9 มิ.ย. 2566 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ปรากฏการณ์หม่น เมื่อจันทร์เต็มดวง
ปรากฏการณ์หม่นมืด ในช่วงเวลาของพระจันทร์เต็มดวงนั้น มีการบันทึกและรายงานตั้งแต่สมัยโบราณ และคล้ายมีความเชื่อมโยงกับการเจ็บป่วยทางจิตอารมณ์หรือการปะทุขึ้นมาใหม่อย่างรุนแรง
ความแปรปรวนทางจิตเหล่านี้ มีลักษณะตั้งแต่ อาการทางโรคจิตวิปลาสที่ถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาล ด้องนำเข้าห้องฉุกเฉิน และที่สำคัญก็คือความพยายามฆ่าตัวตาย โดยมีสถิติเกิดขึ้นในระยะเวลาต่างๆกัน มากบ้างบ่อยครั้งบ้าง น้อยบ้าง ในช่วง ระหว่าง จันทร์ new moon คือวันแรม 15 ค่ำ และจันทร์เต็มดวง full moon วันขึ้น 15 ค่ำหรือวันเพ็ญ
ทั้งนี้จากการแบ่ง lunar phases เป็นระยะตั้งแต่ new moon. First quarter. Full moon. และ last quarter และเริ่มต้นใหม่ ดังที่รู้จักกัน เป็นวันแรม 15 ค่ำ วันขึ้นแปดค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรมแปดค่ำ ตามลำดับ
แม้กระทั่งมีการสังเกตุระยะต่างๆ ของการแสดงอาการไบโพลาร์ ว่ามีความลื่นไหลไปกับ ระยะ lunar phases หรือข้างขึ้นข้างแรม ตามฤดูและ น่าจะเกี่ยวข้องกับ จังหวะเวลา ที่ควบคุมจากนาฬิกาในสมอง (circadian rhythm)
ในเรื่องของพฤติกรรมการฆ่าตัวตายใน ผู้ป่วยไบโพลาร์นั้น ดูเหมือนว่า มีความเกี่ยวข้องกับ ความแปรเปลี่ยน และปริมาณของแสงแดด ที่ได้รับ ในช่วงระยะเวลาต่างๆ ของปีด้วย โดยเฉพาะจะมีความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายสูง ถ้าปริมาณของแสงแดดไม่คงที่
คณะผู้วิจัย จากภาควิชาจิตเวช และ INBRAIN Indiana University School of Medicine และ Indianapolis VA medical center และ สำนักงานชันสูตรศพ ที่ Marion county ร่วมกันศึกษา ผลของจันทร์เต็มดวง และในช่วงเวลาอื่น กับการฆ่าตัวตาย โดยยังวิเคราะห์ช่วงระยะเวลาของวัน และช่วงระยะเวลาว่าเป็นเดือนไหนของปีที่มีสถิติสูงสุด และทำการเชื่อมโยงกับ ตัวชี้วัดในเลือดในระดับโมเลกุลของผู้ที่เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย โดยตีพิมพ์ในวารสาร Discover mental health ปี 2023
การศึกษาเหล่านี้ กระทำในช่วงระยะเวลาก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด และมีการบันทึกการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคมปี 2012 จนกระทั่งถึงวันที่ 17 ธันวาคมปี 2016
โดยมีจำนวนทั้งหมด 210 รายในช่วงระยะเวลา 626 วันที่เกิดขึ้นระหว่างสัปดาห์ของจันทร์เต็มดวงและอีก 566 รายที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2006 วันนอกสัปดาห์ที่พระจันทร์เต็มดวง
โดยผู้เสียชีวิตมีอายุ 30 ปีหรืออ่อนกว่าเป็นจำนวน 208 รายและอายุ 55 ปีหรือสูงกว่าเป็นจำนวน 232 ราย
มีบางส่วนที่มีเลือดเก็บไว้ในโครงการของ INBRAIN initiative โดยมีระยะห่างจากที่เสียชีวิตไม่เกิน 24 ชั่วโมงและสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นการกระทำด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่เป็นการใช้ยาหรือสารพิษซึ่งจะทำให้กระทบต่อการแสดงออกของยีนส์
ในจำนวนตัวอย่างเลือด 45 รายนั้น เป็นชาย 38 รายและหญิง 7 ราย 31 รายกระทำโดยการใช้ปืนยิงที่ศีรษะหรือหน้าอก 12 รายโดยขาดอากาศหายใจ หนึ่งรายโดยการกรีดข้อมือและอีกหนึ่งรายโดยการช็อตไฟฟ้า
เลือดทั้งหมดมีการเก็บอย่างดีใน RNA stabilizing PAXgene tubes ที่อุณหภูมิ -80 องศาจนกระทั่งนำมาศึกษา
การวิเคราะห์ยีนส์ที่เป็นตัวชี้วัด ในการฆ่าตัวตายโดยสัมพันธ์กับนาฬิกาในสมอง (Circadian clock) เลือกใช้ดาต้าเบสจากหลายกลุ่ม ที่มีการรายงานมาก่อน และในที่สุดเลือกได้ 1468 ยีนส์ที่มีความเกี่ยวพันกับหน้าที่การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเวลาหลับตื่นและนาฬิกาในสมอง
จากจีโนมของมนุษย์เป็นจำนวน 21,000 ยีนส์และแบ่งออกเป็นยีนที่เป็นหลัก ในการปฏิบัติตัวเป็นนาฬิกาสมอง (core clock gene) จำนวน 18 ยีนส์ และอีก 336 ยีนส์จัดแบ่งเป็นยีนส์ที่มีส่วนเชื่อมโยงส่งผ่านเข้าหรือออกจาก ยีนส์หลัก (immediate clock genes) และยีนส์ส่วนที่เหลือมีความสัมพันธ์กับยีนส์ในระดับที่สองและถือเป็น distant clock genes มีจำนวน 1119 ยีนส์ และมีการกำหนดจำนวนยีนส์ตัวท็อป (top biomarker genes) 154 ตัวที่เชื่อมโยงอยู่กับการกำหนดเวลานาฬิกาของร่างกาย ที่ได้จากการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ความแปรปรวนทางจิตอารมณ์ตั้งแต่วิตกกังวล ซึมเศร้า จนกระทั่งถึง PTSD และ ภาวะการเจ็บปวด
กลุ่มผู้เสียชีวิตทั้ง 45 รายได้รับการศึกษา จีโนมของมนุษย์ทั้งหมดและจัดแบ่งตามเพศ และวิเคราะห์ตามเงื่อนของดัชนีชี้วัด ของการฆ่าตัวตาย 154 ตัวนี้ ด้วยกัน
ในช่วงเวลาที่จันทร์เต็มดวงและนอกช่วงเวลาดังกล่าว
ผลของการศึกษาพบว่าอุบัติการของการฆ่าตัวตายจะสูงระหว่างสัปดาห์ของจันทร์เต็มดวงโดยเฉพาะในคนที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป แต่ไม่สัมพันธ์กับคนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
ระยะเวลาของวันจะอยู่ในช่วง 15.00 ถึง 16:00 น. และเดือนกันยายนเป็นช่วงที่มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุด
แต่ในคนที่อายุเกิน 55 ปีนั้นจะมีสถิติสูงสุดในเดือนกรกฎาคมและคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีสถิติสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน
นอกจากนั้นยังพบว่าการใช้แอลกอฮอล์ และภาวะ หดหู่ ซึมเศร้าจะยิ่ง เพิ่มความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายให้สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
ยีนส์ที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย ในช่วงจันทร์เต็มดวงนั้นคือ AHCYL2. ACSM3. AK2. และ RBM3
สำหรับกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาของวันจะเป็น GSK3B. AK2. และ PRKCB และที่มีความสัมพันธ์กับเดือนจะเป็น TBL1XR1 และ PRKCI
ยีนทั้งหมดนี้จำนวนครึ่งหนึ่งจะสามารถถูกปรับเปลี่ยนการแสดงออกโดยยาลิเทียม (lithium) และยาvalproate ที่ให้ผลต่อต้านการฆ่าตัวตายและยีนส์ทั้งหมดในกลุ่มเหล่านี้ถูกปรับเปลี่ยนโดยภาวะหดหู่และแอลกอฮอล์โดยให้ผลส่งเสริมการฆ่าตัวตาย
ผลของการศึกษา เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายนี้ เป็นการควบรวม วิเคราะห์ ระยะเวลา วิกฤต ที่เกี่ยวข้องกับ สัปดาห์ของ ดวงจันทร์เพ็ญ ช่วงเดือน และช่วงเวลาของวัน ที่มีความสัมพันธ์ กับแสงที่ตกกระทบ และมีผลต่อนาฬิกาในสมองและร่างกาย และอาจส่งผลกับการแสดงออกของยีนส์ที่มีส่วนกำหนดในพฤติกรรม ที่บรรเทาหรือ ส่งเสริมการ ทำร้ายตนเอง และยีนส์เหล่านี้ พิสูจน์ว่ามีความเชื่อมโยงกับยาที่ใช้รักษาอยู่ด้วย และการใช้ แอลกอฮอล์ในช่วงระยะเวลาที่วิกฤตที่มีความหดหู่แฝงอยู่ จะยิ่งทำให้สถานการณ์ร้ายแรงไปอีก
รายงานนี้เป็นตัวอย่างอันดีที่มิได้ละเลยหลักฐานที่ได้จากการสังเกต และนำมาวิเคราะห์เพื่อทำการพิสูจน์และเชื่อมโยงกับยีนส์ของมนุษย์และ ดัชนีชี้วัด ที่ในอนาคตอาจจะนำมาใช้เพื่อป้องกันเหตุโศกนาฏกรรมเหล่านี้ได้ผลดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบันของคนไทย การมองคนอย่างเป็นคนด้วยกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา และช่วยเท่าที่ทำได้ ให้เขารู้สึกว่ายังมีคนที่เห็นใจและเอาใจใส่ น่าจะเป็นประการสำคัญที่สุดที่ต้องการครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘หมอธีระวัฒน์’ อธิบายชัด ภาวะที่นอนแล้วลุกขึ้น มีความดันโลหิตร่วง
การตรวจโดยให้นอน 20 นาที และค่อยๆลุกขึ้น เปรียบเทียบความดันขณะนอนและขณะลุกขึ้น
'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง
ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?
'หมอสมอง' เตือน! 'บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ' เสี่ยงอัมพฤกษ์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
หวังดี! เทพไท เตือน ปชป.ร่วมรัฐบาล = ฆ่าตัวตาย ครั้งที่2
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก เทพไท เสนพงศ์-คุยการเมือง ปชป.ร่วมรัฐบาล = ฆ่าตัวตาย ครั้งที่2