พบข้อมูล ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ถ้าติดเชื้อ ฝีดาษลิง พบเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง 27%

15 ส.ค. 2566 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่าถึงกรณี พบชายไทยเสียชีวิตรายแรกในไทย จากโรคฝีดาษลิง ซึ่งเป็นผู้ป่วย HIV

โดย ดร.อนันต์ ระบุว่า ข้อมูลนี้เอาตัวเลขมาจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Lancet มาตั้งแต่เดือนมีนาคมปีนี้ แสดงความรุนแรงของฝีดาษลิงในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยใช้ระดับของเม็ดเลือดขาว CD4 เป็นเกณฑ์ในการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มต่างๆ ข้อมูลในการศึกษานี้มีเยอะมาก แต่ประเด็นเรื่องความรุนแรงที่คนสนใจคือ อัตราการเสียชีวิต ซึ่งถ้าดูผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั้งหมดในการศึกษาชิ้นนี้ 27 คน มีจำนวนถึง 23 ราย อยู่ในกลุ่มที่มี CD4 ต่ำมาก และ มี 4 ราย มี CD4 ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์สูงเช่นกัน ในขณะที่ผู้ป่วยที่มี CD4 ตั้งแต่ 200 เซลล์ต่อ mm3 ยังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต

ผู้ป่วยทั้ง 382 คน ติดไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ที่ไม่มีอะไรแตกต่างกันว่าจะมีสายพันธุ์ไหนรุนแรงกว่ากัน ไวรัสชนิดเดียวกันถ้าสามารถทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 27% ในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV-1 ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง แต่สำหรับคนปกติอัตราการเสียชีวิตอาจต่ำมากจนทำให้ตัวเลขดูไม่น่ากังวล รักษาหายได้ อาการไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต ความเชื่อดังกล่าวมีส่วนทำให้ไวรัสแพร่กระจายไปมากขึ้นโอกาสที่จะไปติดคนกลุ่มแรกก็จะสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

อาจารย์หมอจุฬาฯ ห่วง ‘ฝีดาษลิง’ มากขึ้นจะควบคุมยาก แนะใส่ใจสุขภาพ

ย่างก้าวของฝีดาษลิงนั้นมีแนวโน้มจะเดินตามรอยเอชไอวี/เอดส์ เพราะ mode of transmission หลักนั้นคือการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อย่างไรก็ตามจะควบคุมโรคได้ยากกว่า