'หมอยง' แจง 'โควิด' เกมโอเวอร์! สรุปบทเรียน 3 ปี

20 ก.พ. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา องค์ความรู้แสดงให้เห็นความจริงต่างๆ

ตามที่ได้เคยกล่าวไว้ในอดีต จะเห็นได้ว่า ความจริงต่างๆ ได้เริ่มปรากฏชัดขึ้น

1.วิวัฒนาการของไวรัสเป็นไปเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นไวรัสจะปรับตัวเพื่อลดความรุนแรงลงให้อยู่ร่วมกันกับเจ้าบ้านได้ ความรุนแรงของโควิด 19 จึงลดลงมาโดยตลอด จากอัตราตายสูง 3-5% จนขณะนี้เหลือน่าจะน้อยกว่า 0.1% เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

2.โรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น Ebola, Marburg, Lassa โอกาสที่จะระบาดไปทั่วโลกเป็นไปได้ยาก ตรงข้ามกับโรคที่มีความรุนแรงต่ำ เช่นไข้หวัดใหญ่ โควิด 19 สามารถระบาดไปทั่วโลกได้

3.วัคซีนแต่ละชนิดไม่แตกต่างกัน มีการเรียกร้องวัคซีน mRNA ที่กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง และมีผลการทดลองเป็นเพียงระยะสั้น ประสิทธิผลในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อติดตามในระยะยาวแล้วภูมิต้านทานลดลงเร็ว และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ถ้าดูอัตราการเสียชีวิตของแต่ละประเทศ และวัคซีนที่ฉีด ก็จะเห็นได้ชัด เมื่อประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว อัตราการเสียชีวิตในประเทศที่ฉีด mRNA ล้วน ก็ไม่ได้ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้ฉีด ดังนั้นที่ผ่านมาจึงไม่มีวัคซีนเทพ วัคซีนขณะนี้หลายบริษัท ได้ลดการผลิตหรือเลิกการผลิต

4.การระบาดของโรค ที่สงบลงขณะนี้ เพราะประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว โดยแต่ละประเทศเชื่อว่าติดเชื้อไปแล้วมากกว่าร้อยละ 70 จึงทำให้การระบาดของโรคทุเลาลง

5.ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ร่วมกับการฉีดวัคซีน จะเป็นภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และอยู่นานเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนอย่างเดียว

6.ทิศทางการระบาด เมื่อโรคเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล ฤดูกาลในการระบาดจะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่หรือโรคทางเดินหายใจทั่วไป

7.ความจำเป็นของวัคซีนในอนาคต จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ จะมุ่งเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรง ในคนที่แข็งแรงดีและเคยติดเชื้อมาแล้ว ถึงแม้จะติดเชื้อซ้ำอีก อาการก็จะไม่รุนแรง

8.การแก้ปัญหาโรคระบาด ถ้าย้อนเวลาได้ เราควรใช้องค์ความรู้นำ สร้างองค์ความรู้ มากกว่าที่จะไปตามกระแส หรือแรงกดดันจากสื่อสังคม

9.ในปีนี้ จะต้องถือว่า game over เชื่อว่าองค์การอนามัยโลกคงจะเลิกนับตัวเลข เพราะตัวเลขที่รายงานขององค์การอนามัยโลกและของทุกประเทศการติดเชื้อต่ำกว่าความเป็นจริงมาก และทุกอย่างจะอยู่ในขั้นตอนการเฝ้าระวัง และการระบาดเป็นไปตามฤดูกาล

10.สำหรับประเทศไทยตามที่ได้เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ปลายปีว่า ตั้งแต่กุมภาพันธ์เป็นต้นไปโรคก็จะสงบ และจะไปพบเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน แล้วหลังจากนั้นก็สงบ เป็นวงจรการระบาดตามฤดูกาล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง

'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน