'บิ๊กตู่' ชื่นชมเอ็มโอยูไทย-ญี่ปุ่นทำวิจัยมะเร็งทางคลินิกข้ามพรมแดนครั้งแรกของโลก

นายกฯ ชื่นชมความร่วมมือกันระหว่างไทย- ญี่ปุ่น ผ่านโครงการวิจัยทางคลินิกระหว่างประเทศ ยกระดับการศึกษาวิจัย ยาโรคมะเร็งจากจีโนมิกส์ทางการแพทย์ พัฒนายาที่เหมาะสมในการรักษา

29 มิ.ย.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางคลินิกสำหรับโรคมะเร็งระหว่างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์มะเร็งแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นการทำวิจัยทางคลินิกแบบข้ามพรมแดนระหว่างประเทศครั้งแรกของโลก พร้อมส่งเสริมโครงการวิจัยทางคลินิกระหว่างประเทศ (cross-border Decentralized Clinical Trials: DCTs) เพื่อพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วย

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์มะเร็งแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางคลินิกสำหรับโรคมะเร็ง เพื่อศึกษาวิจัยแนวทางใช้ในการรักษา ทั้งของแพทย์ไทยและญี่ปุ่น โดยจะเน้นการศึกษาวิจัยในเรื่องจีโนมิกส์ทางการแพทย์ โดยดูความเหมาะสมของตัวยากับยีน (Gene) หรือรหัสพันธุกรรม (Genetic code) เพื่อให้ทราบถึงชนิดของมะเร็ง และวางแผนในการรักษา ป้องกันความรุนแรงและการเกิดโรคซ้ำ เนื่องจากปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง 19 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 9.6 ล้านคน ซึ่งอาจเป็นผลสืบเนื่องจากยาและแนวทางการรักษาที่ไม่สัมพันธ์กับผู้ป่วย โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ได้กำหนดขอบเขตให้ศูนย์มะเร็งแห่งชาติญี่ปุ่นจัดทำและดำเนินการวิจัยทางคลินิก ขณะที่กรมการแพทย์จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจฯ รวมถึงฝ่ายไทยจะออกใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะชั่วคราวให้แก่แพทย์ชาวญี่ปุ่นที่รับผิดชอบดำเนินโครงการวิจัยทางคลินิกในสองประเทศ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นการทำวิจัยทางคลินิกแบบข้ามพรมแดนระหว่างประเทศครั้งแรกของโลก

สำหรับประโยชน์ของโครงการวิจัยทางคลินิกระหว่างประเทศครั้งนี้ ได้แก่ 1.ผู้ป่วยในประเทศไทย ซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าร่วมการวิจัยทางคลินิก จะได้รับโอกาสเข้าร่วมการวิจัยทางคลินิกที่ดำเนินการในประเทศญี่ปุ่น 2.การวิจัยทางคลินิกในประเทศญี่ปุ่นอาจมีจำนวนผู้ป่วยมาเข้าร่วมในโครงการไม่เพียงพอ การวิจัยจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อมีผู้ป่วยจากประเทศไทยเข้าร่วมในโครงการ และ 3.การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยทางคลินิกผ่านระบบออนไลน์ จะทำให้กระบวนการติดตามการดำเนินโครงการวิจัยในประเทศไทยเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายและทรัพยากรในการทำวิจัย

“นายกฯ ชื่นชมความร่วมมือทางการแพทย์ของทั้งสองประเทศ ในการร่วมวิจัยเพื่อการหาแนวทางการรักษาโรคมะเร็งให้เกิดความเหมาะสมไปในแต่ละบุคคล นำไปสู่การทำวิจัยทางคลินิกแบบข้ามพรมแดนระหว่างประเทศครั้งแรกของโลก โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของประชาชน เชื่อมั่นว่าเมื่อประชาชนสุขภาพดี อัตราการพัฒนาประเทศจะสูงขึ้น และลดค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้ ความร่วมมือกันนี้ จะเพิ่มศักยภาพของบุคคลากรไทย พัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วยในอนาคต”นายอนุชากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลต่อยอดยุค'ลุงตู่'สั่งเดินหน้ากระชับสัมพันธ์ซาอุฯ

นายกฯ ติดตามการทำงาน และสั่งการเดินหน้ากระชับสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ หลังการจัดงานประชุมภาคธุรกิจ Thai-Saudi Investment Forum จับคู่เจรจาธุรกิจกว่า 100 คู่ พร้อมเปิดสำนักงาน BOI ณ กรุงริยาด

ยกระดับการรักษามะเร็งปอดด้วยนวัตกรรมใหม่ เพียง 7 นาที เพิ่มเวลาชีวิตให้คนไข้

คนไทยป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ วันละ 64 คน เสียชีวิตอันดับ 2 ของมะเร็งในไทย' ปัจจัยจากพันธุกรรม พบได้มากใน ผู้ป่วยชาวเอเชีย แม้ไม่สูบบุหรี่-ไม่ได้รับฝุ่น PM2.5

นายกฯ เชื่อมั่น 69 นักกีฬาพาราลิมปิกไทยจะทำผลงานเยี่ยมที่ปารีส 2024

นายกฯ ชื่นชมความสามารถทัพนักกีฬาพาราลิมปิกไทย คว้าโควตาเข้าร่วมการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 17 ประเทศฝรั่งเศส ได้ 69 คน จาก 13 ชนิดกีฬา เชื่อมั่นทำผลงานดีเยี่ยม

รัฐบาลตีปี๊บจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวพร้อมวาดฝันปี 2568

รัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วง Green Season จัดกิจกรรม Amazing Beach Life Festival ใน 4 พื้นที่ ระยอง - พังงา - ภูเก็ต – สงขลา พร้อมตั้งเป้าปี 2568 เป็น Thailand Grand Tourism Year

ตรรกะวิบัติ! 'ไทยภักดี' ซัดรัฐบาล แจงเหตุขายชาติไม่เนียนพอ

นายทศพล พรหมเกตุ เลขาธิการพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีที่นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ชี้แจงประเด็นนโยบายให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี