รองโฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลดูแลประชาชนปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดวัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ประกันตนฟรี ปศุสัตว์เร่งฉีดวัคซีนในหมา/แมว
2 เม.ย. 2566 – นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงนี้นอกจากคนจะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนจัดแล้ว โรคหนึ่งที่มักเกิดขึ้นช่วงหน้าร้อนคือ โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งรัฐบาลโดยสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกันตน ซึ่งการฉีดวัคซีนสามารถฉีดได้ทั้งก่อนโดนกัดและหลังโดนกัด แต่กรณีหลังต้องมาฉีดให้ไวที่สุดเพื่อป้องกันไวรัสเข้าสู่ระบบประสาท
เงื่อนไขมีดังนี้ 1.กรณีฉุกเฉิน ไม่สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสถานพยาบาลตามสิทธิได้ ให้ผู้ประกันตนสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วยื่นเรื่องเบิกเงินคืนได้เฉพาะเข็มแรกเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และ2. เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากผู้ประกันตนไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
นางสาวรัชดา ยังกล่าวด้วยว่า เนื่องจากโรคนี้ไม่แสดงอาการทันทีหลังถูกกัด ต้องรอเวลาระยะฟักตัวของโรค โดยเฉลี่ย 2-8 สัปดาห์ อาจจะสั้นหรือยาวกว่านี้ได้ ซึ่งมีรายงานทางการแพทย์พบว่า ระยะฟักตัวเป็นปี ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นทางเข้าของเชื้อ เช่น ถ้าถูกสัตว์กัดบริเวณใบหน้า ระยะฟักตัวจะสั้นเนื่องจากอยู่ใกล้สมอง หรือบริเวณที่มีปลายประสาทมาก ๆ เช่น มือ เป็นต้น และเมื่อแสดงอาการป่วยแล้วจะไม่มีทางรักษา อัตราการเสียชีวิต 100% จึงต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันทีหรืออย่างช้าภายใน 2 วัน เมื่อถูกกัด และฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนดอย่างเคร่งครัด
ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดให้หน่วยงานในสังกัดทุกพื้นที่เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยให้มีการบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เฝ้าระวังโรคเชิงรุกและสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ตั้งเป้าการฉีดแก่สุนัขและแมวอย่างน้อยร้อยละ 80 ดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ที่แสดงอาการสงสัยส่งตรวจวินิจฉัยทุกตัว ประสานหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อเร่งรัดให้ผู้สัมผัสและบุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รับการรักษาและรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกันสังคม ย้ำสิทธิการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมาคุณภาพสูง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุกช่วงวัย
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พร้อมมุ่งพัฒนาสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง
ผู้ประกันตนอย่าลืม เช็กสิทธิประกันสังคม “ทำฟัน” ก่อนหมดปี 67
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวเตือนผู้ประกันตนอย่าลืมไปใช้สิทธิกรณีทันตกรรม ก่อนหมดสิ้นปี 2567 สำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถทำฟัน โดยการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าตัดฟันคุด
ประกันสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเปลี่ยน รพ. ปี 68 ผ่าน 4 ช่องทาง เริ่ม 16 ธ.ค.67 นี้
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม แจ้งให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2568 ได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.
ประกันสังคม แจ้ง เริ่มแล้ว เรียกคิวสำรองผู้ประกันตน 3 พันกว่าราย เตรียมยื่นรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่ 9 – 24 ธ.ค. 2567
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขาธิการ สปส. มารศรี ลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในโครงการ สปส. มอบสุข
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ในโครงการ
รู้ยัง! ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD) ได้แล้ว
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึงการดูแลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไต ว่า การรักษาโรคไตวายเรื้อรังเป็นภาระที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วย