'หมอธีระวัฒน์' เลิกพูดถึงเรื่อง 'white clot' แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีน

21ก.พ. 2567- ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

ประกาศให้ทราบทั่วกันนะครับ

เนื่องจากเรื่องของ white clot กับวัคซีน เป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างและโต้แย้งกันอย่างมาก ทั้งเอาหลักฐานที่จะดิสเครดิตตัวบุคคลรวมทั้งเจ้าของช่อง YouTube ว่าเป็น คนต่อต้านวัคซีน (รวมทั้งตัวหมอเองด้วย) ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

และท่านก็เป็นอาจารย์ทางการพยาบาลแต่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทางการแพทย์และศาสตราจารย์ของประเทศอังกฤษมาอย่างยาวนานและในระบบ NHS

หมอจะเลิกพูดถึงเรื่องwhite clot นี้ เพราะได้ให้เรื่องราวตามนั้นแล้ว

แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีนที่มีผลต่อการเสียชีวิตความพิการที่เราดูแลอยู่โดยจุดประสงค์เพื่อการรักษาเยียวยาผู้ป่วยและครอบครัวและเพื่อให้วัคซีนที่เราต้องใช้นั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดอย่างที่ต้องเป็นตามมาตรฐานครับ

บทความและข้อความที่เผยแพร่ไม่เข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคนป่วย
หมอไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ สามารถตรวจสอบได้ว่าไม่เคยรับเงินในการ promote หรือมีเอี่ยวกับสถาบันใด หรือผลิตภัณฑ์ใด

ในส่วนของการได้รับเงินจากโรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิทจากการให้คำแนะนำทางวิชาการเรื่องทางสมองและเงินจำนวน 200,000 บาทนั้น ให้ส่งให้มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์จุฬาเพื่อนำมาใช้ในงานวิจัยและบุคลากรที่ทำงานวิจัยโดยมีหลักฐานชัดเจน

ขอบพระคุณทุกท่าน เป็นอย่างสูงครับ

ก่อนหน้านั้น ศ.นพ.ธีระวัฒน์ โพสต์ เรื่อง ที่มา และความสำคัญของ white clot และวัคซีนโควิด mRNA ว่า

1- พบ ในกลางปี 2021 โดยที่ก่อนหน้านี้ไม่เจอ แม้จะมีโควิดระบาด
2- วัคซีนที่ใช้ในโลกตะวันตกเริ่มประมาณกุมภาพันธ์ 2021
3- พบในคนป่วยทั้งที่ยังมีชีวิต จากการคีบออกมาจากเส้นเลือดหัวใจรวมทั้งปนอยู่ในน้ำในช่องท้องที่เห็นได้จากท่อระบายน้ำจากช่องท้อง และในคนป่วยหลังตายทันที
4- พบมากในศพคนที่“ตายทันที กระทันหัน ” และ มีตั้งแต่อายุวัยรุ่น จนถึงอายุ 30 ที่ปกติแล้วไม่ได้ พบ การตายกระทันหันเช่นนี้และยังลามไปถึงคนอายุ 50 และแน่นอน คนที่อายุมากกว่านี้ก็พบเช่นเดียวกัน
5- เจ้าหน้าที่จัดการศพที่ให้ข้อมูลเป็นคนที่ ผ่านการอบรมทางวิชาชีพเป็นทางการ และมีประสบการณ์หลาย 10 ปีขึ้นไปจนถึง นานกว่า30ปีโดยไม่พบเห็น white clot เช่นนี้มาก่อนที่จะมีการใช้วัคซีน
6- ในทั้งหมด ของเจ้าหน้าที่ 269 คน มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี ถึง 137 คนและทำงานมา 11 ถึง 20 ปีเป็นจำนวนถึง 60 คนด้วยกัน
ซึ่งสามารถที่จะวิเคราะห์ได้ว่าก้อนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของปกติหรือผิดปกติ
7-แต่ละคนนั้นทำการจัดการศพโดยเฉลี่ยปีละ 100 ศพ และมากสุดถึง 300 ต่อปี
8-ในปี 2023 มี white clot ในศพ ประมาณ 20%
และ 73% หรือ เจ้าหน้าที่ 197 คน ที่พบแท่งยาวสีขาวนี้ในศพ และอีก 72 คนหรือ 27% ไม่พบ
โดยทั้งหมดพบในช่วงประมาณกลางปี 2021 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ทั้งสิ้น
แต่เจ้าหน้าที่ทั้งหมดไม่พบลักษณะนี้ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโควิดและก่อนหน้าที่มีการใช้วัคซีนโควิด
เจ้าหน้าที่หกรายพบลักษณะผิดปกติเช่นนี้ใน 81 ถึง 100% ของศพ
เจ้าหน้าที่ 11 รายพบ 61 ถึง 80% ของศพ
และ 29 รายพบ 41 ถึง 60% ของศพ
48 รายพบ 21 ถึง 40% ของศพและ 112 รายพบหนึ่งถึง 20% ของศพ
ทั้งนี้อาจจะเป็นความเกี่ยวข้องกับพื้นที่และปัจจัยอื่นๆของคนที่เสียชีวิต
9- และนอกจากนั้นในปี 2023 ยังพบลักษณะของ micro-clotting/coffee grounds/dirty bloods ประมาณ 25% โดยที่พบน้อยกว่า 5% ก่อนหน้าโควิดและก่อนหน้าที่มีการใช้วัคซีนโควิด
10- ลักษณะของ white clot นั้น เหมือนกับถูกหล่อมาจากเส้นเลือดไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดดำหรือแดงมีลักษณะเป็นแท่งหรือเป็นเส้น ในเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่และขนาดกลางโดยมีความเหนียวยืดหยุ่นได้และมีความยาวเป็นฟุต ไม่เหมือนกับก้อนหรือแท่งตามปกติที่พบหลังการตายที่มีมีหลายลักษณะตามระยะเวลาหลังจากที่เสียชีวิต
11- จากการที่สามารถพบได้ในคนที่ยังไม่ตายและกำลังจะตายซึ่งช่วยชีวิตไม่ทันและตายใหม่ๆ จึงเป็นที่มาของข้อสันนิษฐานว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่เป็นสาเหตุของการตายโดยเฉพาะที่เป็นการตายกระทันหันที่เกิดจากหลอดเลือด ร่วมกับความสามารถของวัคซีนโควิดที่ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดอยู่แล้วรวมกระทั่งถึงอวัยวะอื่นๆและหัวใจโดยที่ในหัวใจนั้นพิสูจน์แล้วว่าเกิดจากมีกระจุกหย่อมการอักเสบ ที่ตัดทางเดินไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ

รูปในวิดีโอจากต่างประเทศส่งมาจากคุณหมอรุ่นน้องที่ติดตามเรื่องนี้ ขอบคุณมากครับ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

'หมอธีระวัฒน์' เทียบผลกระทบวัคซีน 'แอสตร้า' กับ วัคซีนตัดต่อพันธุกรรม เท่ากับเด็กประถม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'หมอธีระวัตน์' เผย 'แอสตร้าเซนเนก้า' รับครั้งแรก วัคซีนโควิด มีผลข้างเคียง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า