30 ส.ค. 2567 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ การให้วัคซีนป้องกันฝีดาษ หลังสัมผัสเชื้อฝีดาษวานร
ดังได้เคยกล่าวมาแล้ว วัคซีนป้องกันฝีดาษวานรโดยตรงที่ทำมาจากเชื้อ Mpox ไม่มี การใช้วัคซีนในปัจจุบันก็ใช้วัคซีนที่ทำมาจากหนองฝีดาษวัว ที่แต่เดิมใช้ป้องกันไข้ทรพิษ สามารถข้ามมาป้องกันฝีดาษวานรได้ และมีการพัฒนามาถึง Generation ที่ 3 เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของวัคซีน จึงทำให้มีราคาแพงมากๆ และปริมาณก็ไม่เพียงพอ
ประสิทธิภาพในการป้องกันฝีดาษวานร หลังจากให้วัคซีนไปแล้ว 14 วัน จะอยู่ที่ประมาณ 70 – 80 % แต่การให้เป็นการป้องกันหลังสัมผัสโรค ประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำมาก จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ป้องกันไม่ได้ จนถึงประสิทธิภาพสูงสุดประมาณ 20% ดังแสดงในรูป ที่มีการศึกษาและเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์
โรคฝีดาษวานร ตามหลักการแล้วจะติดต่อได้ง่ายในผู้ที่สัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น นอนเตียงเดียวกัน มีเพศสัมพันธ์กัน ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงที่ควรจะได้รับวัคซีน จะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในครอบครัวของผู้ที่ติดเชื้อ หรือกลุ่มรักร่วมเพศ กับคนที่ไม่รู้จัก หรือผู้ที่เดินทางไปในแอฟริกา
การติดต่อของโรคในปัจจุบัน ยังไม่ได้ง่ายแบบการติดเชื้อโควิด 19 ในคนทั่วไป ถึงแม้จะเป็นบุคลากรด่านหน้า เมื่อมาพิจารณา แบบองค์รวมแล้ว รวมทั้งภาระโรคและความรุนแรงของโรค ราคาของวัคซีน ความยากง่ายในการหาวัคซีน จึงยังไม่มีความจำเป็น ณ วันนี้ ที่จะต้องทำ ring vaccination นอกจากว่าในอนาคตพบว่าฝีดาษวานร มีคุณลักษณะเหมือนกับไข้ทรพิษ แน่นอนทุกคนควรจะได้รับวัคซีน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' บอกอย่าตื่นตะหนกโนโรไวรัส
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
'ภูมิธรรม' แจงเหตุเมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 คนไทย ยันทำทุกวิถีทางแล้ว
'ภูมิธรรม' แจง 4 คนไทยยังกลับไม่ได้ เหตุรอรัฐบาลเมียนมาตัดสินใจ ยํ้าทำทุกวิถีทางแล้ว หากเกิดในประเทศไทยต้องทำเช่นกัน ปัดโยงการเมือง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform