จากกระแสหมูแพงไก่แพงทำให้หลายคน กำลังมองหาแห่งโปรตีนทดแทน กรณีนี้มีคำแนะนำจาก “อ.สง่า ดามาพงษ์” นักโภชนาการและที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ว่า “ ต้องบอกว่าสำหรับการบริโภคเนื้อหมูนั้น จะให้แหล่งสารอาหารที่หลากหลายตัว คือให้ทั้งโปรตีนรวมถึงไขมัน ประกอบกับถ้าเรายึดหลักการที่ว่า จะกินอาหารอย่างไร เพื่อให้เราไม่ขาดสารอาหารนั้น เช่นถ้าไม่กินหมู แต่ก็ยังมีสารอาหารอื่นที่แทนได้ เช่น การบริโภค “เนื้อไก่” ที่ให้โปรตีนแทนเนื้อหมูนั่นเอง แต่ถ้าหากเราเลือกบริโภคเนื้อไก่แทนเนื้อหมู เราก็จะได้โปรตีนในปริมาณที่เท่ากับการบริโภคเนื้อหมู แต่เราก็จะได้ธาตุเหล็กที่อยู่ไก่ ซึ่งน้อยกว่าธาตุเหล็กที่อยู่ในเนื้อหมูนั่นเอง และถ้าหากในอนาคตเนื้อไก่มีราคาสูงขึ้นจริง แหล่งอาหารที่ให้โปรตีนอีกชนิดคือ “เนื้อปลา” ซึ่งปลาก็มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งปลาทะเล และปลาน้ำจืดที่เราจับได้ในชุมชนของเรา
นอกจากนี้แหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูงอีกอย่างคือ “ถั่วเมล็ดแห้ง” ที่หลายคนนึกไม่ออกว่าคืออะไรนั้น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองที่ใช้ปรุงอาหารคาว อย่าง เต้าหู้หลอด เต้าหู้เหลือง เต้าหู้ขาว หรือถ้าเป็นอาหารว่างหรือขนมหวานแบบไทยๆ ที่ทำจากถั่วเหลืองที่ให้โปรตีนสูงได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมเต้าส่วน ขนมถั่วกวน ในส่วนของการกินโปรตีนที่ได้จากไข่ หากว่าไข่แพงขึ้นนั้น ให้ลองหันมา “ดื่มนม” เราก็จะได้โปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย และถ้าใครที่ดื่มนมอยู่แล้วก็ให้ดื่มเพิ่มขึ้นอีกนิด
“มุมมองส่วนตัวในฐานะนักโภชนาการมองว่า การที่เนื้อหมูขึ้นราคานั้น ซึ่งถ้ามองในแง่ของความเป็นจริงแล้ว โดยทั่วไปถ้าเราทำกับข้าวกินเองที่บ้าน ก็สามารถเลือกเนื้อสัตว์ชนิดอื่นมาปรุงอาหารเพื่อทดแทนเนื้อหมูเนื้อไก่ได้ หรือพูดง่ายๆว่าในกลุ่มของคนที่มีฐานะปานกลาง ซึ่งไม่ใช่คนยากจน การขึ้นราคาเนื้อหมู อาจจะไม่กระทบต่อรายได้มากนัก หากว่าคนที่มีฐานะปานกลางปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เพราะอย่าลืมว่าการซื้อเนื้อหมู ในราคากิโลกรัมละประมาณ 200 บาท แต่นั่นจะทำให้สมาชิกในบ้าน 3-4 คนได้กินเนื้อหมูที่ค่อนข้างพอดีกับความต้องการ หรือไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายคนกลุ่มนี้มากนัก หากว่าครอบครัวนั้นไม่ได้ติดเนื้อหมู หรือต้องกินหมูเป็นอาหารหลักอย่างเดียว แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงๆคือกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ที่ปรุงอาหารสดขาย ที่ต้องซื้อเนื้อหมูทีละหลาย 10 กิโลกรัม ซึ่งนั่นก็อาจจะกระทบต่อผู้บริโภค ที่เวลาซื้ออาหารรับประทาน ก็จะได้เนื้อหมูน้อยชิ้นลง
ดังนั้นวิธีแก้ไขถ้าคุณเป็นกลุ่มที่ทำกับข้าวไม่เป็น หรือไม่นิยมปรุงอาหารรับประทานเอง การรับมือที่สำคัญ หากต้องออกไปกินอาหารนอกบ้านนั้น เช่น หากเนื้อหมูแพงขึ้น ก็ให้เปลี่ยนมากินเนื้อปลาแทน โดยการสั่งก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาแทนก๋วยเตี๋ยวหมู หรือ เปลี่ยนมากินลาบไก่แทนลาบหมู หรือกินส้มตำไก่ย่างแทนคอหมูย่าง เป็นต้น
โดยสรุปแล้วทางออกของปัญหาราคาหมูแพงไก่แพงนั้น เราสามารถฉวยเอาช่วงวิกฤตนี้มาพลิกให้เป็นโอกาส เพื่อให้เราได้กินอาหารที่หลายหลาย และยังครบหมู่เหมือนเดิม เช่น ถ้าหมูแพง ไก่แพง ก็เปลี่ยนมาบริโภค เนื้อเป็ด เนื้อวัว กุ้ง หอย ปู ปลาแทน ถ้าหากว่าเราสามารถถบริโภคอาหารกลุ่มเหล่านี้ หรือหันมาดื่มนมเพื่อให้ได้โปรตีนทดแทนการกินเนื้อหมู เพราะอย่าลืมว่าชีวิตของเราไม่ได้อยู่ที่เนื้อหมูเพียงอย่างเดียว แต่เรายังสามารถพลิกแพลง ไปรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ที่ให้สารอาหารเช่นเดียวกับหมูได้ ยกตัวอย่างชาวมุสลิมที่บริโภคอาหารเจ เขาก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยที่ไม่ต้องกินเนื้อสัตว์ ดังนั้นถ้าเรารู้จักปรับกายปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ เราก็จะมีชีวิตที่สดใสและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่เป็นกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากนัก เพียงแค่เรารู้จักการปรับตัวครับ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อึ้ง ! ความเหงา-โดดเดี่ยว ภัยเงียบที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว
เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening” เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ด้วย
“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.
“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center
คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67
รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์
ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค
นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน
ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร
สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร