ผลวิจัยชี้ 'Interferon-λ' ทางเลือกใหม่รักษาโควิด ลดนอน รพ. ได้ถึง 51%

10 ก.พ. 2566 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 100,803 คน ตายเพิ่ม 560 คน รวมแล้วติดไป 676,943,983 คน เสียชีวิตรวม 6,777,023 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.61 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 74.1

…อินเตอร์เฟียรอน-แลมบ์ดา (Interferon-λ) วิธีรักษาใหม่ ลดโอกาสป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลได้กว่า 50%

ข้อมูลวิจัยล่าสุดโดย Reis G และคณะ ได้เผยแพร่ผลการวิจัยโดยการให้ Interferon-λ ขนาด 180 ไมโครกรัม ฉีดเข้าในชั้นใต้ผิวหนังครั้งเดียว ในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในบราซิลและแคนาดา จำนวน 933 คน ภายใน 7 วันหลังจากที่มีอาการ เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 1,018 คน ที่ได้รับยาหลอก

ทั้งนี้มีการประเมิน ณ 28 วัน ว่าแต่ละกลุ่มนั้นมีอัตราการป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และอัตราการป่วยจนต้องมารับการดูแลรักษาที่ห้องฉุกเฉินแตกต่างกันหรือไม่

พบว่า กลุ่มที่ได้รับยา Interferon-λ นั้นจะสามารถลดโอกาสป่วยจนต้องมารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ถึง 51% (RR 0.49: ช่วงความเชื่อมั่น 95% ตั้งแต่ 0.30-0.76)

ผลจากการวิจัยนี้เป็นข่าวดี ที่ทำให้เห็นว่า Interferon-λ น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ทั้งนี้สอดคล้องกับความรู้ที่ได้จากงานวิจัยก่อนหน้านี้โดย Santer DM และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ Nature Communications เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า Interferon-λ มีคุณสมบัติที่เร่งการกำจัดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ได้

…การใช้ชีวิตประจำวัน ควรมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่ระบายอากาศไม่ดี การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5

อ้างอิง

1.Reis G et al. Early Treatment with Pegylated Interferon Lambda for Covid-19. New England Journal of Medicine. 9 February 2023.

2.Santer DM et al. Interferon-λ treatment accelerates SARS-CoV-2 clearance despite age-related delays in the induction of T cell immunity. Nature Communications. 16 November 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง

ไขข้อข้องใจ! ทำไมกินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กินช็อกโกแลตแล้วสุขภาพดี…… สนใจมั้ย?

สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว

สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่