สธ.ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ พบกว่า 175 เรื่อง ยันมีประโยชน์มาก

สธ. ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย พบกว่า 175 เรื่อง เผยมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในโรครักษายาก ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายผู้ป่วยและครอบครัว

22 มี.ค.2566 - ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ประธานคณะอนุกรรมการด้านการศึกษาวิจัยผลจากการใช้กัญชาทางการแพทย์และสุขภาพ กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกันเพื่อติดตามความก้าวหน้าการศึกษาวิจัยกัญชา วานนี้ มีประเด็นที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ สถานการณ์การวิจัย ผลการศึกษาผลกระทบต่อสังคม สุขภาพและเศรษฐกิจ และเกณฑ์มาตรฐานวัตถุดิบกัญชาเพื่อการส่งออก โดยภาพรวมข้อมูล ณ ปัจจุบัน มีงานวิจัยกว่า 175 เรื่อง ซึ่งมีทั้งดำเนินการแล้วเสร็จ อยู่ในระหว่างดำเนินการ และอยู่ในระหว่างการพัฒนาโครงร่างงานวิจัย

ดร.ภก.อนันต์ชัย กล่าวว่า สถานการณ์การวิจัยขณะนี้ พบว่ามีความก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ โดยกำหนดให้มีการศึกษาวิจัยและจัดการความรู้ ในส่วนกลางก็ทำให้เห็นแนวโน้มที่เด่นชัดในการนำมาวางแผนวิจัยในกลุ่มโรคที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ ผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ป่วยในกลุ่มโรคหายาก เช่น ลมชักรักษายากในเด็ก ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โดยการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์เกรดยาตัวแรกของประเทศไทยในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย การศึกษาเชิงทดลองพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 50 ที่มีระดับความปวดปานกลางถึงรุนแรง มีอาการปวดลดลง ผู้ป่วยมีอาการนอนหลับดีขึ้นทั้งหมดและผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

ดร.ภก.อนันต์ชัย กล่าวต่อว่า ผลของการใช้ยากัญชาสกัดชนิด THC เด่น ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา พบว่า ผู้ป่วยนอนหลับดีขึ้น การลดความเจ็บปวดและความอยากอาการที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของโรคพาร์กินสัน มีงานวิจัยการประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการของโรคอยู่ในระยะที่ 3 ได้รับกัญชา 2-5 หยดต่อวัน การใช้น้ำมันกัญชาตามขนาดยาที่ระบุข้างต้นในกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ปลอดภัยและมีแนวโน้มที่จะลดอาการและความรุนแรงของโรค ลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ส่วนงานวิจัยผลกระทบทางด้านสังคม สุขภาพและเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายเริ่มต้นที่นำยากัญชามาใช้รักษาโรค สุดท้ายพบว่าเมื่อยาใช้รักษาโรค หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ จะลดรายจ่ายของครัวเรือน และยิ่งเมื่อยาไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติก็ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่ายา และทำให้ผู้ประกอบการรู้ว่าต้องผลิตผลิตภัณฑ์อะไร วัตถุดิบก็ปลูกได้ รวมถึงมาตรฐานการผลิตวัตถุดิบเพื่อการส่งออก ก็มีการแลกเปลี่ยนเรื่องมาตรฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดการยอมรับของต่างประเทศ

ดร.ภก.อนันต์ชัย กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่เราให้ความสนใจมาก คือ ผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ เพราะมีคนถามมามาก การศึกษาวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า กัญชาทางการแพทย์มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในโรครักษายาก ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายด้านยาของตัวผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงการวิจัยและพัฒนาตำรับยาเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ประกอบการ ซึ่งตรงนี้เราก็ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์มาเพื่อใช้ในการตัดสินใจการดำเนินงานด้านนโยบาย ในส่วนผลกระทบด้านลบ เราก็พบว่าการใช้กัญชาก็เหมือนยาอื่นๆ ที่ต้องใช้ให้เหมาะสม การศึกษาวิจัยจะช่วยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบด้านลบต่อสังคม ที่ต้องศึกษาให้นานขึ้น เพราะบทเรียนในต่างประเทศก็เห็นว่าในการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมจะเร็วมากในช่วงแรก แต่ในระยะยาวเมื่อสังคมเกิดการเรียนรู้ผลกระทบจะลดลง

“ในต่างประเทศผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตมักจะไปเลือกหาผลิตภัณฑ์กัญชา กระท่อมมาใช้ ซึ่งเขาก็มีกลไกมาป้องกันการเข้าถึง โดยการตรวจสอบบัตรประชาชน เราก็พบในประเทศไทยเช่นกัน และก็จะนำมาตรการเช่นเดียวกันมาใช้ ก็ต้องศึกษาต่อว่าได้ผลเช่นเดียวกับต่างประเทศหรือไม่ อยากให้สังคมได้ติดตามข้อมูลอย่างรอบด้าน อย่าตัดสินทุกอย่างด้วยเหตุการณ์เดียว” ดร.ภก.อนันต์ชัย กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว! 'ลูกผู้ป่วยมะเร็ง' ขู่ฟ้องศาลปกครอง หากดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว หลังคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด มีมติให้กัญชาเป็นยาเสพติด ล่าสุด นายสุวิทย์ เปรื่องธรรมกุ

'หมอปัตพงษ์' ขู่ฟ้องศาลปกครอง หากรัฐบาลนำกัญชากลับเป็นยาเสพติด

'หมอปัตพงษ์' ถามรัฐบาลนำกัญชากลับเป็นยาเสพติดจริง ผู้ป่วยนับล้านคนสุ่มเสียงเสียชีวิตใครจะรับผิดชอบ ขู่ฟ้องศาลปกครอง เพราะมีผู้เสียหายจากการประกาศของรัฐบาล

'ปานเทพ' ย้อนถามถ้ากัญชาเป็นยาเสพติดแต่ใช้ทางการแพทย์ได้ ทำไมผู้ป่วยยังต้องเสี่ยงคุก

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต เผยแพร่บทความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ถ้ากัญชาเป็นยาเสพติดแต่ใช้ทางการแพทย์ได้ ทำไมที่ผ่านมาผู้ป่วยไทยเกือบทั้งหมดยังต้องเสี่ยงคุกใช้กัญชาใต้ดิน? มีเนื้อหาดังนี้

'ปานเทพ' ชำแหละผลวิจัยด้อยค่ากัญชา หลังกล่าวหาการปลดล็อก ทำให้จำนวนผู้ป่วยจิตเวชพุ่ง

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นต่อผลวิจัย บางส่วนที่เปิดเผ

'ประสิทธิ์ชัย' กังขาถึงยุค นายทุนมาบัญชาการ เอากัญชาไปสู่ยาเสพติด

นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล แกนนำเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย และเพื่อภาคีชาวกัญชาประเทศไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า

'ดร.วิโรจน์' โต้เดือด 'หมอเดชา' การโฆษณาชวนเชื่อ คุณสมบัติการรักษาโรคของกัญชา

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายสาธารณสุขและการเกษตร ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เขียนบทความเรื่อง "การโฆษณาชวนเชื่อ/บิดเบือนหรือสื่อสารข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติการรักษาโรคของกัญชา"