อาจารย์หมอจุฬาฯ ย้ำเตือนผลระยะยาว Long COVID ติดเชื้อต้องระวัง

20 มี.ค.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 42,742 คน ตายเพิ่ม 166 คน รวมแล้วติดไป 682,466,478 คน เสียชีวิตรวม 6,819,419 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และชิลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.67 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 90.36

อัพเดตความรู้ Long COVID

Morioka S และคณะ จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศญี่ปุ่น ได้เผยแพร่ผลการสำรวจผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงกุมภาพันธ์ 2563 ถึงพฤศจิกายน 2564 จำนวน 502 คนพบว่าส่วนใหญ่กว่า 80% เคยติดเชื้อโดยป่วยมีอาการน้อย (86.4%)

แต่ที่น่าสนใจคือมีกว่าหนึ่งในสี่ ที่รายงานว่าหลังติดเชื้อช่วงแรกไปแล้ว มีอาการผิดปกติเรื้อรังอย่างน้อย 1 อาการ ณ 6, 12, 18, 24 เดือน อาการที่พบบ่อยได้แก่ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า หอบเหนื่อย ไอ การดมกลิ่นผิดเพี้ยนไป ผมร่วง มีปัญหาด้านสมาธิ อารมณ์ซึมเศร้า(โดยเฉพาะในวัยหนุ่มสาว) เป็นต้น

ผลการศึกษานี้ย้ำเตือนให้ทุกคนตระหนักถึงผลกระทบระยะยาวอย่าง Long COVID ที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังติดเชื้อแต่ละครั้ง การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็นคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี คอยสังเกตสังกาอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้

ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ระมัดระวังความเสี่ยงต่างๆ ระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่ทำงาน ที่เที่ยว ที่กินดื่ม ให้มีการระบายอากาศให้ดีกว่าเดิม การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้