17 เม.ย.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 25,771 คน ตายเพิ่ม 102 คน รวมแล้วติดไป 685,637,799 คน เสียชีวิตรวม 6,842,489 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 92.66 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 98.03
สายพันธุ์ที่ระบาดในออสเตรเลีย ข้อมูลจากรัฐ New South Wales ประเทศออสเตรเลียล่าสุดจาก Honey M ตัวหลักยังคงเป็น XBB.1.5.x และ XBB.1.9.x โดยสายพันธุ์ย่อย XBB.1.16 นั้นยังมีสัดส่วนไม่มากนัก ย้ำอีกครั้งว่ามีไวรัสหลากหลายชนิด รวมถึงโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิม ก็ทำให้เยื่อบุตาอักเสบได้เช่นกัน การไอหรือจามแรงๆ นานๆ ก็ทำให้เส้นเลือดฝอยในตาแตกจนเกิดเลือดออกใต้เยื่อหุ้มตาได้ นอกจากนี้ยังทำให้เลือดกำเดาไหลได้ด้วย เนื่องจากการไอหรือจามแต่ละครั้งนั้นจะทำให้ความดันในตาและโพรงจมูกสูงขึ้นนั่นเอง ส่วน XBB.1.16 จะมีอาการเด่นในเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกันหรือไม่ มากน้อยเพียงใด รวมถึงอัตราการเกิดของอาการนำนั้นจะเหมือนหรือต่างจากสายพันธุ์ก่อนหน้าหรือไม่ ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องรอดูผลการศึกษาอย่างเป็นระบบต่อไปครับ
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสายพันธุ์ใด ความใส่ใจสุขภาพ การป้องกันตัวอย่างถูกต้อง ดังที่เน้นย้ำมาตลอด จะได้ผล ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อได้แน่นอน เลี่ยงที่แออัด ปรับการระบายอากาศให้ดี ไม่คลุกคลีใกล้ชิด ไม่แชร์ของกินของใช้ ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด…เพราะติดแต่ละครั้ง ป่วยได้ รุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ด้วย
รายงานจำนวนผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลของไทยสัปดาห์ล่าสุดนั้นพุ่งไปถึง 435 คน สูงกว่าสัปดาห์ก่อนหลายเท่า ยิ่งหลังสงกรานต์ที่มีคนไปร่วมกิจกรรมเทศกาลจำนวนมาก จะทำให้คนติดและป่วยกันมากขึ้นได้ ขอให้ป้องกันตัวให้ดีครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด
อาจารย์หมอจุฬาฯ แนะวิธีดูแลอาการ 'รองช้ำ' เบื้องต้นด้วยตัวเอง
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง 'รองช้ำ หรือ Plantar fasciitis"
โควิด-19 รายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาลทะลุหลักพัน เสียชีวิต 3 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 14 - 20 กรกฎาคม 2567
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล ทะลุหลักพัน เสียชีวิต 5 ราย
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานเกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2567