'ควัน' มหันตภัยสังคมไทย

7 เม.ย. 2566 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ควัน มหันตภัย สังคมไทย

ข้อมูลมาจากศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ปี 2560 คนไทยยังสูบบุหรี่อยู่มากถึง 10.7 ล้านคนหรือ 19.1% ถึงจะลดน้อยลงมากว่าปีก่อนๆ แต่ก็ยังถือว่ามากโข จนปีนี้ 2566 ลูกเด็กเล็กแดง คนโต คนแก่ก็ยังสูบ

ผลเสียของบุหรี่คงไม่ต้องกล่าวกันมาก

ในบุหรี่มีสารเคมีอันตรายอยู่ถึง 250 ชนิด อย่างน้อย 69 ชนิดนั้นก่อมะเร็ง และ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด คอ ปาก ไต กระเพาะ กระเพาะปัสสวะ ตับ ตับอ่อน ปากมดลูก ลำไส้ ลูคีเมียและอื่นๆ

ส่วนทำไมถึงเป็นมะเร็งอื่นๆ นอกจากปอด เพราะว่าสารเคมีมันซึมเข้าไปทางเลือดผ่านจากปอด และสารเคมีพวกนี้ก็เข้าไปทำลายดีเอ็นเอในร่างกายเราและเมื่อต้องมีการซ่อมแซมมากขึ้น โอกาสที่จะซ่อมแล้วมันผิด ทำให้เซลล์โตแบบไม่มีการควบคุมในที่สุดยิ่งสูบนานก็ยิ่งเสี่ยงเยอะ

นอกนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง (Chronic obstructive pulmonary disease) ซึ่งเป็นการตายอย่างช้าๆ และทรมานเปรียบเหมือนจมน้ำ สาเหตุก็คือบุหรี่ไปทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและการลดความยืดหยุ่นของปอดเพราะมีการกระตุ้นตัวย่อยสลายเนื้อเยื่อปอด (protease) แล้วยังมีโรคหัวใจ เส้นเลือดโป่งพองจนแตกตาย กับอัมพาตอีก ยังมีอีกเยอะ

ส่วนสาวที่พยายามมีทายาทแต่ไม่ท้องซะที วิธีที่ดีที่สุดคือหยุดบุหรี่ ดีต่อลูกด้วยไม่งั้นลูกเกิดมาก่อนกำหนด น้ำหนักน้อยเพดานปากแหว่ง

ท่านที่ไม่ได้สูบเองแต่คนนั่งข้าง ๆ สูบก็อย่านิ่งนอนใจ เพราะดมควันก็เพิ่มความเสี่ยงที่กล่าวมาเหมือนกัน หรือมีลูกน้อยอยู่ ลูกดมควันก็มีโอกาสตายเฉียดพลันและติดเชื้อในปอดได้ง่ายขึ้น

ส่วนท่านที่ยังสูบบุหรี่แล้วอ่านอยู่ อย่าเพิ่งเซ็งนะครับ ไม่ว่าจะสูบมานานแค่ไหน แต่เลิกตอนนี้ ย้ำว่าตอนนี้เลย หักดิบครับ จากนั้น ความดันและการเต้นหัวใจจะกลับมาปรกติในไม่กี่ชั่วโมง ในไม่กี่อาทิตย์เสมหะจะน้อยลงและหอบก็จะน้อยลง ผ่านไปหลายเดือนปอดจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เดินวิ่งก็สบายตัว ทำติดต่อกันหลายปีความเสี่ยงมะเร็งและถุงลมโป่งพองที่กล่าวมาก็ลดน้อยลงมากมาย

แล้วก็คงสงสัยว่าถ้าเป็นมะเร็งแล้วละ ก็สูบต่อไปเหอะคลายเครียด แต่ถึงจะเป็นมะเร็งไม่ว่าชนิดใดหรือขั้นไหน ถ้าหยุดบุหรี่ ณ ตอนนั้นอาจจะเพิ่มโอกาสรอดได้มากถึง 40% เลยทีเดียว น่าจะเป็นเพราะบุหรี่ทำให้ร่างกายอักเสบ พออักเสบ เซลล์มะเร็งมันสามารถโตได้ดีขึ้น

เลิกบุหรี่นอกจากดีต่อสุขภาพแล้วยังประหยัดเงินได้อีกด้วย โดยเฉพาะที่หมออยากจะเชียร์ให้ขึ้นภาษีอีกซักหน่อยให้ซองละซักสามร้อยบาท ก็ดีนะ ส่วนเงินนะ เอามาให้สาธารณะสุขเลยเพื่อรักษาโรคที่มันเกิดจากบุหรี่ ไม่ต้องไปยุ่งยากเอาไปโฆษณา

การเลิกมันยากก็จริง ต้องใจแข็งสุด ๆ

กลับมาที่เพื่อนของหมอ ซึ่งพออธิบายให้ฟังตามบทความนี้แล้วก็ซึ้งใจ หรือ กลัวตายไม่รู้ จึงตัดสินใจว่า จะลดหวานและเลิกบุหรี่ ลดหวาน

สักพักร่างกายเริ่มชิน พอไม่มีหวาน ความอยากหวานก็จะลดลงไปเอง นอกนั้นก็ไปออกกำลังกายมากขึ้น ว่ายน้ำก็ดี หรือจะอะไรก็ได้ที่ทำให้อัตราหัวใจเต้นเร็วให้ได้สัก 3-5 ครั้งต่ออาทิตย์

ไม่มียาปาฏิหาริย์ที่ทำให้หยุดบุหรี่ได้ แต่ก็จะมีนิโคตินมาช่วยในหลายๆ แบบเช่นหมากฝรั่ง แผ่นติดตัว (transdermal patch) สเปรย์ หรือ อมใต้ลิ้น นิโคตินมีข้อห้ามใช้ใน โรคหัวใจขั้นรุนแรง และอัมพาตในช่วงเดือนแรก นอกจากนั้นก็มียากินคล้ายยาคลายเครียด (Bupropion และ Varenicline) ที่ทำให้การเลิกง่ายขึ้นหน่อย
แต่ยาที่กล่าวมาสองตัวต้องให้แพทย์จ่ายเท่านั้น

ที่อยากให้ทำคือ พอทำใจได้แล้ว กำหนดวันที่จะเลิกแล้วหักดิบเลยดีสุด ไม่งั้นค่อยๆ ลด สุดท้ายอยากมาก แล้วค่อยสูบมันยิ่งทำให้เกิดสุข (positive reinforcement) และท้อกันไปหมดพอดี ยากมากแต่อย่าเพิ่งท้อ เพราะน้ำมันกัญชาสูตรไม่เมา (CBD) อาจมีส่วนช่วยในการช่วยเลิกบุหรี่ด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ! ความดันสูงกับ 'ความดันกลางคืน' สำคัญอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ความดันสูงและความดันตอนกลางคืนสำคัญอย่างไร

'นุ่น สินิทธา' กับชีวิตที่เปลี่ยนไป ใช้ 'Water Fasting' รักษาเนื้องอก!

นักแสดงสาวสายสุขภาพ "นุ่น-สินิทธา บุญยศักดิ์" เปิดใจเล่าถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป หันมาใส่ใจสุขภาพสาเหตุจากการป่วยเป็นโรคเนื้องอก ทำทุกวิถีทางจนต้องใช้การรักษาแบบ Water Fasting เพราะต้องการมีอิสรภาพทางการแพทย์ ในรายการ "On the way with Chom" โดยมีซูเปอร์สตาร์ตัวแม่ "ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต" รับหน้าที่เป็นพิธีกร

ชาวเบตง-มาเลย์ ประสานสามัคคี วิ่งสู้มะเร็งซื้ออุปกรณ์การแพทย์

ชาวอำเภอเบตง นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ร่วมกิจกรรมวิ่งสู้มะเร็ง นำรายได้จัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์โรงพยาบาลเบตง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน