'ดร.ปริญญา' เปิด 4 กรอบนโยบาย ชิงเก้าอี้อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์

31 ม.ค.2567- ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ความในเฟซบุ๊ก เรื่อง ธรรมศาสตร์จะไปทางไหน และ ใครจะเป็นอธิการบดีคนต่อไป 2 มีเนื้อหาดังนี้

การเสนอตัวเพื่อสร้างแพลตฟอร์มในการกำหนดอนาคตของธรรมศาสตร์ ผมมีกรอบนโยบาย 4 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ

1. มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน : ธรรมศาสตร์ควรต้องกลับไปเป็นธรรมศาสตร์อย่างที่เคยเป็น คือมหาวิทยาลัยที่เป็นบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร มหาวิทยาลัยที่สอนนักศึกษาให้รักประชาชน มหาวิทยาลัยที่ทำเพื่อประชาชน เอาโจทย์ปัญหาของประชาชน ปัญหาของประเทศ ปัญหาของสังคม ดังเช่นปัญหาความเหลื่อมล้ำ เป็นโจทย์ในการวิจัยและในการเรียนการสอน และกลับไปเป็นผู้นำทางสังคมในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหา

2. ยุทธศาสตร์ทำดักหน้า : การทำตามหลังไม่อาจทำให้ธรรมศาสตร์ตามไปทันมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ เพราะเราไม่ได้วิ่งเร็วกว่าเขา และต่อให้ไปถึงได้ เขาก็ไปที่อื่นต่อแล้ว การจะทำให้ธรรมศาสตร์ตามทันและแซงได้ ต้องใช้วิธีวิ่งไปดักข้างหน้า คือรู้ทิศทางว่าเขาจะไปไหน เราก็วิ่งลัดไปดักหน้า ซึ่งทิศทางของโลกในขณะนี้มี 3 เรื่องคือ AI สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การทำในเรื่องที่เขายังไม่ทำ ธรรมศาสตร์ก็จะกลายเป็นผู้นำ ดังเช่นที่เราเคยทำในเรื่องหลังคาโซลาร์เซลล์เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ที่ทำให้ธรรมศาสตร์เป็นอันดับหนึ่งของของเอเชีย และอันดับ 3 ของโลก หรือสวนหลังคาอาคารป๋วย 100 ปีที่ได้รางวัลระดับโลกมากมายและทำให้ธรรมศาสตร์มีชื่อเสียงในเวทีโลก

3. พัฒนาศักยภาพทุกคนให้ไปไกลที่สุด : ธรรมศาสตร์คือที่ที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา เจ้าหน้าที่ และอาจารย์ จะได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาตนเองให้ไปไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ โดยมีความสมดุลทั้งความเป็นเลิศ ความทั่วถึงเท่าเทียม คุณภาพชีวิต และความสุขในการทำงานและการเรียนรู้

การทำงานหนักเกินไป หรือเรียนหนักเกินไปเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข ชาวธรรมศาสตร์ต้องมีภาระงานน้อยลง แต่บรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น โดยทำงานอย่างฉลาดมากขึ้น (work smarter, not harder) ซึ่งไม่ใช่การลดเป้าหมาย หรือลดความเป็นเลิศ แต่เป็นการลดการทำงาน เลิกงานที่ทำมากได้น้อย มาเป็นการทำน้อยได้มาก งานกรอกเอกสารมากมายน่าเบื่อหน่ายต้องมีให้น้อยที่สุด งานซ้ำซ้อนซ้ำซากไม่มีคุณค่าต่อชีวิตให้เอไอและหุ่นยนต์ทำ เพื่อให้ชาวธรรมศาสตร์มีเวลาให้กับศิลปะ ดนตรี กีฬา และนันทนาการต่างๆ ได้มากขึ้น

4. ผู้บริหารแนวราบ และสร้างประชาธิปไตยในที่ทำงาน : ผู้บริหารธรรมศาสตร์ต้องเป็นผู้นำที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่เจ้านาย สร้างประชาธิปไตยในที่ทำงานซึ่งธรรมศาสตร์จะต้องเป็นผู้นำ พร้อมกับสร้างประชาคมธรรมศาสตร์ที่เข้มแข็ง ทุกคนคือทีมธรรมศาสตร์โดยไม่แบ่งพรรคพวก โดยมีแพลตฟอร์มให้ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมกำหนดอนาคตมหาวิทยาลัย รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวทีมงานของอธิการบดี

ทั้ง 4 ประการคือกรอบนโยบายที่ผมจะใช้ในการทำงาน และในการ ‘เดินทาง’ ไปพูดคุยกับประชาคมธรรมศาสตร์ ทั้งคณะ หน่วยงาน อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เพื่อช่วยกันสร้าง ’นโยบายสาธารณะ‘ ที่จะกำหนดอนาคตของธรรมศาสตร์ร่วมกัน ผมจะ ‘เดินทาง‘ อย่างไรโปรดติดตามฉบับที่ 3 ครับ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม ไม่ควรเสียเลือดเนื้อกันอีก ต้องทำให้รธน.เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ที่อนุสรณ์สถานฤษภาประชาธรรม สวนสันติพร ถนนราชดำเนิน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา' 35 จัดงาน ‘รำลึก 32 ปี พฤษภาประชาธรรม 2535’

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ

'อ.ปริญญา' โต้แย้งคำพิพากษา ไม่ควรตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 'ช่อ' ตลอดชีวิต

'อ.ปริญญา'โต้แย้งคำพิพากษาตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง'ช่อ' ชี้เป็นการตีความรัฐธรรมนูญของผู้มีอำนาจหน้าที่ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อน ไม่ใช่เกิดขึ้นหลังมาตรฐานจริยธรรมประกาศใช้ จึงไม่ควรตัดสิทธิตลอดชีวิต

'ดร.ปริญญา' ยกรธน.มาตรา159 ชี้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ 'ญัตติ'

'ดร.ปริญญา'ยกรธน.มาตรา159 ชี้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ 'ญัตติ' เป็นกระบวนการได้มาซึ่งนายกฯยันเสนอชื่อ'พิธา'รอบสองได้ อัดส.ว.เอาข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ

นักเขียนค่ายผู้จัดการ แนะ ดร.ปริญญา ช่วยหยกเข้าเรียนที่สาธิตธรรมศาสตร์

นายสุรวิชช์ วีรวรรณ คอลัมนิสต์ประจำเครือผู้จัดการ แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก Surawich Verawan ถึงกรณี "หยก ธนลภย์" อายุ 15 ปี แนวร่วมกลุ่มต่อต้านสถาบันฯ ซึ่งกำลังตกเป็นกระแสร้อนแรงจากการทำผิดกฎระเบียบ ทำให้ไม่