26 มี.ค.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 51,101 คน ตายเพิ่ม 184 คน รวมแล้วติดไป 683,248,717 คน เสียชีวิตรวม 6,826,497 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และชิลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.47 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 92.39
…อัพเดตความรู้โควิด-19 Lipschuetz M และคณะจากประเทศอิสราเอล เผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารการแพทย์ Nature Medicine เมื่อ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ศึกษาทารกแรกเกิดจำนวน 48,868 คน ตั้งแต่สิงหาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565
พบว่า แม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จนครบเข็มกระตุ้น จะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะป่วยเป็นโควิดจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลในช่วง 4 เดือนแรกหลังคลอดได้ 53% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 36%-65%)
…การฉีดวัคซีนจึงมีประโยชน์ทั้งต่อทั้งแม่และลูก อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการป้องกันจะลดลงไปตามเวลา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประชากรวัยใดเพศใด ดังนั้นการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ระมัดระวังความเสี่ยงต่างๆ ระหว่างที่ใช้ชีวิตประจำวันจึงมีความสำคัญยิ่ง ควรปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่ทำงาน ให้มีการระบายอากาศให้ดีกว่าในอดีต เลือกที่กินดื่ม ที่เที่ยว ที่ไม่แออัด ระบายอากาศดี และไม่แชร์ของกินของใช้กับผู้อื่น การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5
อ้างอิง Lipschuetz M et al. Maternal third dose of BNT162b2 mRNA vaccine and risk of infant COVID-19 hospitalization. Nature Medicine. 23 March 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้