ศูนย์จีโนมฯ แจง 'วัคซีนรุ่น 3' กับความหวังป้องโควิดกลายพันธุ์

3 ก.พ. 2566 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนรุ่นที่ 3 (Third generation vaccine) กับความหวังในการป้องกันโควิด-19 กลายพันธุ์ที่จะระบาดในอนาคต

วัคซีนรุ่นที่ 1 (First generation vaccines) ที่ใช้หัวเชื้อเป็นโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และวัคซีนรุ่นที่ 2 (COVID-19 Bivalent Vaccine Boosters) ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ใช้หัวเชื้อเป็นไวรัสสองสายพันธุ์ ระหว่างโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” และ “โอมิครอน BA.4/BA.5” พบว่าการพัฒนาของวัคซีนไม่ทันกับการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 (ที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน)อยู่หนึ่งถึงสองก้าวเสมอ นักวิทยาศาสตร์จึงเร่งพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 3 ซึ่งป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในวงกว้าง (broadly protective vaccines) ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์ปัจจุบัน หรือสายพันธุ์ในอนาคตที่โปรตีนส่วนหนามเปลี่ยนแปลงไปจนภูมิคุ้มกันที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระตุ้นด้วยวัคซีนรุ่นที่ 1 หรือวัคซีนรุ่นที่ 2 ไม่สามารถเข้าจับและทำลายไวรัสกลายพันธุ์เหล่านั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสามารถป้องกันมิให้ผู้ได้รับวัคซีนเมื่อติดเชื้อโควิดมีอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต

วัคซีนรุ่นที่ 3 จะใช้บางส่วนของโปรตีนหนามจากโควิดหลายสายพันธุ์ โดยเลือกบริเวณที่ไม่ค่อยมีการกลายพันธุ์ (conserved region) มาป้ายติดกับบน “อนุภาคนาโน (Nanoparticles)” บริเวณที่ว่าคือส่วน “โดเมนจับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ (the receptor-binding domain; RBD)” บนหนามของไวรัสโควิด-19 ซึ่งไวรัสจะใช้จับกับโปรตีนตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ของมนุษย์ ก่อนที่จะแทรกเข้าสู่เซลล์

ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในซีแอตเติลและจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (คาลเทค) ในเมืองพาซาดีนา กำลังเร่งผลิตวัคซีนรุ่นที่ 3 ที่เรียกว่า “วัคซีนโมเสก (mosaic vaccine)” ประกอบด้วย “อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วย ส่วน “RBD” ผลิตมาจากไวรัสโคโรนาหลายตระกูลที่แยกได้จากทั้งในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นค้างคาว เป็นต้น

วัคซีนรุ่นที่ 3 หรือ “วัคซีนโมเสก” แตกต่างจากวัคซีนรุ่นที่ 1 และ 2 ตรงที่จะไม่จำเพาะต่อโควิดใดสายพันธุ์หนึ่ง (broadly protective vaccine) เพราะวัคซีนโมเสกถูกสร้างจากการนำชิ้นส่วนของ “RBD” จากไวรัสโคโรนาหลากหลายสายพันธุ์มาเกาะรวมกันในอนุภาคเดียว เพื่อสามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีหลากหลายชนิดในร่างกายมนุษย์พร้อมกันที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่กว้างขึ้น

“แอนติบอดี” ที่สร้างจากเม็ดเลือดขาวประเภทเซลล์ B (B lymphocyte) ที่ถูกกระตุ้นด้วย “อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วยโปรตีน RBD จากโควิด-19 หลากหลายสายพันธุ์ จะเข้าจับยึดกับอนุภาคไวรัสได้อย่างแน่นหนามั่นคงกว่า

“อนุภาคนาโน” ที่ถูกแต้มด้วยโปรตีน RBD จะกระตุ้นให้ B เซลล์ เพิ่มจำนวนและผลิตแอนติบอดีมากขึ้น พร้อมกับการสร้างบีเซลล์ที่มีความจำ (memory B cell) เก็บไว้เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อโควิด-19 ในอนาคต ที่มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด-19 ในปัจจุบัน

ชมภาพแอนิเมชันจากวารสาร Nature ประกอบ
https://www.youtube.com/watch?v=ELwYEqzTgSk&t=1s

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากวารสาร Nature เกี่ยวกับโควิดวัคซีนแห่งอนาคต
https://www.nature.com/articles/d41586-023-00220-z
https://www.youtube.com/watch?v=SgF-Rm6Uulo

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล