28 ส.ค.2567- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก
สำหรับผู้สนใจสถานการณ์ mpox ในปัจจุบัน ตกลง Clade Ia, Ib หรือ Clade II แตกต่างกันอย่างไร สายพันธุ์ Ib รุนแรงกว่า Clade II เมื่อ 2 ปีที่แล้วจริงๆหรือ และอีกหลายๆคำถามที่ยังงงๆกันอยู่ แนะนำบทความนี้ใน Science ครับ บทความไม่ยาวมาก แต่ข้อมูลเป็นปัจจุบันทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีครับ
สรุปข้อมูลหลักๆออกมาได้ประมาณนี้นะครับ
ตอนนี้มี mpox ที่พบแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆของทวีปแอฟริกาอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก ทำให้การพูดถึง mpox ตอนนี้มักพูดรวมๆ แล้วอ้างอิงข้ามไปข้ามมา หลายคนจึงสับสน
Clade Ia : พบใน Democratic Republic of the Congo (DRC) มานานแล้ว และ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก มักเกิดจากการกระโดดของเชื้อจากสัตว์สู่คน แต่เชื้อแพร่จากคนสู่คนไม่ดี ทำให้เชื่อว่าการติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสสัตว์โดยตรง เช่น การกินเนื้อสัตว์ หรือ ใกล้ชิดผู้ป่วยโดยตรง ตอนนี้พบในแถบตะวันตกและตอนกลางของ DRC มีคนเคยรายงานว่ามีความรุนแรงสูง แต่บทความนี้บอกว่ายังเป็นข้อถกเถียงว่ารุนแรงกว่าจริงหรือไม่?
Clade Ib: สายพันธุ์นี้เพิ่งค้นพบทางตะวันออกของ DRC ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยที่เป็นวัยรุ่น หรือ ผู้ใหญ่ การแพร่กระจายเชื้อเกิดจากเพศสัมพันธ์ หรือ การมีกิจกรรมใกล้ชิดกัน ปัจจุบันพบกระจายออกไปนอก DRC เช่น Uganda, Kenya, Rwanda, และ Burundi และ นอกทวีปแอฟริกาคือ สวีเดน และ ไทย การกระจายออกนอก DRC ที่แตกต่างจาก Clade Ia ที่มีมานานแต่ไม่พบนอก DRC ทำให้เชื่อว่า Clade Ib มีคุณสมบัติที่แตกต่างในการแพร่จากคนสู่คนได้ดี ข้อมูลเรื่องความรุนแรงยังไม่ชัด แต่ตัวเลขจาก DRC ที่เมือง South Kivu ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการระบาด พบอัตราเสียชีวิตแค่ 0.6%
Clade II (หรือ IIb) : คือ สายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศไนจีเรีย แต่เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดกว่า 100 ประเทศทั่วโลกในปี 2022 จนถึงปัจจุบัน พบในผู้ป่วยชายรักชายเป็นส่วนใหญ่ และ แพร่ผ่านกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ และ การสัมผัสใกล้ชิด ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าความรุนแรงน้อยกว่า Clade I และ อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า แต่ก็มีประเด็นถกเถียงกันอยู่พอสมควร
ความรุนแรงของโรคอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ เช่น การรับเชื้อโดยตรงเช่นการกินเนื้อสัตว์ หรือ สัมผัสปริมาณเชื้อมากๆ จะมีอาการรุนแรงกว่า การสัมผัสแบบอ้อมๆจากกิจกรรมทางเพศ
สภาวะความหนาแน่นของประชากร และ สุขลักษณะของที่พักอาศัยมีผลต่อการแพร่กระจาย สถานที่ที่สุขลักษณะไม่ดีแออัดไวรัสจะแพร่ได้ดีกว่าจากการสัมผัสใกล้ชิด
เนื่องจากผู้ป่วยที่ติด Clade Ia มักเป็นเด็ก ซึ่งแตกต่างจาก Ib และ II ทำให้เชื่อว่า ไวรัสแต่ละสายพันธุ์อาจจะมีช่องทางการแพร่ก็แตกต่างกัน ซึ่ง Ib กับ II น่าจะเกิดจากกิจกรรมทางเพศมากกว่า Clade Ia
บทความนี้เน้นว่ายังไม่มีหลักฐานใดๆที่บ่งชี้ว่า Clade Ib มีการปรับเปลี่ยนตัวเองจนแพร่ได้ดีในคน จากกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ ข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้เกิดจากการอนุมานจากเคสที่พบเป็นส่วนใหญ่ใน DRC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้บ่งชี้ว่าไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มประชากรนี้ จำเป็นต้องหาเหตุผลมาอธิบายคุณสมบัติของไวรัส Clade Ib มากขึ้นก่อนจะสรุปสาเหตุของคุณสมบัติดังกล่าวของไวรัสได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
รู้ทัน 'โรคฝีดาษวานร' โรคระบาดป้องกันได้!
แม้ในขณะนี้สถานการณ์ของโรคฝีดาษวานรในประเทศต่างๆ ดีขึ้น จำนวนผู้ป่วยลดลงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ แต่ในประเทศแถบแอฟริกากลางโดยเฉพ
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ