เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

28 มิ.ย. 2567 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

ถกเถียงกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านที่เมืองนอก แต่ชาวเราโดยเฉพาะมนุษย์เดินดินคงไม่ต้องเถียง เพราะต้องเดินอยู่แล้ว ไปทำงานจนกระทั่งถึงกลับบ้าน แม้ว่าบางระยะทางจะใช้รถประจำทางหรือวินมอเตอร์ไซค์ก็แล้วแต่

ฝรั่งฝ่ายเชียร์ตอนเช้า (early-day chronotype) คือตื่นตั้งแต่เช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ออกกำลังกายขณะยังไม่ต้องกินข้าวเช้าและเมื่อกินแล้วก็จัดการงานธุระต่างๆ ที่ขวางหน้า และสบายตอนบ่าย เย็นไปนอนตอนสามหรือสี่ทุ่ม

ฝรั่งด้านขั้วสาย บ่ายเย็นกลางคืน (late chronotype) ตื่นสายหน่อย เครื่องร้อนช้าเลยจัดการทุกอย่างตรงข้ามกับขั้วเช้า และให้เหตุผล โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวานอยู่ด้วยว่า หลังจากที่กินข้าวไปแล้วจะได้ออกกำลังไปเลย

แต่จากการสังเกตทั่วไปพบว่า กลุ่มเช้าท่าทางจะกระปรี้กระเปร่ามากกว่า และมีแรงผลักดันให้ออกกำลังสม่ำเสมอ และการทำงานจะไม่เฉื่อย เดินไปมา มีกิจกรรมกายไม่หยุดหย่อน

วันที่ 17 สิงหาคม 2023 ในการประชุมของสมาคมเบาหวานของอเมริกา การออกกำลังตั้งแต่เช้าในขณะที่ยังไม่ได้กินข้าวจะทำให้มีการเผาผลาญไขมันได้ดีและคุมน้ำหนักได้ รวมทั้งมีการปรับกล้ามเนื้อให้แข็งแรงทนทานอีกทั้งทำให้คุมเบาหวาน (แบบที่ 2) ได้ดีขึ้น

ข้อโต้แย้งในงานเดียวกันอ้างงานที่ตีพิมพ์ใน Canadian Science Publishing และในวารสาร Sports Medicine พบว่าการออกกำลังระดับเบาถึงกลางหลังจากที่กินอาหารไปแล้ว จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงขึ้นมากแม้จะเป็นคนเบาหวาน หรือกำลังจะเป็นก็ตาม

ทั้งนี้การออกกำลังหลังกินข้าวโดยเฉพาะในช่วงบ่าย ยังได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลของการศึกษา Look AHEAD trial ในวารสาร Diabetes Care ของอเมริกา โดยที่ติดตามผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานประเภทสองจำนวน 2,400 คน ออกกำลัง ระหว่าง 13.43 ถึง 17.00 น. ในระดับความเข้มข้นปานกลางถึงสูง (อันนี้เหนื่อยเลย) ผ่านไปสี่ปี สุขภาพการควบคุมเบาหวานและระบบหัวใจและเส้นเลือดดีขึ้น ตั้งแต่หลังหนึ่งปี และในบางส่วนนั้นถึงกับทำให้เบาหวานนั้นสงบลง โดยที่ไม่ต้องใช้ยา เบาหวาน ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลด้วยซ้ำ

เมื่อดูตามนี้ จะพบว่าที่เถียงกันจากนักวิชาการโดยที่ตัวตั้งต้องมีค่าตายตัว และมีการวัดผลชัดเจน โดยลดตัวแปรให้มากที่สุด อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย สำหรับมนุษย์ที่มีความหลากหลายและอาจไม่ชอบความจำเจ หรืออาจจะเลือกเวลาที่สะดวกสำหรับตนเองและเพื่อนฝูงครอบครัว

ทั้งนี้เพราะขึ้นกับเวลาสะดวกของแต่ละคน โดยที่อาจจะไม่สามารถปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนเดิมได้ทุกวัน และมีกิจวัตรหน้าที่การงานอย่างอื่นเข้ามาประกอบด้วย

กลับมาถึงมนุษย์คนไทยครับ พวกเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มคนที่มีฐานะจำกัด อาจจะเป็นคนที่แข็งแรงที่สุดก็ว่าได้

ทั้งนี้ไม่สามารถนั่งทอดหุ่ย เนือยนิ่ง คอยชี้นิ้วสั่งให้บริวารทำนั่นทำนี่อีกทั้งจะไปไหน มีรถบริการแทบไม่ต้องเดิน จนอาจจะเดินเพียงวันละสองถึง 300 ก้าวเท่านั้น (ขอ 10,000 ก้าว)

ชาวเราที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ อย่าได้น้อยเนื้อต่ำใจและทำใจให้สบาย และให้ตระหนักว่ากิจกรรมกายกระฉับกระเฉงที่ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ กลับสร้างเสริมสุขภาพและต่อสู้โรค

แต่ต้องไม่อ้างว่า….เดินมาเหนื่อย ตัองกินขนม ต้องกินแป้ง กินข้าว กินของหวานเยอะๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการทำร้ายตัวเองไปอีก (หมอรู้นะ เพราะก็เคยทำ).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว! ทูตสหรัฐส่งหนังสือจี้ 'เศรษฐา' เร่งซื้อเอฟ-16

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ส่งหนังสือถึงนายกฯ เร่งเครื่องโค้งสุดท้ายดัน เอฟ-16 เสนอเงินกู้ยืม 9 ปีแต่เสียดอกเบี้ย -การค้าต่างตอบแทนกับไทย ก่อน ทอ. ฟันธงเลือกแบบในเร็วๆ นี้

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด

'ผบ.ทอ.' ยังไม่เคาะ 'กริพเพน-เอฟ16' จ่อตั้ง กก.คัดเลือกแบบ

'ผบ.ทอ.' ยังไม่เคาะ ‘กริพเพน-เอฟ16’ เปิดโอกาส 2 ค่าย ยื่นข้อเสนอเพิ่ม หลังเยือน ‘สวีเดน-สหรัฐ’ เตรียมตั้ง กก.คัดเลือกแบบฯ พร้อมแจง กมธ.งบปี 68 ให้เห็นถึงเหตุผล-ความจำเป็น