

23 ก.ย. 2567 – นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตลอดช่วงชีวิต เปิดเผยว่า ภายหลังการจัดเวทีขับเคลื่อนเชิงนโยบายภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตโดยชุมชนท้องถิ่น ในหัวข้อ “เวทีสานพลังเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตโดยชุมชนท้องถิ่น” (Community Mental Health Forum) ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตลอดช่วงชีวิต ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โรงพยาบาลศรีธัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และมูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ เมื่อเร็วๆ นี้นั้น

ที่ประชุมได้ข้อสรุปเป็น “ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนท้องถิ่นตลอดช่วงชีวิต” ทั้ง 6 ข้อ ที่จะนำสู่การปฏิบัติในระดับประเทศประกอบด้วย 1.กรมสุขภาพจิต สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ นำเครื่องมือดัชนีสุขภาพจิตชุมชนท้องถิ่น (Community Mental Health Index) ไปใช้สำหรับเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานะสุขภาพจิตในระดับชุมชน และขยายผลต่อยอดไปสู่การเป็นเครื่องมือหลักในการประเมินสุขภาพจิตชุมชนในทุกๆ ชุมชนทั่วประเทศในอนาคต นำไปสู่การสะท้อนภาพระดับการมีสุขภาพจิตในระดับชุมชนที่เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งเห็นทิศทางในการพัฒนาในแต่ละชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ในอนาคต

2.กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการขยายผลการสร้างและพัฒนานักส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน (นสช.) ให้กระจายไปทุกชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยหนุนเสริมพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีอยู่เดิม และพัฒนาศักยภาพตัวแทนประชากรกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเช่นคนพิการ เด็ก และเยาวชน เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตกลุ่มเป้าหมายเฉพาะดังกล่าวได้อย่างเป็นผล พร้อมสนับสนุนทรัพยากรดำเนินงานของ นสช.

3.กระทรวงสาธารณะสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนและจัดให้มีให้มีคลินิกสุขภาพจิตในทุกโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) พร้อมสนับสนุนทรัพยากรดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพบุคลากรสถานพยาบาลทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา ประเมิน บำบัดรักษา และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยจิตเวช เข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม

4.กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนทัองถิ่น กระทรวงมหาดไทย สนับสนุนให้กลไกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับต่างๆ ขับเคลื่อนงานส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดเป็นแผนงาน และงบประมาณของหน่วยงาน รวมถึงพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับติดตามประเมินผลการดำเนินงานของ อปท.

5.กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนให้มีหน่วยงานและบุคลากรทำหน้าที่การส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในสถานศึกษา โดยจัดตั้งเป็นคลินิกสุขภาพจิต และพัฒนาศักยภาพและความรู้แก่บุคลากรสถานศึกษาทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ประเมิน เยียวยา และส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตเข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม พร้อมกันนี้สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาต่างๆบูรณาการกิจกรรมด้านสุขภาพจิตเข้ากับหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนและนักศึกษาด้วย

และ 6.สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมสุขภาพจิต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนงบประมาณและความรู้วิชาการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ นสช. และชุมชนท้องถิ่นขับเคลื่อนงานส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เช่น หลักสูตรมาตรฐานการอบรม นสช. สื่อการเรียนรู้ สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เครื่องมือประเมินสถานการณ์สุขภาพจิตชุมชน คัดกรอง และการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตของภาคีเครือข่ายต่างๆ ผ่านช่องทางสื่อต่างๆที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

นายชาญชัย กล่าวว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะทั้ง 6 ข้อนี้ ได้มาจากการทำงานของ 15 พื้นที่นำร่องทั่วประเทศใน 2 เฟสการทำงาน คือในปี 2564-2565 จำนวน 10 พื้นที่ และขยายผลต่อเนื่องในปี 2566-2567 อีก 5 พื้นที่ ครอบคลุมภาคเหนือ อีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ แม้ว่าต่างคนจะต่างประสบการณ์ แต่ทุกพื้นที่มีเป้าหมายร่วมกันคือการสร้าง นสช.ให้เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นของตน เพื่อทำหน้าที่ช่วยเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของคนในชุมชน เนื่องทาง อสม. ก็มีภาระงานอยู่มาก และการบ่มเพาะสกิลการให้บริการสุขภาพจิตก็มีความเฉพาะตัวต่างจากการดูแลเรื่องสุขภาวะองค์ การเปิดโอกาสให้กลุ่มจิตอาสาในพื้นที่ได้มาร่วมทำงานจะช่วยสร้างความภาคภูมิใจและกลายเป็นชุมชนสุขภาพจิตเข้มแข็งในที่สุด นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือดัชนีตัวชี้วัดสุขภาพจิตชุมชนไว้ใช้ทำงานเชิงวิชาการที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงสถิติในการอ้างอิง

ด้าน นายพงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการโครงการ มสช. ระบุว่า ขณะนี้เราเห็นผลสำเร็จมากขึ้น จากแผนสุขภาพจิตในระดับตำบล เทศบาล ก็เคลื่อนไปสู่ระดับอำเภอและจังหวัด พื้นที่นำร่องหลายแห่งมีการขยายผลไปยังพื้นที่ข้างเคียง หากประเมินแล้วตัวโครงการฯ ที่ทำงานด้านสุขภาพจิตแต่สะกิดไปถึงทุกกระทรวงกำลังเดินหน้าสู่ระยะปลายที่จะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์อีกครั้งในเร็วๆ นี้ หลังจากผลักดันเรื่องบริการสุขภาพจิตเข้าไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้สำเร็จ อีกทั้งยังมีแนวคิดจะจัดเป็นงานระดับเอ็กซ์โปเพื่อสร้างความตระหนักและเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตโดยชุมชนท้องถิ่น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน