17 เม.ย.2566-สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 15 วันที่ 9 – 15 เม.ย.2566 จังหวัดชลบุรี มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 712 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ยังพบผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 สำหรับผู้ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก และจำเป็นต้องเคร่งครัดมาตรการป้องกัน DMHT บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามดุลยพินิจของแพทย์ และเน้นย้ำผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต และอาการรุนแรง ควรได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบและได้รับการกระตุ้น เพื่อลดอาการรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
สำหรับผู้ที่สร้างภูมิต้านทานได้ไม่ดี ได้แก่ 1. ผู้ป่วยไตวายในระยะที่ต้องล้างไต 2. ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ 3. ผู้ที่เป็นโรคภูมิต้านทานบกพร่อง 4. ได้รับยากดภูมิจากการปลูกถ่ายอวัยวะ 5. ผู้ที่อายุ เกิน 60 ปี ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน 6. อายุเกิน 70 ปี ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ครั้งสุดท้ายเกิน 6 เดือน 7. ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง · โรคหัวใจและหลอดเลือด · โรคไตวายเรื้อรัง · โรคหลอดเลือดสมอง · โรคอ้วน · โรคมะเร็ง · โรคเบาหวาน และได้รับวัคซีนโควิด 19 ครั้งสุดท้ายเกิน 6 เดือน ควรจะได้รับการฉีดภูมิต้านทานสำเร็จรูป หรือ Long-Acting Antibody (LAAB) โดยติดต่อขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือหน่วยบริการล้างไตหรือฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่เข้ารับบริการเป็นประจำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้