'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

3 พ.ย. 2566 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L” ที่มีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามเพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งที่ “A475V” พบว่าจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและเข้าติดเชื้อในเซลล์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน

ยุทธวิธีล่าสุดของโควิด19 เพื่อความอยู่รอดคือการ “กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (L455F + F456L)” หรือ Flip mutation โดยพบโอมิครอนกลายพันธุ์ลักษณะนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปลายปี 2566 และคาดว่าจะเป็นกลุ่มสายพันธุ์หลักที่ระบาดในปีหน้า 2567

แรงกดดันจากภูมิคุ้มกันที่มนุษย์ได้รับจากการฉีดวัคซีน การใช้แอนติบอดีสำเร็จรูป และการติดเชื้อโควิด-19 ตามธรรมชาติ ส่งผลให้กลุ่มโอมิครอนเดิมมีการกลายพันธุ์แบบคู่และพลิกขั้ว(L455F/ L455S + F456L) หรือ Flip mutation เพื่อช่วยให้สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้นพร้อมไปกับเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะกับผิวเซลล์มนุษย์ ทำให้ไวรัสแทรกเข้าไปติดเชื้อในเซลล์ได้ดีกว่าโอมิครอนทุกสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อนหน้า

กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L” เช่น โอมิครอน HK.3.1, JD.1.1 ฯลฯ โดยสามารถจับกับผิวเซลล์ได้ดีขึ้นและหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนรุ่นใหม่ที่อาศัยเชื้อโอมิครอน XBB.1.5 เป็นต้นแบบในการผลิต (new monovalent SARS-CoV-2 variant vaccine)

ล่าสุดในกลุ่มของโอมิครอนที่ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (L455F + F456L) พบการกลายพันธุ์เพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งคือ “A475V” ที่พบในโอมิครอน BA.5 ที่สูญพันธุ์ไปแล้วร่วมด้วย เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน เช่น โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย FL.15.1.1 (XBB.1.9.1.15.1.1), JD.1.1 (XBB.1.5.102.1.1), GW.5.1.1 (XBB.1.5.102.1.1).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน