'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

26 ส.ค. 2567 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

การพัฒนาวัคซีนป้องกันฝีดาษ ได้มีการพัฒนามาโดยตลอดจนปัจจุบันเข้าสู่ Generation ที่ 3

ในอดีตให้ทรพิษสร้างปัญหามีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก คุณหมอเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ได้สังเกตว่าหญิงรีดนม ติดฝีดาษวัวเป็นตุ่มที่มือ และเมื่อเกิดการระบาดของไข้ทรพิษ หญิงรายนี้ไม่เป็นโรค จึงใช้หนองฝีของฝีดาษวัว มาปลูกให้กับเด็ก เพื่อป้องกันไข้ทรพิษ สามารถป้องกันได้อย่างดี

วัคซีนใน Generation 1 จึงมีกระบวนการทำโดยการใช้เชื้อฝีดาษ Vaccinia ใส่เข้าทางผิวหนังของวัว และวัวก็จะติดโรค ในวันที่ 7 หลังรับเชื้อ ก็ล้มวัว และเอาน้ำเหลืองของวัว มาทำให้แห้งด้วยความเย็น เก็บไว้แล้วจึงค่อยมาละลาย ปลูกให้กับมนุษย์ ในหนองฝีที่เก็บไว้จะมีเชื้อฝีดาษวัว นับเป็นการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ กระบวนการทำดังกล่าว ที่ต้องคำนึงคือเรื่องความสะอาด สิ่งปลอมปนมากับน้ำเหลืองของวัว หรือชีววัตถุ แต่ก็ได้มีการใช้มายาวนานมาก จนให้ทรพิษหมดไป ต่อมาเมื่อมีการกล่าวถึงสงครามเชื้อโรค อาจจะมีการใช้ไวรัสไข้ทรพิษมาเป็นอาวุธ จึงมีการพัฒนาวัคซีนให้ดีขึ้น

วัคซีนใน Generation ที่ 2 ใช้กระบวนการเพาะเลี้ยงไวรัสในจานเพาะเลี้ยง แต่ก็ยังคงใช้ไวรัสชนิดเดียวกันอยู่ โดยแทนที่จะได้ไวรัสจากวัว ก็มาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยง สามารถกำหนดขนาดและปริมาณของไวรัสได้เป็นอย่างดี และความปลอดภัยของการปนเปื้อนก็ดีกว่า แต่วิธีการสร้างภูมิต้านทานก็ยังใช้วิธีการปลูกฝี การปลูกฝีมีอาการข้างเคียงหลายอย่างนอกจากเป็นแผลแล้ว เชื้อหนองฝีอาจจะกระจายโดยเฉพาะคนภูมิต้านทานต่ำ หรือกระจายไปอยู่ที่อื่น จึงมีการพัฒนาวัคซีนต่อ

วัคซีนใน Generation ที่ 3 เป็นการใช้เชื้อตัวเดียวกันคือ Vaccinia เอามาทำให้อ่อนฤทธิ์จนเชื้อนั้นไม่สามารถก่อโรคในคนได้ ในกลุ่มนี้ยังมีการพัฒนาต่อโดยใช้เชื้อสายพันธุ์อ่อนฤทธิ์พัฒนาไม่ให้สามารถแบ่งตัวได้ เมื่อแบ่งตัวไม่ได้ก็ไม่สามารถที่จะก่อโรคได้ และวิธีการให้จึงเป็นการฉีด และต้องให้ถึง 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน อย่างที่วัคซีนที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ยังอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้ผลิต จึงมีราคาแพงมาก

อย่างไรก็ตามวัคซีนทุกชนิดมีอาการข้างเคียง และอาการข้างเคียงของวัคซีนฝีดาษในอดีต ที่มีการกล่าวถึงอาการข้างเคียงที่รุนแรง คือหลังให้วัคซีนเกิดสมองอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

วัคซีนในเจนเนอเรชันที่ 3 ที่ใช้กันอยู่นี้ เป็นการพัฒนาไวรัสให้ออกฤทธิ์ และไม่สามารถแบ่งตัวได้ แต่ก็ยังเป็นวัคซีนที่ค่อนข้างใหม่ การเกิดอาการข้างเคียงคงจะต้องติดตามหลังการใช้เป็นจำนวนมาก

วัคซีนมีราคาแพงและอาจเกิดอาการข้างเคียงได้ ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงให้วัคซีนเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูงเท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ

ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์

'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค