ศูนย์จีโนมฯ พบ XBB.1.16 ระบาดเหนือกว่า BN.1.3 ถึง 148%

17 เม.ย. 2566 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่พบในประเทศไทย ระหว่าง 1 ก.พ. – 16 เม.ย. 2566

หน่วยงานไทยทั้งภาครัฐและเอกชนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิด-19 และอัปโหลดแชร์บนฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส (GISAID)” จำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่างในช่วง 2 เดือนครึ่ง (1 ก.พ.-16 เม.ย. 2566) ที่ผ่านมา โดยมีโอมิครอน 12 สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยเรียงตามลำดับมีดังนี้

BN.1.3 68 ราย (22%)

BN.1.2 59 ราย (19%)

XBB.1.5 45 ราย (15%)

XBB.1.9.2 22 ราย (7%)

XBB.1.9.1 20 ราย (7%)

BN.1.2.3 19 ราย (6%)

CH.1.1 18 ราย (6%)

BN.1.3.6 17 ราย (6%)

BN.1.1 12 ราย (4%)

EJ.2 9 ราย (3%)

XBB.1.16 8 ราย (3%)

BA.2.75 8 ราย (3%)

โดยพบโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 จำนวน 8 ราย และหนึ่งในแปดพบว่ามีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมเป็น XBB.1.16.1

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้ทำการวิเคราะห์จากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบว่าโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า BN.1.3 ประมาณ 148% และเหนือกว่า XBB.1.5 ประมาณ 90% คาดว่าจะเข้ามาแทนที่ BN1.3 และ XBB.1.5 ได้ภายใน 2-3 เดือนจากนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล