11 มิ.ย.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า การเร่งเพิ่มจำนวนผลิตแพทย์หรือบุคลากรสายสุขภาพนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี ไม่ว่าจะสถาบันใด ล้วนเผชิญกับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวที่เป็นมานาน และดูจะสาหัสยิ่งขึ้นทุกวัน การผลิตบุคลากรสาขาวิชาชีพที่ต้องดูแลชีวิตประชาชนนั้น ต้องมีสมรรถนะในการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ
กระบวนการที่จะฝึกอบรมได้ดีนั้น ต้องมีทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ทั้งครูผู้สอน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ เทคโนโลยีที่พัฒนาไปตามเวลาอย่างทันต่อสมัยและทันต่อสถานการณ์ และที่สำคัญที่สุดคือ การมีผู้ป่วยลักษณะต่างๆ ที่หลากหลายและเพียงพอที่นักเรียนจะได้ทำการศึกษา ฝึกทักษะด้านต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญจริง
หากไม่ตระหนักถึงผลกระทบจากนโยบายเพิ่มจำนวนและเร่งผลิตดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาด้านคุณภาพ และผลกระทบย้อนกลับทั้งต่อประชาชนในสังคม รวมถึงย้อนกลับมาเป็นภาระต่อระบบโดยรวมในระยะยาวด้วย ทั้งระบบฝึกอบรม และระบบบริการ ปัญหาลาออกกันมาก ต้องแก้ไขที่ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม ทั้งที่ทำงาน สิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิต การกิน การอยู่ สวัสดิการ สวัสดิภาพ และความปลอดภัยในชีวิต
ปัญหาโอ่งรั่วมากนั้น รูรั่วต้องหาทางปะ หรือเปลี่ยนโอ่ง ไม่ใช่เร่งหาน้ำมาเทใส่ให้มากขึ้น และการปะโอ่ง หรือเปลี่ยนโอ่งนั้น แท้จริงแล้วเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยซ้ำไป โดยที่แท้จริงแล้ว รากเหง้าสาเหตุที่ต้องจัดการคือ สาเหตุที่ทำให้โอ่งรั่วจากการออกนโยบายที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์แวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือจากการบริหารจัดการดูแลโอ่งนั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลขาฯแพทยสภา เปิดขั้นตอนการพิจารณาคดี 'จริยธรรมของแพทย์'
พล.อ.อ.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา โพสต์แผนภูมิแสดงแสดงการพิจารณาคดีด้านจริยธรรมของแพทย์ พร้อมระบุข้อความว่า การดำเนินคดีทางจริยธรรม มีขั้นตอน หลังจากที่ได้รับ เรื่องร้องเรียน ดังนี้
10 อาชีพการแพทย์ยอดนิยม ปี 2568 - หางานสายสุขภาพ
ในยุคโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า และการดูแลสุขภาพร่างกายต่างได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สายงานอาชีพในการแพทย์ไม่เพียงแต่จะมีบทบาทสำคัญในสังคม แต่ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต โดยเฉพาะในปี 2568
'หมอสมอง' เตือน! 'บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ' เสี่ยงอัมพฤกษ์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์
อาจารย์หมอจุฬาฯ แนะวิธีดูแลอาการ 'รองช้ำ' เบื้องต้นด้วยตัวเอง
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง 'รองช้ำ หรือ Plantar fasciitis"
'หมอธีระวัฒน์' แนะ 'เวียนหัว บ้านหมุน' ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เวียนหัว บ้านหมุน ทำท่าอินเดีย อาจช่วยได้
ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ จับตาโรค 'โอโรพุช' ระบาดในลาตินอเมริกา อาการคล้ายไข้เลือดออก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า