'หมอธีระวัฒน์' ประกาศลาออกจาก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่

26 เม.ย.2567 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า

เรียนทุกท่านครับ

เนื่องจากมีความกังวลจากองค์กร ว่าหมอเอง ทางสังคมมีการใช้ชื่อขององค์กรในการให้ความเห็น เรื่องของวัคซีน / เรื่องของไวรัสตัดต่อพันธุกรรม และเรื่องอื่นๆ

ดังนั้น หมอได้ ลาออกจากหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ แล้วครับ ในวันที่ 25/4
และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ในฐานะกลุ่ม แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง

(ยังคงเป็นอาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา โดยไม่รับค่าตอบแทน)

ด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความว่า

หมอธีระวัฒน์ลาออกจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ ไม่ใช่ความพ่ายแพ้ แต่เพื่อชัยชนะทาง “อิสรภาพ”ในการ “พูดความจริง” เดินหน้าต่อร่วมจัดเสวนา “อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด” หอศิลป์กรุงเทพ 3 พ.ค.นี้

ตามที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้วยเหตุผลว่า

“เนื่องจากมีความกังวลจากองค์กร ว่าหมอเอง ทางสังคมมีการใช้ชื่อขององค์กรในการให้ความเห็น เรื่องของวัคซีน /เรื่องของไวรัสตัดต่อพันธุกรรม และเรื่องอื่นๆ“

ขอให้กำลังใจแด่ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ได้มีความกล้าหาญและเสียสละในการตัดสินใจครั้งนี้

การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ใช่เป็นความพ่ายแพ้ หากแต่เป็นชัยชนะในการประกาศอิสรภาพเพื่อพูดความจริงให้ได้ตรงประเด็นได้มากยิ่งขึ้น ในฐานะ ”ศาสตราจารย์นายแพทย์“ ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท

และในฐานะ “กลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง”

และการลาออกครั้งนี้ไม่ได้ทำให้การทำหน้าที่ของศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑาหายไป เพราะวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จะยังคงเดินหน้าและเคียงข้างในการนำเสนอความจริงและทางออกให้กับประเทศ ร่วมกับศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ต่อไป

ดังนั้นการจัดกิจกรรมระหว่างศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา กับวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตจะยังคงเดินหน้าต่อไปในทางวิชาการเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยความจริงที่เข้มข้นกว่าเดิม

ดังนั้นจึงจะขอแจ้งตัดชื่อหรือโลโก้ในภาพการประชาสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โดยได้นำแถบดำมาปิดโลโก้ทั้งหมดด้านล่างเอาไว้แล้ว สำหรับการจัดเสวนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นี้ คงเหลือแต่ “วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต”เท่านั้น ที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานนี้เอง

ดังนั้น ช่วยกันแชร์ และขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมเสวนาครั้งที่ 2 ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ วันที่ 3 พ.ค. เปิดข้อมูลและความจริงชัดเจนยิ่งขึ้น ในหัวข้อ “อันตรายจากวัคซีนร้ายแรงกว่าที่คิด”

โดย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต จัดคลินิกแพทย์เคลื่อนที่ และการเสวนา ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด”

ในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน

ในงานพบกับ
10.00 น.-13.00 น. หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดให้คำปรึกษาและรักษาเบื้องต้น ภาวะลองโควิด และ ผลกระทบจากวัคซีน โควิด-19 ด้วยการบูรณาการ ศาสตร์การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และธรรมชาติบำบัดฟรี

13.00 น.-17.00 น. งานเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “อันตรายจากวัคซีนโควิด-19 ร้ายแรงกว่าที่คิด“ โดย

ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท

นายแพทย์ อรรถพล สุคนธาภิรมย์ กลุ่มแพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์

อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
และผู้เข้าร่วมเสวนาอีกหลายท่าน

จึงขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชน ผู้ป่วย และพี่น้องประชาชนที่สนใจหรือต้องการให้กำลังใจ หรือแบ่งปันข้อมูล เข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น

บิดสะบัดคอระวังอัมพฤกษ์! ‘หมอธีระวัฒน์’ แนะวิธีแก้เมื่อยคอด้วยตัวเองที่ถูกต้อง

เรื่องใกล้ตัวที่เป็นท่าบริหารประจำหรือที่ทำ เวลาเมื่อย หรือเป็นกระบวนการในการนวดคลายเมื่อย ดัดเส้น รวมทั้ง เป็นกรรมวิธีในการบำบัดทางกายภาพและจัดกระดูก

'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง

ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?