31 ม.ค. 2566 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat”
31 มกราคม 2566
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 74,401 คน ตายเพิ่ม 579 คน รวมแล้วติดไป 674,963,183 คน เสียชีวิตรวม 6,760,222 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.36 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.93
…เทียบ Long COVID ระหว่างก่อนเดลต้า เดลต้า และ Omicron
Gottlieb M และคณะจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์โรคติดเชื้อ Clinical Infectious Diseases เมื่อ 27 มกราคมที่ผ่านมา
เปรียบเทียบอัตราการเกิด Long COVID ในผู้ที่ติดเชื้อตั้งแต่ยุคก่อนเดลต้า เดลต้า และ Omicron จำนวน 2,402 คน และกลุ่มคนที่ไม่ติดเชื้อ 821 คน
ทั้งนี้ในกลุ่มที่เคยติดเชื้อนั้น ราว 20% ติดในช่วงก่อนเดลต้า 50% ยุคเดลต้า และอีก 30% ในช่วง Omicron ระบาด
พบว่า อาการระยะยาวที่พบบ่อยสุดคือ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า ซึ่งเกิดขึ้นราว 16.7% ในช่วงก่อนเดลต้า 11.5% ในช่วงเดลต้า และ 12.3% ในช่วง Omicron
นอกจากนี้หากเปรียบเทียบระหว่างคนที่มีอาการผิดปกติตั้งแต่ 3 อาการขึ้นไปนั้น พบได้ถึง 28.4%, 21.7%, และ 16.0% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามแม้ดูแนวโน้ม Omicron จะเกิดปัญหา Long COVID น้อยกว่าเดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่เมื่อทำการวิเคราะห์โดยควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกวนต่างๆ รวมถึงการได้รับวัคซีนแล้ว พบว่าอัตราการเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ของ Long COVID นั้นไม่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์
…การติดเชื้อ ไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ด้วย
ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด
ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
โควิด-19 ยังเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระดับโลก ดังที่องค์การอนามัยโลกได้แถลงล่าสุดเมื่อวานนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก