'หมอธีระวัฒน์' แนะกลยุทธ์ 'สมองใส'

29 ม.ค. 2567 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กลยุทธ์ สมองใส

วารสาร frontiers Neuroscience กรกฎาคม 2023

คนอายุ 60 ถึง 85 สุขภาพร่างกายปกติและมีการประเมินความจำ โดยให้ได้กลิ่นเครื่องหอมระเหย (odorant diffuser) คืนละ 2 ชั่วโมง ได้แก่ เช่น กลิ่นกุหลาบ ส้ม ยูคาลิปตัส มะนาว เปปเปอร์มินท์ โรสแมรี่ ลาเวนเดอร์

ผ่านไปหกเดือนตรวจสอบพบว่า ความจำดีขึ้น 226% และยืนยันจากการประเมิน ประสิทธิภาพของเส้นใยประสาท พบว่ามีการเชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนหน้า orbitofronatal cortex เข้ากับสมองส่วนความจำ temporal lobe โดยผ่านทาง uncinate fassciculus

แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าประเภทของอาหาร ผัก ผลไม้กากไย ถั่ว ธัญพืช งด ลดเนื้อสัตว์ ทานปลาได้ ลดแป้ง ร่างกายและสมองจะยิ่งสดใสขึ้นไปอีก โดยที่ลักษณะของอาหารเป็นอาหารช่วยชีวิตและสมอง ซึ่งถ้าร่างกายดีจะส่งผลทำให้มีการปกป้องสมองด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากจะไม่มีการสร้างสารอักเสบขึ้นจากลำไส้ โดยที่ถ้ามีจุลินทรีย์ไม่ดี จากการที่กิน “อาหารทำลายชีวิต” ไม่ใช่ อาหารช่วยชีวิต

การกินเนื้อสัตว์บก แป้ง ของหวาน จะเกิดการผลิตสารอักเสบจากจุลินทรีย์ไม่ดี ทำให้ผนังเยื่อบุลำไส้รั่ว การอักเสบหลั่งไหลไปทั่วร่างกาย เกิดความผิดปกติของเส้นเลือดในร่างกายและเส้นเลือดในสมอง ซึ่งจะเร่งกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ “รอบสอง” ในสมองและกระตุ้นการสร้างโปรตีนพิษบิดเกลียวในสมอง โดยไม่สามารถคลี่เกลียวหรือขับทิ้งไปได้อย่างหมดจด

และทำให้เซลล์สมองเกิดความผิดปกติตามลำดับขั้นตอน ทางเมตาบอลิซึม จนเกินระดับที่จะทนทานได้ ทำให้เริ่มมีความแปรปรวนของการทำงานหน้าที่ของสมอง และต่อไปมีผลกระทบในโครงสร้างของเซลล์สมองจนกระทั่งมีความเสียหายถาวร (Micro และ macrocellular damage)

อาจเป็นไปได้ว่ากลยุทธ์ในการดำเนินชีวิตไลฟสไตล์ดังข้างต้น จะสามารถช่วยป้องกันพยาธิสภาพหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในสมองได้จริง เพราะการฝ่อเหี่ยวนั้นช้าลงอย่างชัดเจน แต่ก็เป็นไปได้ที่จะมีการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสื่อสารส่งต่อข้อมูลกันในระหว่างเซลล์สมองในบริเวณเดียวกันและบริเวณต่างๆ ทั้งสมอง โดยผ่านเส้นใยประสาท ดังที่แม้ ได้กลิ่นหอมระเหย เวลานอนทำให้มีความสุข ก็ยังช่วยได้ แม้ว่าเราจะตัดประเด็นของการที่มียีนพิเศษของมนุษย์อยู่ด้วยก็ตาม

แต่ข้อมูลทั้งหลายจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ยังคงยืนยันว่าแม้เกิดมาชะตาชีวิตไม่ดี แต่เราก็ยังสามารถเอาชนะได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด