'บิ๊กตู่' ซูฮกผลงานวิจัยชุดตรวจคัดกรองโรคไตระยะเริ่มต้นแบบพกพาของแพทย์ จุฬาฯ

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคไตแบบพกพาจากแพทย์จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

21 มิ.ย.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมความสำเร็จในการวิจัยพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคไตระยะเริ่มต้นแบบพกพา ของภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และทีมงาน จากทำการวิจัยโครงการพัฒนาระบบการคัดกรองโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้นในระดับปฐมภูมิด้วยชุดตรวจ albuminuria

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า จากสถิติในปี 2564 จากรายงานผู้ป่วยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ว่า มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากถึง 1,007,251 ราย การวิจัยโครงการฯ ดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวรส. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในระยะเริ่มต้น และพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในรูปแบบเครื่องมือทดสอบ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point of care testing) ซึ่งประกอบด้วยชุดตรวจคัดกรองโรคไต ระบบบันทึกข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนผู้ป่วย การจัดเก็บ ประมวลและรายงานผลแบบอัตโนมัติ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมการตรวจค่าการทำงานของไต และการแสดงแสดงผลค่าการตรวจ สามารถตรวจคัดกรองโรคไตได้ตั้งแต่ในระยะแรก นำไปสู่การวิจัยและการรักษาได้รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนรู้ค่าอัลบูมิน (Albumin) ที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคไตได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีแนวโน้มมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการวิจัยพัฒนารูปแบบนวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโรคไตแบบพกพา จะช่วยยกระดับการเข้าตรวจรักษาทางสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มความมั่นคงในระบบสุขภาพ รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล และไม่สะดวกต่อการเดินทางไปรับบริการในโรงพยาบาล อีกทั้งยังสามารถนำชุดตรวจฯ ไปใช้ในภาคสนาม โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ขาดแคลนเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการได้อย่างสะดวก ทำให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจคัดกรองโรคไตได้มากยิ่งขึ้น

“นายกฯ ชื่นชมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสาธารณสุข นับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพของไทยได้ สอดคล้องกับนโยบายทางสาธารณสุขของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้ง เป็นอีกหนึ่งผลงานจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” นายอนุชากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

กูรูอัจฉริยะฟันธงปมเรื่อง 'ต้นอ้อ' แค่สร้างคอนเทนต์

'อัจฉริยะ'โว รู้หมดใครเป็นอย่างไร หลัง 'ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง' ถูกแฉแอบอ้าง 'รองเลขาฯนายกฯ' อัดเบื้องหลังสกปรกทุกคน อวยตัวเองทำงาน 15 ปี ไม่มีคดีฉ้อโกง บอกสมัยนี้การสร้างคอนเทนต์ ตีฟูกระแสจนเวอร์เกิน

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด