21 เม.ย.2566 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า XBB คือสายพันธุ์ลูกผสม X คือ Cross ส่วน B คือ (BA.x ไม่ว่าจะเป็น BA.2 หรือ BA.5) ดังนั้น XBB คือ BA มาแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมกันกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ป่วยติด BA 2 สายพันธุ์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ลูกผสมขึ้นมาได้
เมื่อก่อนตอนมีลูกผสมระหว่าง เดลต้า กับ โอมิครอน เราก็ตั้งชื่อไปว่า เดลต้าครอน ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์เดียวกัน แต่ เดลต้าครอนน่ากลัวแต่ชื่อ เพราะผสมกันเป็นไวรัสลูกผสมแล้ว ไม่ fit ไปต่อสู้สายพันธุ์พ่อแม่ไม่ได้ ท้ายที่สุดเดลต้าครอนที่เคยขึ้นหน้าหนึ่งก็หายไปจากความสนใจ
XBB นับว่าเป็นไวรัสลูกผสมที่ไปต่อได้ และ ชนะสายพันธุ์พ่อแม่ได้ เป็นการสร้างส่วนผสมที่ลงตัว ประเด็นที่ผมอ่านตารางนี้แล้วรู้สึกแปลกๆคือ ในตารางระบุว่า XBB.1.5 กับ XBB.1.16 เป็นลูกผสมของสายพันธุ์โอมิครอนที่ต่างกัน โดย XBB.1.5 มาจาก BJ.1 x BM.1.1.1 ขณะที่ XBB.1.16 มาจาก BA.2.10.1 x BA.2.75 ซึ่งเหมือนเป็นสองเหตุการณ์ที่ทำให้ไวรัส XBB แต่ละชนิดอุบัติขึ้นต่างกรรมต่างวาระ ซึ่งไม่น่าจะใช่ครับ
ประเด็นที่ทำให้การสื่อสารคาดเคลื่อนคือ ชื่อของไวรัสครับ เพราะ BJ.1 มีอีกชื่อหนึ่งว่า BA.2.10.1.1 และ BM.1.1.1 มีอีกชื่อหนึ่งว่า BA.2.75.3.1.1.1 เนื่องจากชื่อยาว เค้าเลยเรียกให้สั้นลง พอเรียกให้สั้นลง ก็จะเกิดความเข้าใจผิดพลาดข้างต้น ความเป็นจริงคือ ทั้ง XBB.1.5 และ XBB.1.16 มาจากบรรพบุรุษเดียวกันคือ XBB (ชื่อเล่น Gryphon ) หลังจากนั้น Gryphon เปลี่ยนเพิ่มเป็น XBB.1 (Hippogryph คือ ลูกของ Gryphon)
ส่วน XBB.1.5 มีชื่อว่า Kraken (เป็นลูกของ Hippogryph) แต่ XBB.1.16 หรือ Arcturus เปลียนตัวเองมาจาก Hippogryph เช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นลูกของ Kraken ถ้าดูตามนี้จะเห็นว่า XBB.xxx ทุกตัวเป็นลูกหลานของ Gryphon ทั้งหมด ต้นตระกูลที่เกิดจากการสร้างไวรัสลูกผสมครั้งนั้น และ ยังไม่มีการสร้างได้แบบนี้อีกตั้งแต่นั้นมา
ล่าสุดเพิ่งพบ XBB.1 ไปผสมกับ BA.275 เป็นสายพันธุ์ชื่อว่า XBL แต่ก็ดูเหมือนไม่ fit เท่า XBB.1 เดิม แต่ XBL ก็ได้ชื่อว่า the first recombinant of a recombinant!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ